ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – แนวปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตร

แนวปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตร

คู่มือปฏิบัติงานมีเพื่อ

ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายแก่เจ้าหน้าที่ตามระบบโครงสร้างใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา

แนะแนวหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องการให้บริการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ

ฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถสอนเจ้าหน้าที่ภายในสำนักเครื่องหมายการค้าในขณะปฏิบัติงานได้

จัดเตรียมกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานอื่นของรัฐ

1. การให้บริการของสำนักสิทธิบัตร
ให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ดำเนินการตรวจรับคำขอรับสิทธิบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตร

ดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรเบื้องต้น

ดำเนินการจัดจำแนกประเภทหมวดหมู่ของสิทธิบัตรตามระบบสากล ( IPC หรือ IDC)

ดำเนินการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร

ดำเนินการสรุปสำนวนคำคัดค้าน คำโต้แย้ง พร้อมชี้ประเด็นที่จะต้องพิจารณา และพิจารณาให้คำวินิจฉัย กรณีคัดค้านโต้แย้ง

ดำเนินการตรวจค้นสืบหาเอกสารที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว

ดำเนินการตรวจสอบความใหม่และขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น

ดำเนินการให้บริการเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรอง และจัดทำสำเนาเอกสารทางทะเบียน

ให้ความรู้ คำปรึกษา และแนะแนวการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างที่อยู่ในลำดับชั้น ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

จัดสัมมนาหรือฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านสิทธิบัตรแก่ตัวแทนสิทธิบัตร

2. ผู้ใช้บริการ ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ
ผู้ประดิษฐ์

มหาวิทยาลัย

สถาบันวิจัยและพัฒนา

ความรู้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา

การจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตร

ขั้นตอนการดำเนินการขอรับสิทธิบัตร

แนวทางในการตรวจค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว

สิทธิในการคุ้มครองและระยะเวลาให้ความคุ้มครอง

การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิ

พาณิชย์จังหวัด หนังสือประกาศโฆษณาสิทธิบัตร

ระบบสิทธิบัตร

สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ
สถานทูต
สำนักงานสิทธิบัตรต่างประเทศ
หนังสือประกาศโฆษณาสิทธิบัตร
ผู้ส่งออก ความรู้เรื่องสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา

ความรู้ในเรื่องการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

ต้องการทราบถึงสิ่งที่มีอยู่ในห้องสมุดเพื่อบริการประชาชน

ตัวแทนสิทธิบัตร

ทนายสิทธิบัตร

ความรู้เรื่องกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

ขอบเขตในการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตร

ขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร

การร่างคำขอรับสิทธิบัตร

การคัดค้าน การโต้แย้ง

การจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตร

การชำระค่าธรรมเนียมรายปี

การขอถือสิทธิวันยื่นย้อนหลัง

การโอนสิทธิบัตร

การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

2. ผู้ใช้บริการ(ต่อ) ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ
ผู้คัดค้าน ต้องการทราบขั้นตอนการคัดค้าน

ความรู้ในการคัดค้านตามกฎหมายสิทธิบัตร

การเขียนรายละเอียดในคำคัดค้าน

นักศึกษามหาวิทยาลัย มีความตระหนักในเรื่องสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา

การประดิษฐ์

ต้องการทราบเกี่ยวกับเรื่องอนุสิทธิบัตร

ห้องสมุด ขอหนังสือประกาศโฆษณาประจำเดือน
3. ส่วน/ฝ่ายภายใต้สำนักสิทธิบัตร และหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
ส่วน/ฝ่าย หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
ฝ่ายบริหารงานธุรการ ปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักสิทธิบัตร(Documentation)

จัดระบบงานและบริหารงานบุคคล

จัดทำงบประมาณของสำนักสิทธิบัตร

จัดเก็บสถิติผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่

ส่วนบริหารงานจดทะเบียน ดำเนินการตรวจรับคำขอสิทธิบัตร

ให้บริการปรึกษา แนะนำ ให้ความรู้ทั่วไปในการขอรับ ความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร

ดำเนินการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร

ดำเนินการออกหนังสือรับรอง

ออกหนังสือสำคัญสิทธิบัตร

ดำเนินการในเรื่องการชำระค่าธรรมเนียมรายปี(ต่ออายุ)

ตรวจรับคำขอแก้ไขเพิ่มเติม คำคัดค้าน คำโต้แย้ง คำอุทธรณ์ คำขอตรวจสอบการประดิษฐ์และคำขออื่นๆที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร

การเปลี่ยนแปลงสิทธิโอนสิทธิบัตร

กลุ่มออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วไป ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ทั่วไป
กลุ่มออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับสิทธิบัตร ทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
กลุ่มเคมีชีวภาพ ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านเคมีชีวภาพ
กลุ่มปิโตรเคมี ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านปิโตรเคมี
กลุ่มเคมีเทคนิค ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านเคมีเทคนิค
กลุ่มวิศวกรรมเครื่องกล ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
กลุ่มวิศวกรรมไฟฟ้า ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ สิทธิบัตรทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
กลุ่มฟิสิกส์ ดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินการจัดทำคำวินิจฉัย เสนอต่ออธิบดีในกรณีที่มีการคัดค้านคำขอรับ
สิทธิบัตรทางด้านฟิสิกส์
4. การประสานงานของสำนักสิทธิบัตร
กอง/ส่วน/ฝ่าย/สำนัก รายละเอียดการประสานงาน
กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา (ชั้น4, ชั้น5) (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) จัดส่งวิทยากรเผยแพร่ และถ่ายทอดความรู้ด้านสิทธิบัตร แก่นักธุรกิจและประชาชนทั่วไป

ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา รูปแบบ และวิธีการ ในการคุ้มครองสิทธิบัตร

ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในการประชุมเจรจา กับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศ

ใช้ตรวจค้นเอกสารสิทธิบัตรโดยใช้ศูนย์กลาง เชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

จัดส่งสถิติรายงานข้อมูลทางด้านสิทธิบัตร เพื่อเป็นฐานข้อมูลการให้บริการของกรม

กองกฎหมายและอุทธรณ์ ให้ความร่วมมือเป็นคณะกรรมการอนุสิทธิบัตรและคณะกรรมการสิทธิบัตร ร่วมวินิจฉัย คำอุทธรณ์ทุกสาขา

ปรึกษาด้านคดีและตีความด้านกฎหมายสิทธิบัตร

สำนักงานเลขานุการกรม ตีพิมพ์เอกสารสิทธิบัตร เช่น หนังสือประกาศโฆษณา
5. ประเด็นสำคัญในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและการหลีกเลี่ยงอุปสรรค
ประเด็นสำคัญ การแก้ปัญหา
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ไม่มีหลักเกณฑ์ ให้ยึดถือปฏิบัติ จัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ โดยละเอียดและชัดเจน

จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อให้ทราบและรับรู้แนวปฏิบัติ และวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

แบบฟอร์มจดหมายติดต่อแจ้งผู้ขอรับสิทธิบัตร ไม่มีการแจ้งให้ผู้รับสิทธิบัตรทราบทุกขั้นตอนทำให้ผู้ขอรับสิทธิบัตร ไม่ทราบว่าต่อไปต้องดำเนินการอย่างไรทำให้ขั้นตอนขาดช่วง

ไม่ชัดแจ้ง ในเรื่องการชำระค่าธรรมเนียม และการใช้แบบพิมพ์ ของกรมฯประกอบการยื่นคำขอ

วิธีการต่ออายุ ทำแผ่นพับแสดงเนื้อหารายละเอียดการต่ออายุตอนมารับหนังสือสำคัญ
ตัวอย่างคำขอรับสิทธิบัตร ยังมีไม่ครบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะมีความต้องการตัวอย่าง สิทธิบัตรการออกแบบ
6. สรุปเอกสารอ้างอิงสำหรับการบริหารและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
เอกสาร/หนังสือ/คู่มือ/แนวปฏิบัติ/แผ่นพับ เหตุผลในการใช้โดยเจ้าหน้าที่สิทธิบัตร
พระราชบัญญัติสิทธิบัตร 2522 แก้ไขตามพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แก้ไขตามพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 (ผลบังคับใช้ในวันที่ 27 สิงหาคม 2542) ประกอบด้วยกฎกระทรวง คำสั่งกรมฯ คำวินิจฉัยคณะกรรมการสิทธิบัตร และประกาศกรมฯ ใช้อ้างอิงถึงในจดหมายติดต่อผู้ขอรับสิทธิบัตร

