พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยความลับทางการค้า พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ความลับทางการค้า” หมายความว่า ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ
“ข้อมูลการค้า” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดทำไว้ ในรูปใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสูตร รูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ และให้หมายความรวมถึงเปลี่ยนรูปหรือแบ่งบรรจุด้วย
“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ ในทางการค้าและให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
“ยา” หมายความว่า ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
“เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร” หมายความว่า เคมีภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ใน การเกษตร และให้หมายความรวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค หรือกำจัดแมลง สัตว์หรือพืชที่อาจก่อความเสียหายแก่การเกษตรด้วย
“เจ้าของความลับทางการค้า” หมายความว่า ผู้ค้นพบ คิดค้น รวบรวม หรือสร้างสรรค์ข้อมูลการค้าที่เป็นความลับทางการค้าโดยมิได้เป็นการละเมิดสิทธิใน ความลับทางการค้าของผู้อื่น หรือผู้มีสิทธิโดยชอบในผลการทดสอบหรือข้อมูลการค้า ที่เป็นความลับทางการค้า และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
“ผู้ควบคุมความลับทางการค้า” หมายความว่า เจ้าของความลับทางการค้า และให้หมายความรวมถึงผู้ครอบครอง ควบคุม หรือดูแลรักษาความลับทางการค้าด้วย
“ศาล” หมายความว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการความลับทางการค้า
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการความลับทางการค้า
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง
กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ การคุ้มครองความลับทางการค้า
มาตรา ๕ ความลับทางการค้านั้นย่อมโอนให้แก่กันได้
เจ้าของความลับทางการค้ามีสิทธิที่จะเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับ ทางการค้า หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้า โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดเพื่อรักษาความลับทางการค้าดังกล่าวให้เป็นความลับต่อไปก็ได้
การโอนความลับทางการค้าตามวรรคหนึ่งซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาในสัญญาโอน ให้ถือว่าเป็น การโอนมีกำหนดระยะเวลาสิบปี
มาตรา ๖ การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอม จากเจ้าของความลับทางการค้านั้น อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้ ผู้ละเมิดจะต้องรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติ เช่นว่านั้น
การกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันตาม วรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็น การจูงใจให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ วิธีการอื่นใดด้วย
มาตรา ๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แก่ความลับทางการค้า มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า
(๑) การเปิดเผยหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยบุคคลที่ได้ความลับ ทางการค้านั้นมาโดยทางนิติกรรม โดยไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ว่าความลับทางการค้านั้น คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของบุคคลอื่น
(๒) การเปิดเผยหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งดูแลรักษาความลับทางการค้านั้นในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีจำเป็นเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของ สาธารณชน หรือ
(ข) ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้าและในกรณีดังกล่าว หน่วยงานของรัฐซึ่งดูแลรักษาความลับทางการค้านั้น หรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ความลับทางการค้านั้นไป ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าดังกล่าวจากการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ที่ไม่เป็นธรรม
(๓) การค้นพบโดยอิสระ ซึ่งได้แก่ การค้นพบความลับทางการค้าของผู้อื่น โดยผู้ค้นพบได้ใช้วิธีการประดิษฐ์หรือจัดทำขึ้นด้วยความรู้ความชำนาญของผู้ค้นพบนั้นเอง หรือ
(๔) การทำวิศวกรรมย้อนกลับ ซึ่งได้แก่ การค้นพบความลับทางการค้าของผู้อื่น โดยผู้ค้นพบได้ทำการประเมินและศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพื่อค้นคว้า หาวิธีที่ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการประดิษฐ์ จัดทำ หรือพัฒนา แต่ทั้งนี้ บุคคลซึ่งทำการประเมิน และศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวจะต้องได้ผลิตภัณฑ์เช่นว่านั้นมาโดยวิธีที่สุจริต
การกระทำตาม (๔) ไม่อาจถูกยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ถ้าบุคคลซึ่งทำวิศวกรรม ย้อนกลับดังกล่าวได้ทำสัญญากับเจ้าของความลับทางการค้าหรือผู้ขายผลิตภัณฑ์ที่ทำวิศวกรรม ย้อนกลับไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง
มาตรา ๘ เมื่อมีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่าผู้ใดละเมิดหรือกำลังจะกระทำอย่างใด อย่างหนึ่งอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูก หรือกำลังจะถูกละเมิดสิทธินั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้นั้นระงับหรือละเว้นการละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้านั้นเป็นการชั่วคราว และ
(๒) ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า และฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าได้
การใช้สิทธิตาม (๑) อาจกระทำได้ก่อนการฟ้องคดีตาม (๒)
มาตรา ๙ ก่อนที่จะใช้สิทธิตามมาตรา ๘ ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูก หรือกำลังจะถูกละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจตกลงกันเพื่อขอให้ คณะกรรมการทำการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับความลับทางการค้าได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ควบคุมความลับทางการค้านั้นและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จะนำข้อพิพาทไปสู่ การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหรือนำคดีไปสู่ศาลหากการไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอม ข้อพิพาทดังกล่าวไม่อาจตกลงกันได้
