นวปฏิบัติงานด้านเครื่องหมายการค้า
คู่มือปฏิบัติงานมีเพื่อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายแก่เจ้าหน้าที่ตามระบบโครงสร้างใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาแนะแนวหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องการให้บริการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถสอนเจ้าหน้าที่ภายในสำนักเครื่องหมายการค้าในขณะปฏิบัติงานได้ จัดเตรียมกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานอื่นของรัฐ
1. สำนักเครื่องหมายการค้าให้บริการดังต่อไปนี้ |
ให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฏหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่น
ดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและปฏิบัติงานตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ให้บริการเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรอง จัดทำสำเนาเอกสารทางทะเบียน รวมทั้งให้บริการตรวจค้นข้อมูลเครื่องหมายการค้าแก่ภาคเอกชนและหน่วยราชการ |
2. ผู้ใช้บริการของสำนักเครื่องหมายการค้า | ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ |
เจ้าของเครื่องหมายการค้า และผู้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
บุคคลธรรมดา นิติบุคคล บริษัท |
มีความประสงค์คุ้มครองสิทธิ ในเครื่องหมายการค้าโดยการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วได้รับการคุ้มครองเป็นเวลา 10 ปี
|
ตัวแทนและทนาย |
|
ประชาชน (ผู้ที่จะยื่นแบบคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ,นักศึกษา) |
|
3. ส่วนภายใต้สำนักเครื่องหมายการค้า | |
ส่วน/ฝ่าย/กลุ่ม | หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ |
ฝ่ายบริหารทั่วไป | งานธุรการ งบประมาณ และรวบรวมสถิติการปฏิบัติงาน |
ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | แนะนำ ตรวจรับคำขอ ประกาศโฆษณา และจดทะเบียน |
กลุ่มตรวจสอบเครื่องหมายการค้า
|
ตรวจสอบและพิจารณาสั่งการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนตามกลุ่มจำพวกสินค้า |
กลุ่มเปลี่ยนแปลง |
|
กลุ่มคัดค้าน | พิจารณาคำคัดค้าน-โต้แย้ง จัดทำคำวินิจฉัยกรณีคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า |
4. การประสานงานของสำนักเครื่องหมายการค้า | |
กอง/สำนัก/ส่วน/ฝ่าย | งานที่ต้องประสาน |
กองกฎหมาย |
|
ศูนย์คอมพิวเตอร์ กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา |
|
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด |
|
5(ก) ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า | |||||
เลขที่ | ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า | ส่วน/ฝ่าย | แบบฟอร์มที่ใช้กรอกคำขอจดทะเบียน | เอกสารอ้างอิง ที่ใช้โดยเจ้าหน้าที่* | ข้อมูลที่ผู้ยื่น จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต้องเตรียมหรือได้รับ |
1 | บริการแนะนำและจัดเตรียมข้อมูล ให้แก่ผู้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | ก 09 | 1-5 | ต้องกรอกแบบฟอร์ม ต้องเตรียมเอกสาร ต้องเสียค่าธรรมเนียม |
2 | ตรวจรับคำขอและคำร้องเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า เช่น คำขอใหม่ คำขอเปลี่ยนแปลง คำขอต่ออายุฯลฯ | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | ขึ้นอยู่กับชนิดของแบบคำขอ | 1-2 5 |
|
3 | บันทึกข้อมูลคำขอ | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | |||
4 | เก็บสารบบเครื่องหมาย | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | แบบบันทึกการลง สารบบ | 1,3,5 | |
5 | ตรวจสอบ | กลุ่มตรวจสอบ (จะเป็นกลุ่มใดนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของผลิตภัณฑ์) | ใช้แบบฟอร์ม ก 01, ก 19, ก 20, ก04, ก 05 (หน้า 1-6 ) รายการ
ตรวจสอบรายละเอียดแห่งสำนวน |
1 2 3 4 5 |
|
6 | แจ้งคำสั่งนายทะเบียน และควบคุมเวลาตามคำสั่ง | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | แบบ ตค.ต่างๆตามคำสั่ง | 1, 5 | |
7 | ประกาศโฆษณา | ฝ่ายประกาศโฆษณา และหนังสือสำคัญ | – | 1, 5 | 90วัน |
8 | การคัดค้าน (รายละเอียดอยู่ในข้อ 5 ข) | กลุ่มคัดค้าน | ก 02 | 1-5 | 90วันของการประกาศฯ |
9 | จดทะเบียน และออกหนังสือสำคัญ | ฝ่ายประกาศโฆษณา และหนังสือสำคัญ | แบบ คม | 1, 5 | เครื่องหมายการ ที่จดทะเบียนแล้ว สามารถใช้ได้เป็นเวลา 10 ปี |
- Manual for Trademark Registration
5(ข) ขั้นตอนการคัดค้าน | |||||