ใช้เป็นแนวในการจัดทำคู่มือหรือแนวปฏิบัติ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ใหม่ศึกษาและรู้ข้อกฎหมาย เกี่ยวกับสิทธิบัตร

หนังสือคู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ใช้ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติแก่เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ
หนังสือคู่มือการขอรับสิทธิบัตร ใช้เป็นแนวทางให้ผู้ขอรับสิทธิ(ตัวแทน)ทราบถึงการจัดเตรียม คำขอรับสิทธิบัตร และการชำระค่าธรรมเนียม ขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร เป็นต้น
หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เอกสารเผยแพร่ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิ ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา แก่ประชาชน ผู้สนใจ ฯลฯ
หนังสือ “ในหลวงกับการประดิษฐ์” เอกสารเผยแพร่ให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตรและตัวอย่าง การเขียนคำขอรับสิทธิบัตร ของในหลวง
แผ่นพับ “จดทะเบียนสิทธิบัตรทำอย่างไร” เอกสารเผยแพร่ทราบถึงความรู้ทั่วไปในการขอรับสิทธิบัตร และทำอย่างไรจึงได้รับสิทธิบัตร
TRIPS ใช้เป็นข้อพิจารณาในการจัดทำคู่มือการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ในกรณีที่มีข้อตกลงกันระหว่างประเทศ
ตัวอย่างคำขอรับสิทธิบัตร ใช้เป็นแนวทางในการขอรับสิทธิบัตร
7(ก) ขั้นตอนการออกสิทธิบัตร
การประดิษฐ์/การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความต้องการเพื่อให้มีมาตรฐาน
รับคำขอรับสิทธิบัตร การตรวจดูว่าเอกสารครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบเบื้องต้น ตรวจดูข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ว่ารัดกุมชัดเจนหรือไม่

หนังสือสัญญาโอนสิทธิและหนังสือมอบอำนาจสอดคล้องกับแบบพิมพ์ คำขอรับสิทธิบัตรหรือไม่ และระยะเวลาอยู่ในกำหนดควบคุมหรือไม่

การขอถือสิทธิย้อนหลัง เอกสารถูกต้องหรือไม่ ตรวจดูระยะเวลา อยู่ในกำหนดควบคุมหรืvไม่

การแจ้งผู้ขอแก้ไข แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้แก้ไขที่บอกถึงการแก้ไขที่ต้องชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท พร้อมแนบแบบพิมพ์คำขอแก้ไขเพิ่มเติมไปด้วย
การประกาศโฆษณา รวบรวมคำขอรับสิทธิบัตรที่ชำระค่าธรรมเนียมประกาศโฆษณาแล้ว จัดตีพิมพ์เป็นเล่มและใส่ในอินเตอร์เนตเผยแพร่ทุกเดือน

แจ้งให้ผู้ขอฯ ทราบว่าได้ประกาศโฆษณาแล้วเลขที่อะไรเมื่อวันที่อะไร และต้องยื่นชำระค่าตรวจสอบภายในกำหนด 5 ปีนับแต่ประกาศโฆษณาโดยใช้แบบพิมพ์คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (ข้อบกพร่องนี้ ยังไม่ได้ดำเนินการในทางปฏิบัติ)

การคัดค้าน (ถ้ามี) ต้องการแบบฟอร์มจดหมายแจ้งผู้ขอรับสิทธิบัตรทราบการคัดค้าน พร้อมแนบรายละเอียดการคัดค้านและเอกสารหลักฐาน

ต้องการแบบฟอร์มจดหมายแจ้งผู้คัดค้านถึงรายละเอียดคำโต้แย้ง พร้อมส่งเอกสารหลักฐาน

ต้องการแบบฟอร์มคำวินิจฉัยของเจ้าหน้าที่

ต้องการแบบฟอร์มภายในเสนอท่านอธิบดีลงนามในคำวินิจฉัย

ต้องการแบบฟอร์มแจ้งผู้คัดค้านและผู้โต้แย้งทราบผลการวินิจฉัย

การตรวจค้นเอกสาร ที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว ต้องการแบบฟอร์มรายงานการตรวจค้นเอกสาร ที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว

อินเตอร์เนตเพื่อสืบหาเอกสารที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว ของสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

CD-ROM เพื่อสืบหาเอกสารที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว ของสิทธิบัตรยุโรป

ระบบเครือข่าย data base สืบหาเอกสาร ที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว ของสิทธิบัตรไทย

การตรวจสอบความใหม่ ต้องการตำราทางวิชาการเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในการพิจารณา ขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

ความชำนาญเฉพาะสาขาในการตรวจสอบความใหม่ ขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

ต้องการแบบฟอร์มหนังสือแจ้งรับจดทะเบียนหรือยกคำขอรับสิทธิบัตร

การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร/ สั่งยกคำขอรับสิทธิบัตร การจัดทำหนังสือสำคัญรับจดทะเบียนสิทธิบัตร

ในกรณียกคำขอรับสิทธิบัตร ต้องการให้แนบแบบพิมพ์คำอุทธรณ์ด้วย

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมรับจดทะเบียน

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมรายปี

7(ข) ขั้นตอนการออกสิทธิบัตร
ประเภทอนุสิทธิบัตร ความต้องการเพื่อให้มีมาตรฐาน
รับคำขออนุสิทธิบัตร การตรวจดูว่าเอกสารครบถ้วนถูกต้องหรือไม่
ตรวจสอบเบื้องต้น ตรวจดูข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ ว่ารัดกุมชัดเจนหรือไม่

หนังสือสัญญาโอนสิทธิและหนังสือมอบอำนาจ สอดคล้องกับแบบพิมพ์คำขอรับอนุสิทธิบัตรหรือไม่ และระยะเวลาอยู่ในกำหนดควบคุมหรือไม่

การขอถือสิทธิย้อนหลัง เอกสารถูกต้องหรือไม่ ตรวจดูระยะเวลาอยู่ในกำหนดควบคุมหรือไม่

การแจ้งผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติม แบบฟอร์มจดหมายสั่งแก้ไขที่บอกถึงการแก้ไข ที่ต้องชำระค่าธรรมเนียม100 บาท พร้อมแนบ แบบพิมพ์คำขอแก้ไขเพิ่มเติมไปด้วย
การรับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร การจัดทำหนังสือสำคัญรับจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมรับจดทะเบียน

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้มาชำระค่าธรรมเนียมรายปี

8. ความรู้และทักษะที่เจ้าหน้าที่พึงมีสำหรับให้บริการ
ก. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาสามารถให้การบริการแนะนำผู้มาติดต่อได้

ข. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสิทธิบัตร

ค. ความชำนาญในด้านการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรม

ง. กลยุทธ์ที่เข้าถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรโดยใช้คอมพิวเตอร์

จ. การตรวจค้นเอกสารสิทธิบัตร

ฉ. หลักเกณฑ์ตรวจสอบความใหม่ และขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น

9. คำถามที่มักถามโดยผู้ยื่นคำขอและประชาชนโดยทั่วไป
คำถาม ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ต้องพิจารณาเมื่อตอบคำถาม
1. ถ้าต้องการจดทะเบียนสิทธิบัตร จะต้องทำอย่างไรบ้าง ให้ความรู้ในการจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตร โดยใช้แผ่นพับจดทะเบียนสิทธิบัตรทำอย่างไร
2. ความแตกต่างของสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ให้ความรู้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาโดย หนังสือความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
3. สิทธิของผู้ทรงสิทธิเป็นอย่างไร ใช้แผ่นพับจดทะเบียนสิทธิบัตรทำอย่างไร
4. ขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร มีอะไรบ้าง ใช้แผนผังแสดงขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร จากหนังสือความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
5. ร่างรายละเอียดการประดิษฐ์ อย่างไร ใช้แนวจากตัวอย่างคำขอรับสิทธิบัตรซึ่งมีทั้ง ทางด้านวิศวกรรมและทางเคมี
6. ค่าใช้จ่ายเท่าไรในการขอ จดทะเบียนสิทธิบัตร ให้ดูจากหนังสือความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องค่าธรรมเนียม
7. ใช้เวลานานหรือไม่ในการออก สิทธิบัตร ไม่มีหลักเกณฑ์ คำตอบขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตอบ ซึ่งตอบไม่ค่อยเหมือนกัน
10. สิ่งตีพิมพ์และวัสดุของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ชื่อ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย ปีที่ตีพิมพ์
ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นหนังสือขนาดเล็กภาษาไทยอธิบายถึงข้อมูล เบื้องต้นเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตร และข้อดีของการได้รับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประชาชนทั่วไป