การยื่นคำขอและวิธีพิจารณาในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทของ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๐ ห้ามมิให้ฟ้องคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเมื่อพ้นกำหนด สามปีนับแต่วันที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูกละเมิดสิทธิรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำ ละเมิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีการละเมิด
หมวด ๒ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับความลับทางการค้า
มาตรา ๑๑ เมื่อผู้ควบคุมความลับทางการค้าฟ้องคดีขอให้ศาลพิจารณา ออกคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) หากศาลวินิจฉัยว่ามีการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า แต่มีพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สมควรออกคำสั่งตามคำขอได้ ศาลอาจพิจารณากำหนดให้ผู้ละเมิดสิทธิ ในความลับทางการค้าเสียค่าตอบแทนในจำนวนที่เหมาะสมและกำหนดให้ผู้นั้น ใช้ความลับทางการค้านั้นต่อไปได้ตามกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควรได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) ห้ามมิให้มีการละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้านั้นต่อไปอีก ถ้าความลับทางการค้านั้นได้ถูกเปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือได้สิ้นสภาพ การเป็นความลับทางการค้าในภายหลัง ให้ผู้ซึ่งถูกศาลสั่งห้ามมิให้ละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้ามีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งเช่นว่านั้นได้
ในคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) ผู้ควบคุมความลับทางการค้าจะขอให้ ศาลสั่งทำลายหรือริบสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้ใช้ในการละเมิด สิทธิในความลับทางการค้าด้วยก็ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำขึ้นจากการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ละเมิดให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือของผู้ควบคุมความลับทางการค้าตามที่ศาลมีคำสั่ง หรือถ้าการมีผลิตภัณฑ์นั้นไว้เป็นความผิดตามกฎหมาย ศาลจะสั่งให้ทำลายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เสียก็ได้
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ความลับทางการค้านั้นมีลักษณะเป็นกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ฟ้องผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเป็นคดีแพ่ง ถ้าผู้ควบคุมความลับทางการค้าพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้ละเมิดผลิตมีความเหมือนกับผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการผลิตที่เป็นความลับทางการค้าของตน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ละเมิด ได้ใช้ความลับทางการค้านั้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เว้นแต่ผู้ละเมิดจะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๓ ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีการฟ้องคดีตามมาตรา ๘ (๒) ศาลมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) นอกจากกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างแท้จริง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าคืนผลประโยชน์ที่ได้จาก หรือเนื่องจากการละเมิดโดยคิดรวมเข้าไปในค่าสินไหมทดแทนได้
(๒) ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ได้ ให้ศาลกำหนด ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(๓) ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า เป็นการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนากลั่นแกล้ง เป็นเหตุให้ความลับทางการค้าดังกล่าวสิ้นสภาพ การเป็นความลับทางการค้าให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ เพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดตาม (๑) หรือ (๒) ได้ แต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหม ทดแทนตาม (๑) หรือ (๒)
มาตรา ๑๔ การใช้สิทธิทางศาลเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าและ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับความลับทางการค้านอกจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
หมวด ๓ การดูแลรักษาความลับทางการค้าโดยหน่วยงานของรัฐ
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขายซึ่งยา หรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่ใช้สารเคมีชนิดใหม่ ต้องเสนอข้อมูลประกอบ คำขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐ หากข้อมูลนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นความลับ ทางการค้าซึ่งมีลักษณะเป็นผลการทดสอบหรือข้อมูลอื่นใดที่การจัดทำ ค้นพบ หรือสร้างสรรค์ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และผู้ขออนุญาตได้ขอจดแจ้งให้หน่วยงานของรัฐดูแลรักษา ความลับทางการค้าดังกล่าวด้วย ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลรักษาความลับ ทางการค้านั้นจากการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
ระเบียบตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
(๑) เงื่อนไขในการขอจดแจ้งให้ดูแลรักษาความลับทางการค้าต่อ หน่วยงานของรัฐ
(๒) รายละเอียดของผลการทดสอบหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้านั้น
(๓) กำหนดเวลาในการดูแลรักษาความลับทางการค้า
(๔) วิธีการจัดเก็บความลับทางการค้าโดยคำนึงถึงประเภทของเทคโนโลยี และผลการทดสอบหรือข้อมูลที่เป็นความลับด้วย และ
(๕) หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลรักษาความลับ ทางการค้า
หมวด ๔ คณะกรรมการความลับทางการค้า
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการความลับทางการค้า ประกอบด้วยประธาน กรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสามคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมี ความเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การค้าระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือสาขาอื่นใด ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจาก ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคเอกชนอย่างน้อยหกคน
ให้อธิบดีเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็น ผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๗ ประธานกรรมการและกรรมการต้องไม่ดำรงตำแหน่งใด หรือมีส่วนได้เสียอย่างใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจ
มาตรา ๑๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๖ มีวาระ อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณี ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซี่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้ง ต่อเนื่องอีกได้ไม่เกินหนึ่งวาระ
มาตรา ๑๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๘ ประธานกรรมการและกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(๔) บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๗
มาตรา ๒๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น เสียงชี้ขาด ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ห้ามมิให้
ประธานกรรมการหรือกรรมการดังกล่าวเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองความลับ ทางการค้าและนโยบายเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้า ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี
(๒) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและ ระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับความลับทางการค้าตามที่ คู่กรณีร้องขอ
(๔) ปฎิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๒ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา วินิจฉัย หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
ให้นำมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๑ (๓) ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือข้อมูล หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
คำสั่งตามวรรคหนึ่ง ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดแจ้งว่าคณะกรรมการประสงค์ จะให้บุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำหรือข้อมูล หรือส่งเอกสารหรือวัตถุเพื่อประกอบการพิจารณา เรื่องใด
มาตรา ๒๔ หนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด ที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำการของบุคคลนั้น หรือโดยวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งได้ หรือบุคคลนั้นออกไป นอกราชอาณาจักรให้ใช้วิธีปิดหนังสือดังกล่าวในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำการของบุคคลนั้น หรือที่บ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย หรือจะโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่าย เป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้
เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับหนังสือนั้นแล้ววิธีการส่งหนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด และสิทธิในการโต้แย้ง ของผู้มีส่วนได้เสีย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๕ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยทั่วไปเกี่ยวกับความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ และรับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูลและดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ ตลอดจนดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ และกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๗ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคดีอาญาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในอาคาร สถานที่ทำการ สถานที่ผลิต สถานที่เก็บสินค้า หรือยานพาหนะใดเพื่อตรวจค้น หรือตรวจสอบ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของที่ได้มา หรือได้ผลิตขึ้นโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ เอกสาร หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน ทั้งนี้ ในเวลา ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
(๒) ยึดหรืออายัดเอกสาร หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดได้ ไม่เกินสามเดือนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๑ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๒ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๓ ผู้ใดเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า โดยเจตนา กลั่นแกล้งให้ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะ กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผย ด้วยวิธีอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔ ผู้ใดโดยเหตุที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ในการดูแลรักษาความลับ ทางการค้า ตามระเบียบที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง เปิดเผยหรือใช้ความลับนั้น เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งตนได้มาหรือล่วงรู้ เนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงเจ็ดปี หรือปรับ ตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการ หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
ผู้ใดได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากบุคคลตามวรรคหนึ่งเนื่องในการปฏิบัติ ราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี แล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกัน
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ การกระทำ หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็น หน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซี่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๓๗ ความผิดตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ เป็นความผิดอันยอมความได้
มาตรา ๓๘ ความผิดตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ คณะกรรมการ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ และในการนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ อธิบดี พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนด หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไขประการใด ๆ ให้แก่ผู้รับมอบหมายตามที่เห็น สมควรด้วยก็ได้
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวน พบว่าบุคคลใด กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวน ส่งเรื่องมายังคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๙ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่ง ความลับทางการค้าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
สินค้าซึ่งผลิต นำเข้า หรือส่งออกก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นสินค้าที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ครอบครองขายหรือส่งออกได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดในการละเมิดความลับทางการค้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
…………………………………………………….. ………………………………………………………..