เลขที่ | ขั้นตอนการคัดค้าน | ส่วน/ฝ่าย/กลุ่ม | แบบฟอร์มที่ใช้กรอก | เอกสารอ้างอิง ที่ใช้โดยเจ้าหน้าที่* | ข้อมูลที่ผู้ยื่นคำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต้องเตรียมหรือได้รับ |
1 | รับคำคัดค้าน | ส่วนบริหารงานจดทะเบียน | แบบ ก 02 | 1, 5 | |
2 | ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสาร หลักฐานประกอบตามแบบ ก.02 | กลุ่มคัดค้าน | 1, 5 | ||
3 | ส่งสำเนาคำคัดค้านให้ผู้ขอจดทะเบียน | กลุ่มคัดค้าน | แบบ ตค.6 ข้อ 1 | ผู้ขอจดทะเบียนมีเวลา 90 วัน ในการยื่นคำโต้แย้ง | |
4 | ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำโต้แย้ง | ส่วนงานจดทะเบียน | ก 02 | 1, 5 | |
5 | ตรวจสอบความถูกต้องและเอกสารหลักฐานประกอบ
ตามแบบ ก.02 |
กลุ่มคัดค้าน | คู่มือสำหรับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1-5 | ||
6 | แจ้งผู้คัดค้านให้ทราบเกี่ยวกับการโต้แย้ง | กลุ่มคัดค้าน | ตค. 9 ข้อ 4 | ||
7 | สรุปผลการคัดค้าน | กลุ่มคัดค้าน | 1-5 | ||
8 | แจ้งผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และผู้คัดค้านให้ทราบเกี่ยวกับผลการคัดค้าน | กลุ่มคัดค้าน | ตค.6 ข้อ2 | ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และผู้คัดค้านสามารถยื่นคำอุทธรณ์ ภายใน 90 วัน |
* 1. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. Nice Classification 3. Vienna Classification 4. คู่มือการจดทะเบียนข้ามจำพวก(Cross Research) 5. Manual for Trademark Registration
5(ค) การปฏิบัติงานอื่น ๆ ที่กระทำภายในสำนักเครื่องหมายการค้า | |||||
เลขที่ | การปฏิบัติงาน | ฝ่าย/กลุ่ม | แบบฟอร์มที่ใช้กรอก | เอกสารอ้างอิง ที่ใช้โดยเจ้าหน้าที่* | ข้อมูลที่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า ต้องเตรียมหรือได้รับ |
1 | การเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน
|
กลุ่มเปลี่ยนแปลง | ก 06 | 1 2 5 |
|
2 | การโอน 1. การโอนโดยสัญญาหรือโดยมรดก 2. การควบกิจการ |
ก 04 | 1, 5 | ||
3 | การต่ออายุและการเพิกถอน ทะเบียนเครื่องหมายการค้า | กลุ่มเปลี่ยนแปลง | ก 07/ ก 08 | 1, 2, 4, 5 | |
4 | การอนุญาตให้ใช้สิทธิใน เครื่องหมายการค้า | กลุ่มเปลี่ยนแปลง | ก 05 | 1, 5 |
* 1. พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2. Nice Classification 3. Vienna Classification 4. คู่มือการจดทะเบียนข้ามจำพวก(Cross Research) 5. Manual for Trademark Registration
6. สิ่งที่พึงคำนึงอันมีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ/ ปัญหาที่มักเกิดขึ้นและการแก้ปัญญา | |
สิ่งที่พึงคำนึง | สิ่งที่ต้องกระทำ |
ผู้ยื่นคำขอต้องปฏิบัติตาม ภายใน ระยะเวลาที่กำหนด |
หนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนจะต้องระบุระยะเวลาการปฏิบัติไว้อย่างชัดแจ้ง |
ผู้ขอจดทะเบียนไม่เข้าใจคำสั่งของ นายทะเบียน | คำสั่งของนายทะเบียนจะต้องชัดเจน และเข้าใจได้โดยง่าย |
การตรวจสอบมีความถูกต้องและ รัดกุมเพียงใด | ผู้ตรวจสอบจะต้องเข้าใจวิธีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนคู่มือการตรวจสอบเป็นอย่างดี |
7. ความรู้และทักษะที่เจ้าหน้าที่พึงมีสำหรับการให้บริการ |
12. วิธีควบคุมเบิกจ่ายแฟ้มคำขอ |
8. สรุปเอกสารอ้างอิงสำหรับการบริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ | |
เอกสารอ้างอิง | เหตุผลที่ต้องใช้เอกสารอ้างอิงโดยเจ้าหน้าที่ |
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า | การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด |
Nice Classification (หนังสือ) | เพื่อเป็นหลักในการจัดจำพวกและระบุชนิดของสินค้าหรือบริการ |
Vienna Classification (หนังสือ) | เพื่อเป็นหลักในการตรวจสอบเครื่องหมายภาพ |
คู่มือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า | มีประกาศกระทรวง, ประกาศกรมและกฎระเบียบต่างๆ มีตัวอย่างแบบฟอร์ม |
คู่มือการตรวจสอบข้ามจำพวก | เป็นหลักในการตรวจสอบเครื่องหมาย |
เอกสารของ WHO | มีข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อาหาร |
หนังสือรายงานจากสำนักงานพาณิชย์ (ต่างประเทศ)และองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ) | เพื่อทราบความเคลื่อนไหวและทันกับความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน |
9. คำถามที่มักถามโดยผู้ยื่นคำขอและประชาชนโดยทั่วไป | |
คำถาม | ถาม/ตอบเครื่องหมายการค้า |
1. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้ จะต้องมีลักษณะอย่างไร | 1. เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนได้นั้น จะต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
|
2. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพิจารณา ความเหมือนคล้าย ของเครื่องหมายการค้า | 2. การพิจารณาความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้านั้น มีหลักสำคัญในการพิจารณาคือรูปลักษณะของเครื่องหมาย การเรียกขานเครื่องหมายและสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น โดยมีคำวินิจฉัยเดิมประกอบเป็นแนวทางการพิจารณา |
3. การตรวจสอบเครื่องหมายบริการมีความสัมพันธ์ กับเครื่องหมายการค้าหรือไม่ อย่างไร | 3. ในการตรวจสอบเครื่องหมายบริการนั้น จะต้องตรวจสอบกับรายการสินค้าที่มีความ เกี่ยวข้องสัมพันธ์ กับการให้บริการที่ขอจดทะเบียนด้วย |
4. การจัดจำพวกสินค้าและบริการมีหลักเกณฑ์ อย่างไร | 4. กรมทรัพย์สินทางปัญญาจัดแบ่งจำพวกสินค้าและบริการตามบัญชี รายการสินค้าและบริการระหว่างประเทศ โดยแบ่งสินค้าเป็น 34 จำพวก และแบ่งบริการเป็น 8 จำพวก |
5. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ใช้ระยะเวลานานเท่าไร | 5. การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น หากไม่มีข้อบกพร่องที่ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องแก้ไข หรือไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จะใช้ระยะเวลาประมาณ 7 เดือน |
6. อะไรคือหนังสือแจ้งผลการพิจารณา ของนายทะเบียน | 6. คือหนังสือที่นายทะเบียนแจ้งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ หรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง |
7. เมื่อถูกปฏิเสธการรับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร | 7. ผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งปฏิเสธของนายทะเบียน ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน |
8. เครื่องหมายการค้า/บริการที่ใช้โดยกลุ่มบริษัทเดียวกัน จะจดทะเบียนได้อย่างไร | 8. เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยกลุ่มบริษัทเดียวกัน ให้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายร่วม |
9. ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องยื่นหลักฐานอะไรบ้าง ในการพิสูจน์ว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้มีการใช้มาแล้ว โดยสุจริต | 9. จะต้องยื่นหลักฐานดังนี้ หลักฐานเกี่ยวกับการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าหรือ บริการที่ใช้เครื่องหมายที่ประสงค์จะขอจดทะเบียน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ตัวอย่างสินค้า ใบโฆษณาสินค้า หรือ พยานหลักฐานอื่น ๆ หรือพยานบุคคล เป็นต้น กรณีที่เคยได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาแล้วแต่ ขาดการต่อออายุให้ส่งหลักฐานหนังสือสำคัญแสดงการจด ทะเบียนมาด้วย |
10. มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการพิจารณาว่า เครื่องหมายการค้า มีลักษณะบ่งเฉพาะ เนื่องจากมีการใช้จนเป็นที่แพร่หลายแล้ว | 10. การพิจารณาลักษณะบ่งเฉพาะดังกล่าวมีหลักเกณฑ์ว่าสินค้า ที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาจนเป็นที่รู้จักของสาธารณชนแล้ว โดยผู้ขอจดทะเบียนจะต้องนำส่งหลักฐานเกี่ยวกับการใช้เครื่องหมายการค้านั้น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบโฆษณาสินค้า หรือพยานหลักฐานอื่น ๆ มาพร้อมกับคำขอจดทะเบียน |
11.การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ ใช้เครื่องหมายการค้า ของคนไทย กับเครื่องหมายการค้าของต่างประเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร | 11. มีหลักเกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกัน |
12.ใครเป็นผู้มีสิทธิ์ยื่นคำคัดค้านและเหตุที่ใช้อ้าง ในการคัดค้าน มีอะไร บ้าง | 12 ผู้ใดจะยื่นคำคัดค้านก็ได้ หากเห็นว่าเครื่องหมายการค้านั้น ไม่สมควรได้รับการจดทะเบียน โดยเหตุที่ใช้อ้างในการคัดค้านได้แก่
|
13. การคัดค้านใช้ระยะเวลานานเท่าไร จึงจะมีคำวินิจฉัย | 13. ในกรณีที่คำคัดค้านและคำโต้แย้งได้ยื่นโดยถูกต้อง พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบครบถ้วน จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือนนับแต่วันที่ได้มีการคัดค้าน |
10.สิ่งพิมพ์และวัสดุของกรมทรัพย์สินทางปัญญา | |||
ชื่อ | เนื้อหา | กลุ่มเป้าหมาย | ปีที่ตีพิมพ์ |
ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา |
|
|
2541 |
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทำอย่างไร |
|
|
2539 |
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในประเทศไทยทำอย่างไร |
|
|
2539 |
ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่บันทึกลงใน Microsoft Power point |
|
|
2542 |