ผู้ขอรับสิทธิบัตร

ผู้ประดิษฐ์

2541
คู่มือการขอรับสิทธิบัตร เป็นคู่มือภาษาไทยเสนอข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิบัตร การประดิษฐ์ คำจำกัดความและประเภทของสิทธิบัตร ขั้นตอนการตรวจสอบ เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ตัวอย่าง ผู้ขอรับสิทธิบัตร

ผู้ประดิษฐ์

2536
การจดทะเบียนสิทธิบัตรทำอย่างไร เป็นแผ่นพับภาษาไทยอธิบายถึงขั้นตอนการเตรียมแบบคำขอ และประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับสิทธิบัตร นักประดิษฐ์

นักออกแบบ

ตัวแทนสิทธิบัตร

2539
General Information on How to get a patent in Thailand เป็นหนังสือขนาดเล็กภาษาอังกฤษเป็นการถาม- ตอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเกี่ยวกับสิทธิบัตร นักประดิษฐ์

นักออกแบบ

ผู้สนใจทั่วไป

2539
การให้บริการค้นข้อมูลสิทธิบัตร เป็นหนังสือขนาดเล็กภาษาไทยกล่าวถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตร เอกสารสิทธิบัตร ประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลสิทธิบัตร ขั้นตอนการค้นสิทธิบัตรค่าธรรมเนียม ข้อจำกัดในการค้น ผู้ที่จะยื่นแบบคำขอ

สิทธิบัตร

ประชาชนทั่วไป

2537
การดำเนินคดีสิทธิบัตร เป็นแผ่นพับภาษาไทย
ประกาศโฆษณาสิทธิบัตร เป็นรูปเล่มหนังสือภาษาไทยเป็นการประกาศ ให้ผู้อื่นทราบถึงแบบคำขอ สิทธิบัตรที่ได้ยื่นแล้ว มหาวิทยาลัย

บริษัทเอกชน

รายเดือน
ในหลวงกับการประดิษฐ์ เป็นหนังสือขนาดเล็กภาษาไทย เป็นสิทธิบัตร พร้อมกับประกาศโฆษณาและผลการพิจารณาการตรวจสอบ ของในหลวง ผู้ประดิษฐ์ทั่วไป

ผู้สนใจทั่วไป

2536

ภาคผนวก: ขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิบัตร

เลขที่ ขั้นตอน การจดทะเบียนสิทธิบัตร ส่วน/ฝ่ายที่รับผิดชอบ แบบฟอร์มที่ใช้กรอกคำขอจดทะเบียน เอกสารอ้างอิงสำหรับใช้ ประกอบการจดทะเบียน ข้อมูลที่ผู้จะยื่นคำขอจดทะเบียน จะต้องเตรียมหรือได้รับ
1. การยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน สป/สผ/001-ก , สป/สผ/001-ก(พ) ตรวจสอบว่าเอกสารยื่นครบถ้วนหรือไม่

ชำระค่าธรรมเนียม1,000บาท

ได้รับเลขที่คำขอใบเสร็จรับเงินรับคำขอฯ (100บาท)

