ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย |
|
|
|
ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทย
|
 ประวิทย์ มังคละธนะกุล เบเคอร์ แอนด์ แม็คเค็นซี่ |
|
|
ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือให้ชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางการดำเนินธุรกิจ การดำเนินการและการจัดองค์กร ตั้งแต่ขนาดใหญ่ครอบคลุมลงมาถึงธุรกิจและองค์กรขนาดเล็ก ห้างร้านต่างๆ ตลอดจนการจัดการชีวิตประจำวันหรือภายในครัวเรือนก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยปัจจุบันก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่เทอะทะเช่นดังในสมัยก่อน แต่ยังมีขนาดเล็กเคลื่อนย้ายง่าย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เครื่องเหล่านี้ก็ไม่สามารถทำงานหรือปฏิบัติการได้ เพราะเป็นเพียงเครื่องที่ถูกจัดเตรียมขึ้นเพื่อการจัดการอย่างใดแล้วแต่ชุดคำสั่งอันเป็นซอฟต์แวร์ ที่จะถูกบันทึกบรรจุไว้เพื่อการสั่งงาน หรือที่เรียกว่าเป็นหัวสมองของเครื่อง และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้และเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการติดต่อสั่งงานให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ผู้ใช้ต้องการต่อไป ซอฟต์แวร์ไม่ได้จำกัดเพียงแต่ที่อยู่ในรูปของชุดคำสั่งเท่านั้น ยังรวมถึงซอฟต์แวร์ที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลข่าวสารที่ถูกเก็บในสักษณะของฐานข้อมูล และเปิดให้บริการแก่ผู้ใช้ผู้ต้องการรับรู้รับทราบข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ไม่ว่าจะผ่านทางสายโทรศัพท์หรือสายเคเบิลต่างๆ ด้วย หรืออาจจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะที่เป็นงานเขียนทั่วไปที่ผู้ใช้จัดทำขึ้นเอง เช่น จดหมาย บันทึกข้อความ รวมถึง วรรณกรรม ไม่ว่าจะถูกจัดทำขึ้น ภายใต้ภาษาคอมพิวเตอร์ใดๆ เช่น ภาษาเบสิค โฟแทรน โคบอล หรือ จัดทำขึ้นภายใต้ภาษาของชุดคำสั่งเพื่อการนั้นๆ เช่น ภายใต้ชุดคำสั่ง DOSText CU Wordprocessing WordPerfect Microsoft Word AmiPro หรือ Professional Write ก็ตาม
กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ภายใต้การตีความและการใช้กฎหมายของไทยที่ผ่านมา มีความเห็นของนักวิชาการส่วนหนึ่งซึ่งเห็นว่าคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์นั้น ได้รับการรับรู้รับคุ้มครองภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยอยู่แล้ว นั่นคือพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 ถึงแม้จะมีความเห็นไม่ยุติกันก็เพียงว่า จะจัดงานซอฟต์แวร์นั้นให้อยู่ในงานประเภทใด กล่าวคือ งานวรรณกรรม โสตทัศนวัสดุ งานแพร่ภาพแพร่เสียง หรืองานในแผนกวิทยาศาสตร์ แต่ความเห็นดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นความเห็นเพียงฝ่ายเดียว เพราะก็ยังมีนักวิชาการทางกฎหมายอีกฝ่ายที่เห็นว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่สามารถตีความไปถึงขนาดให้ความ คุ้มครองคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ได้เลย เพราะเหตุที่ไม่สามารถจำแนกประเภทของงานที่แน่ชัดที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวให้แก่งานซอฟต์แวร์นั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว ในการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ฉบับนี้ จึงมีการแก้ไขโดยระบุให้เกิดความชัดเจนขึ้นในคำนิยามของคำว่า “งานวรรณกรรม” หมายความว่า “. . . ให้หมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย” ดังนั้นนับแต่วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จึงเป็นงานลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง ชัดเจนภายใต้บทสังเกตเกี่ยวกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้
1. ประเภทคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ที่ได้รับความคุ้มครอง
1.1 ซอฟต์แวร์ชุดคำสั่ง หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ความคิด |
ความลับ |
โครงสร้าง |
งานวรรณกรรม งานภาพวาด งานภาพเขียน
|
แผนผังการทำงาน |
(FLOWCHART) งานภาพวาด งานภาพเขียน |
ลงรหัส |
(PROGRAMMING)หรือ(CODING) SOURCE CODE หรือ OBJECT CODE |
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 ให้คำนิยามของคำว่า “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” หมายความว่า “คำสั่ง ชุด คำสั่งหรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือเพื่อให้ได้รับผลอย่างหนึ่งอย่างใด ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด”

ซอฟต์แวร์ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้จึงชัดเจนว่าได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ในลักษณะงานวรรณกรรม อย่างไรก็ดีซอฟต์แวร์ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537นั้น ไม่ครอบคลุม ถึงความคิดที่มา ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หรือหลักการ เบื้องหลังที่มาของชุดคำสั่งนั้นๆ เหล่านี้เป็นหลักการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์อันเป็นสากล ที่ย่อมจะให้ความคุ้มครองเฉพาะสิ่งที่แสดงออกมา แต่ไม่รวมถึงความคิดที่เป็นที่มาของสิ่งที่แสดงออกมาด้วย ยกตัวอย่างในงานวรรณกรรมเรื่องหนึ่งๆ เช่น ซินเดอเรลล่า รูปเรื่องอันเป็นความคิดที่มาของเรื่อง คือมีแม่เลี้ยงใจร้าย กดขี่ข่มเหง ซินเดอเรลล่า แต่ต่อมาสุดท้ายซินเดอเรลล่า ก็ได้แต่งงานกับเจ้าชาย เค้าโครงเรื่องเหล่านี้ กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองให้ คงแต่คุ้มครองในบทวรรณกรรม ที่เขียนบรรยายเรื่องที่แสดงออกมา ภายใต้หลักกฎหมายทั่วไปในเรื่องลิขสิทธิ์ บุคคลสองคนอาจจะเขียนเรื่องซินเดอเรลล่าออกมาภายใต้เค้าโครงเรื่องเหมือนกัน ตราบเท่าที่ต่างคนไม่ลอกเลียนงานซึ่งกันและกัน ก็ย่อมมีลิขสิทธิ์และได้รับความคุ้มครองในงานของตน โดยไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพราะเหตุว่าหากต่างคนไม่ลอกเลียนกันแล้ว ลักษณะท่วงทำนองการบรรยาย การเสนอตัวละคร แม้จะตั้งต้นจากโครงเรื่องเดียวกัน ย่อมแตกต่างไม่เหมือนกันนั่นเอง ความแตกต่างอันนี้อันมีลักษณะเฉพาะตนของนักเขียน ในลักษณะเดียวกันกับงานภาพวาด ภาพแกะสลัก ที่ศิลปิน สองคนวาดภาพ หรือ แกะสลักภาพ จากแบบอันเดียวกัน มุมมองและความรู้สึกต่องาน ย่อมทำให้ศิลปินทั้งสองเสนอผลงานอันเป็นลักษณะเอกลักษณ์ของตนออกมา โดยไม่มีทางเหมือนกันนั่นเอง ดังนั้น ความคุ้มครองครอบคลุมงานซอฟต์แวร์โปรแกรมชุดคำสั่งนั้นๆแต่จะไม่คุ้มครองไปห้ามว่า หากงานซอฟต์แวร์ชุดคำสั่งนั้นเพื่อใช้ในงานวาดรูปวาดภาพ (Drawing & Painting) การตรวจภาษา (Grammatical Checker) การจัดเก็บฐานข้อมูล (Data Base Management) หรือ การประมวลผลคำ (Word Processing) ผู้อื่นจะไม่สามารถทำซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะการใช้ทำงานอย่างเดียวกันออกมาได้
|
|