ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ

ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใหม่

พ.ร.บ.สิทธิบัตร ไม่ได้ให้คำนิยามไว้โดยตรงว่ากาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่คืออะไร

หรือมีลักษณะอย่างไร เพียงแต่ระบุถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบ

ผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้ 4 ประเภทดังนี้

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้ว
  2. คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ

มีการใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบได้นำผลิตภัณฑ์นั้นไปผลิตผลิตภัณฑ์และวางขายจำหน่าย

ก่อนที่จะยื่นขอรับสิทธิบัตร ก็ถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร หรือ

สิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

ถือว่าไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยวิธี

ในลักษณะอื่น เช่น การนำแบบผลิตภัณฑ์ออกแสดงในนิทรรศการ

หรือการประชุมการวิชาการ เป็นต้น

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการประกาศโฆษณามาก่อนวันขอรับสิทธิบัตร

คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย

และได้มีการพิมพ์ประกาศโฆษณาแล้วกฎหมายถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ประเภทที่ (1)- (3) มากจนเห็นได้ว่า

เป็นการเลียนแบบ คือแบบผลิตภัณฑ์ที่แม้จะไม่เหมือนกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว

ทุกกประการ แต่มีสาระสำคัญเหมือนหรือคล้ายกันมากให้ถือว่าไม่ใช่การออกแบบ

ผลิตภัณฑ์ใหม่หลักเกณฑ์นี้คล้ายกับหลักเกณฑ์ในเรื่องขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นซึ่งเป็น

ลักษณะหนึ่งของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

พ.ร.บ.สิทธิบัตร บัญญัติว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ตัวอย่างเช่นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างลักษณะลามกอนาจาร หรือเป็นการแสดงความ

ไม่เคารพ หรือล้อเลียนวัตถุที่ประชาชนทั่วไปนับถือ เช่น ใช้พระพุทธเป็นฐาน

ของที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น

  1. แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฏีกา พ.ร.บ.สิทธิบัตร

บัญญัติให้อำนาจแก่รัฐที่จะกำหนดได้ตามความเห็นสมควรและเหมาะสม

ยังไม่เคยมีการออกพระราชกฤษฏีกาเกี่ยวกับเรื่องนี้แต่ประการใด

Scroll to Top