ขั้นตอนการขอรับสิทธิบัตร

2. การตรวจสอบเบื้องต้น กลุ่มตรวจสอบ 8 กลุ่ม แบบฟอร์มเสนอประกาศโฆษณาภายใน

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งแก้ไขเพิ่มเติม

แบบฟอร์มคำขอแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตร สป/สผ/002-ก

แบบฟอร์มจดหมายแจ้งให้มาชำระค่าธรรมเนียม ภายในระยะเวลากำหนด

ตรวจข้อถือสิทธิและบทสรุปการประดิษฐ์ ว่าถูกต้องชัดเจนหรือไม่

หนังสือมอบอำนาจ, สัญญาโอนสิทธิ ถูกต้องหรือไม่

เอกสารในการขอถือสิทธิย้อนหลัง ถูกต้องหรือไม่

ผู้ขอต้องแก้ไข พร้อมชำระค่าธรรมเนียม ในการแก้ไข ร่วมกับแบบพิมพ์คำขอแก้ไขเพิ่มเติม

ผู้ขอจะได้ใบเสร็จรับเงินแก้ไขเพิ่มเติม(100บาท)

3. การประกาศโฆษณา ส่วนบริหารงานจดทะเบียน นำจดหมายแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม ประกาศโฆษณามาชำระเงิน พร้อมคำแปล บทสรุปการประดิษฐ์และข้อถือสิทธิ1 รวบรวมคำขอฯที่ชำระค่า ธรรมเนียมภายใน 1 เดือนทำเป็น หนังสือประกาศโฆษณา คำขอรับสิทธิบัตร ได้รับใบเสร็จประกาศโฆษณา(500บาท)
4. การคัดค้าน (ถ้ามี) กลุ่มตรวจสอบ 8 กลุ่ม คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/005-ค พร้อมเอกสารหลักฐาน

-คำขอนำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลง เพิ่มเติม แบบ สป/สผ/005-ก (พ)

แบบฟอร์มจดหมายเพื่อจัดส่งคำคัดค้าน และเอกสารหลักฐาน ไปให้ผู้ขอรับสิทธิบัตร ผู้คัดค้านจะได้ใบเสร็จชำระค่าธรรมเนียม ในการคัดค้าน(500บาท)
5. การโต้แย้ง กลุ่มตรวจสอบ 8 กลุ่ม คำโต้แย้ง แบบสป/สผ/006-ก

คำขอนำพยานหลักฐานมาแสดงหรือแถลง เพิ่มเติม แบบ สป/สผ/005-ก (พ)

แบบฟอร์มจดหมายเพื่อจัดส่งคำโต้แย้ง ให้ผู้คัดค้าน ผู้โต้แย้งจะได้ใบเสร็จค่าธรรมเนียม ในการโต้แย้ง (100บาท)
6. การตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร และคัดสำเนาเอกสาร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน คำขอตรวจค้นคำขอรับสิทธิบัตร และคัดสำเนาเอกสาร แบบ สป/สผ/004-ก สมุดบันทึกลงสถิติประจำวัน การตรวจค้นคำขอ ใบเสร็จรับเงินในกรณีรับรองสำเนาเอกสาร

ใบเสร็จรับเงินในการขอตรวจค้น(100บาท)

7. การอุทธรณ์ กองกฎหมายและอุทธรณ์
กลุ่มงานอุทธรณ์
คำอุทธรณ์ แบบ สป/สผ/007-ก รายละเอียดการอุทธรณ์พร้อมเอกสารหลักฐาน คณะกรรมการอนุสิทธิบัตรสาขา ทางด้านเทคนิคต่างๆ

คณะกรรมการสิทธิบัตร

ใบเสร็จรับเงิน (1,000บาท)
8. การตรวจสอบ (Substantive Examination) กลุ่มตรวจสอบ 8 กลุ่ม คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ (การออกแบบฯไม่ต้องใช้)แบบ สป/สผ/003-ก

ทำรายงานการตรวจสอบ

แบบฟอร์มหนังสือให้มาชำระค่าธรรมเนียม ในการออกสิทธิบัตร หรือแจ้งให้ทราบว่ายกคำขอรับสิทธิบัตร

ดำเนินการตรวจค้นหาเอกสารอ้างอิง

ทำรายงานการตรวจค้น

ใบเสร็จรับเงินในกรณีให้ตรวจสอบ การประดิษฐ์ (500บาท)
9. การออกแบบสิทธิบัตร (รับจดทะเบียน) ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (Register Administration Section) หนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนสิทธิบัตร

