ความรู้ทั่วไปเรื่องเครื่องหมายการค้า – ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายการค้า

ประวัติความเป็นมาของเครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายการค้า แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไรแต่สันนิฐานว่าน่า จะมีการใช้เครื่องหมายการค้ามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ เพราะมีหลักฐานการขุดพบอิฐและกระเบื้องต่าง ๆ มากมาย ที่ปรากฏเครื่องหมายเป็นชื่อของผู้ผลิต ประทับไว้ รวมทั้งสินค้าอีกหลายอย่างในยุคนั้นที่มีการทำเครื่องหมายไว้บนตัวสินค้า เช่น เหยือกเนย ตะเกียงน้ำมัน กระบอกยา เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าที่ฐานของเครื่องปั้นดินเผาของจีนมักจะมีเครื่องหมายแสดงว่าผลิตในปีไหน ราชวงศ์อะไร ชื่อของผู้ปั้น รวมทั้งชื่อเมืองที่ผลิตด้วย

ในยุคต่อ ๆ มาเมื่อการค้าขายได้เเริ่มเปลี่ยนแปลง จากที่เคยซื้อขายสินค้ากันตัวต่อตัวระหว่าง ผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องหมายมากำกับหรือแสดงไว้บนตัวสินค้ามา เป็นการค้าขายระหว่างผู้คนที่มีจำนวนมากขึ้น จากที่เคยมีสินค้าไม่กี่ชนิด และผู้ขายไม่กี่คน กลายมาเป็นสินค้าหลายชนิดและมีผู้ขายเพิ่มขึ้นมากมาย เฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีผู้ขายสินค้าชนิดเดียวกันหลายคน ทำให้เกิดการเปรียบเทียบคุณภาพของสินค้าของแต่ละราย จึงเกิดความ จำเป็นที่จะต้องหาวิธีให้ผู้ซื้อได้รู้ว่าสินค้าชิ้นใดเป็นของตน ดังนั้น การคิดหาสัญญลักษณ์หรือ คิดประดิษฐ์เครื่องหมายเพื่อใช้กับสินค้าจึงเกิดขึ้น โดยในระยะแรก ๆ มักจะนำรูปสัตว์และ สัญญลักษณ์ต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องหมาย และต่อมาการใช้เครื่องหมายการค้าก็นิยมแพร่หลาย มาจนถึงทุกวันนี้

การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมในยุคต่อ ๆ มาทำให้การใช้เครื่องหมายการค้า แพร่หลายยิ่งขึ้น และผลจากการโฆษณาที่มีมากขึ้น ยิ่งทำให้เครื่องหมายการค้ามีการแพร่กระจายมากขึ้นตาม ลำดับ ดังจะเห็นได้จากในประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจอย่างรวดเร็ว จาก ปี คศ. 1871 ที่มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพียง 121 ราย เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 ราย ในปี ค.ศ. 1875 และมากกว่า 10,000 ราย ในปี ค.ศ. 1906

สำหรับประเทศไทย ในสมัยโบราณนั้นเครื่องหมายการค้าแทบจะไม่มีบทบาทเลยเพราะเป็น ประเทศเกษตรกรรม แต่ต่อมาเมื่อได้เริ่มติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น และมีชาวต่างชาติ เข้ามาลงทุนทำการค้าในประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ชาวต่างชาติจึงได้นำเครื่องหมายการค้าที่มีอยู่ ในประเทศของตนเข้ามาใช้กับสินค้าที่ซื้อขายกันในประเทศไทย และเมื่อการค้าได้ขยายวงกว้าง ขึ้น การใช้เครื่องหมายการค้าก็ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้นตามไปด้วย รัฐบาลในสมัยนั้นจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและเห็นความจำเป็นที่จะต้องให้ความคุ้มครองในเรื่องเครื่องหมายการค้า

ประเทศไทยได้มีกฎหมายเครื่องหมายการค้าบังคับใช้และพัฒนาปรับปรุงแก้ไขตามวิวัฒนาการ ของบ้านเมือง และสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจมาเป็นระยะ ๆ ตามลำดับ ดังนี้

(1) พ.ศ. 2450 ประกาศใช้ กฎหมายลักษณะอาญา รศ. 127 โดยในส่วนที่เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ได้บัญญัติถึงความผิดและบทกำหนดโทษในการ ปลอมและเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นไว้ และต่อมากฎหมายฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2500 และมีประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับแทนจนถึงปัจจุบัน

(2) พ.ศ. 2457 ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะเครื่องหมายการค้า และยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 (LAW ON TRADE MARKS AND TRADE NAME OF B.E. 2457) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายเครื่องหมายการค้าฉบับแรกของไทย ที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

(3) พ.ศ. 2474 ประกาศใช้ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ใช้บังคับแทน พ.ร.บ. ลักษณะเครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 ที่ถูกยกเลิกไป โดยมีผลใช้ บังคับเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2474 ในสมัยรัชกาลที่ 7 กฎหมายฉบับนี้ยึดตามแนวทางกฎหมายครื่องหมายการค้าของอังกฤษ คือ TRADE MARK ACT 1905 และต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขอีก 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2500

(4) พ.ศ. 2534 ประกาศใช้ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแทน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ที่ยกเลิกไป โดยกฎหมายฉบับนี้ ได้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2534 และเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2535 และใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน

หน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง มาตามลำดับ ดังนี้

(1) พ.ศ. 2453 ได้เริ่มจัดตั้ง หอทะเบียนเครื่องหมายการค้า ขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ

(2) พ.ศ. 2466 ได้มีประกาศพระบรมราชโองการตั้ง กรมทะเบียนการค้าและตั้งที่ปรึกษา กฎหมายแห่งสภาเผยแพร่พาณิชย์ ในกระทรวงพาณิชย์ขึ้น และได้โอนงานรับจด ทะเบียนเครื่องหมายการค้าจากกระทรวงเกษตราธิการ มาเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกรมทะเบียนการค้า

(3) พ.ค. 2535 จัดตั้ง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในกระทรวงพาณิชย์ขึ้น และรับโอนงาน ด้านทรัพย์สินทางปัญญาทั้งหมด รวมทั้งงานเครื่องหมายการค้ามาดูแลรับผิดชอบจนถึง ปัจจุบัน

Scroll to Top