หนังสือสำคัญสำหรับ การประดิษฐ์ สป/200-ข, การออกแบบ สป/200-ข

จัดทำหนังสือสำคัญ

มีหนังสือให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรรับหนังสือสำคัญ ภายในเวลากำหนด

ใบเสร็จรับเงินรับทะเบียน (1,000บาท)

หนังสือสำคัญในการรับจดทะเบียน สิทธิบัตร

10. การขอชำระค่าธรรมเนียมรายปี ส่วนบริหารงานจดทะเบียน หนังสือแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุรายปี ลงบันทึกในแฟ้มคำขอรับสิทธิบัตร ในการต่ออายุรายปี ใบเสร็จรับเงินชำระในแต่ละปีโดยขึ้นปีที่ 5 เป็นต้นไป
11. การขึ้นทะเบียน เป็นตัวแทนสิทธิบัตร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน คำขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร แบบ สป/101-ก และ สผ/101-ก ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารประกอบ คำขอว่า ถูกต้องหรือไม่ เช่น รูปถ่าย สำเนาทะเบียนบ้าน ใบรับรอง วุฒิการศึกษา เป็นต้น

จัดทำหนังสือสำคัญ แบบ สป/102-ข และ สผ/102-ข

ใบเสร็จรับเงินขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทน สิทธิบัตร (100บาท)

หนังสือสำคัญแบบสป/102-ข และ สผ/102-ข

12. การเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิบัตร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน คำขอบันทึกคำยินยอมให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตร แบบสป/สผ/202-ก

คำขออนุญาตใช้สิทธิตามสิทธิบัตร แบบสป/สผ/203

บันทึกลงในหนังสือสำคัญและลงในสมุด ไว้เป็นหลักฐาน

บันทึกลงในหนังสือสำคัญและลงในสมุด ไว้เป็นหลักฐาน

ตรวจดูเอกสารหลักฐานที่ต้องยื่นพร้อม คำขออนุญาต ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

ใบเสร็จรับเงิน 100บาท

ใบเสร็จรับเงิน100บาท /1ฉบับ

12.

(ต่อ)

การเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิบัตร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน -คำขอให้ยกเลิกใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/204-ก

-คำขอจดทะเบียนการอนุญาตให้ใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตรแบบ สป/สผ/205-ก

คำขอจดทะเบียนการโอนสิทธิบัตรและ การรับโอนสิทธิบัตร โดยทางมรดก แบบ สป/สผ/206-ค

บันทึกลงในหนังสือสำคัญและลงใน สมุดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน

บันทึกลงในหนังสือสำคัญและลงในสมุด ไว้เป็นหลักฐาน

บันทึกลงหนังสือสำคัญและลงสมุด ไว้เป็นหลักฐาน

ใบเสร็จรับเงิน100บาท

ใบเสร็จรับเงิน 500บาท/ 1ฉบับ

ใบเสร็จชำระเงิน เป็นเงิน 500บาท/1ฉบับ

12.

(ต่อ)

การเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมสิทธิบัตร ส่วนบริหารงานจดทะเบียน คำขอรับบำเหน็จพิเศษ แบบ สป/สผ/207-ค

คำขอคืนสิทธิบัตรหรือเลิกข้อถือสิทธิบางข้อ แบบ สป/สผ/208-ก

คำขอรับใบแทนสิทธิบัตรหรือใบแทน ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ ตามสิทธิบัตรแบบสป/สผ/209-ก

-บันทึกลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน

แนวปฏิบัติยังไม่มีเพราะยังไม่มีกรณีนี้เกิดขึ้น น่าจะมีการคืนหนังสือสำคัญ หรือ แก้ไขข้อถือสิทธิให้ถูกต้องแล้วออกให้ใหม่

บันทึกลงในสมุดไว้เป็นหลักฐาน

ดำเนินการออกใบแทนสิทธิบัตร

ใบเสร็จชำระเงิน (100บาท)

ใบเสร็จชำระเงิน (100บาท)

ใบเสร็จชำระเงิน 100บาท/

1ฉบับ

 

Scroll to Top