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
เป็นปีที่ ๕๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยความลับทางการค้า พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๑ มาตรา ๓๕ มาตรา ๔๘ และมาตรา ๕๐ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ ๒๕๔๕”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่ วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“ความลับทางการค้า” หมายความว่า ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูล ที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ
“ข้อมูลการค้า” หมายความว่า สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดทำไว้ ในรูปใด ๆ และให้หมายความรวมถึงสูตร รูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย
“ผลิต” หมายความว่า ทำ ผสม ปรุงหรือแปรสภาพ และให้หมายความรวมถึงเปลี่ยนรูปหรือแบ่งบรรจุด้วย
“ขาย” หมายความว่า จำหน่าย จ่าย แจก หรือแลกเปลี่ยน เพื่อประโยชน์ ในทางการค้าและให้หมายความรวมถึงการมีไว้เพื่อขายด้วย
“ยา” หมายความว่า ยาตามกฎหมายว่าด้วยยา
“เคมีภัณฑ์ทางการเกษตร” หมายความว่า เคมีภัณฑ์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ใน การเกษตร และให้หมายความรวมถึงเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค หรือกำจัดแมลง สัตว์หรือพืชที่อาจก่อความเสียหายแก่การเกษตรด้วย
“เจ้าของความลับทางการค้า” หมายความว่า ผู้ค้นพบ คิดค้น รวบรวม หรือสร้างสรรค์ข้อมูลการค้าที่เป็นความลับทางการค้าโดยมิได้เป็นการละเมิดสิทธิใน ความลับทางการค้าของผู้อื่น หรือผู้มีสิทธิโดยชอบในผลการทดสอบหรือข้อมูลการค้า ที่เป็นความลับทางการค้า และให้หมายความรวมถึงผู้รับโอนสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย
“ผู้ควบคุมความลับทางการค้า” หมายความว่า เจ้าของความลับทางการค้า และให้หมายความรวมถึงผู้ครอบครอง ควบคุม หรือดูแลรักษาความลับทางการค้าด้วย
“ศาล” หมายความว่า ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการความลับทางการค้า
“กรรมการ” หมายความว่า กรรมการความลับทางการค้า
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้
“อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และให้หมายความ รวมถึงผู้ซึ่งอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงและระเบียบเพื่อปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของแต่ละกระทรวง
กฎกระทรวงและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ การคุ้มครองความลับทางการค้า
มาตรา ๕ ความลับทางการค้านั้นย่อมโอนให้แก่กันได้
เจ้าของความลับทางการค้ามีสิทธิที่จะเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับ ทางการค้า หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้า โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดเพื่อรักษาความลับทางการค้าดังกล่าวให้เป็นความลับต่อไปก็ได้
การโอนความลับทางการค้าตามวรรคหนึ่งซึ่งมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดระยะเวลาในสัญญาโอน ให้ถือว่าเป็น การโอนมีกำหนดระยะเวลาสิบปี
มาตรา ๖ การละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ได้รับความยินยอม จากเจ้าของความลับทางการค้านั้น อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้ ผู้ละเมิดจะต้องรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติ เช่นว่านั้น
การกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกันตาม วรรคหนึ่ง หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็น การจูงใจให้ละเมิดความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ วิธีการอื่นใดด้วย
มาตรา ๗ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้แก่ความลับทางการค้า มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า
(๑) การเปิดเผยหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยบุคคลที่ได้ความลับ ทางการค้านั้นมาโดยทางนิติกรรม โดยไม่รู้หรือไม่มีเหตุอันควรรู้ว่าความลับทางการค้านั้น คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าของบุคคลอื่น
(๒) การเปิดเผยหรือใช้ซึ่งความลับทางการค้าโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งดูแลรักษาความลับทางการค้านั้นในกรณีดังต่อไปนี้
(ก) ในกรณีจำเป็นเพื่อคุ้มครองสุขภาพอนามัยหรือความปลอดภัยของ สาธารณชน หรือ
(ข) ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นซึ่งมิได้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการค้าและในกรณีดังกล่าว หน่วยงานของรัฐซึ่งดูแลรักษาความลับทางการค้านั้น หรือหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ความลับทางการค้านั้นไป ได้ดำเนินการ ตามขั้นตอนเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าดังกล่าวจากการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ที่ไม่เป็นธรรม
(๓) การค้นพบโดยอิสระ ซึ่งได้แก่ การค้นพบความลับทางการค้าของผู้อื่น โดยผู้ค้นพบได้ใช้วิธีการประดิษฐ์หรือจัดทำขึ้นด้วยความรู้ความชำนาญของผู้ค้นพบนั้นเอง หรือ
(๔) การทำวิศวกรรมย้อนกลับ ซึ่งได้แก่ การค้นพบความลับทางการค้าของผู้อื่น โดยผู้ค้นพบได้ทำการประเมินและศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพื่อค้นคว้า หาวิธีที่ผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการประดิษฐ์ จัดทำ หรือพัฒนา แต่ทั้งนี้ บุคคลซึ่งทำการประเมิน และศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวจะต้องได้ผลิตภัณฑ์เช่นว่านั้นมาโดยวิธีที่สุจริต
การกระทำตาม (๔) ไม่อาจถูกยกขึ้นกล่าวอ้างได้ ถ้าบุคคลซึ่งทำวิศวกรรม ย้อนกลับดังกล่าวได้ทำสัญญากับเจ้าของความลับทางการค้าหรือผู้ขายผลิตภัณฑ์ที่ทำวิศวกรรม ย้อนกลับไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง
มาตรา ๘ เมื่อมีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่าผู้ใดละเมิดหรือกำลังจะกระทำอย่างใด อย่างหนึ่งอันเป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูก หรือกำลังจะถูกละเมิดสิทธินั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(๑) ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้นั้นระงับหรือละเว้นการละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้านั้นเป็นการชั่วคราว และ
(๒) ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ผู้นั้นละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า และฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าได้
การใช้สิทธิตาม (๑) อาจกระทำได้ก่อนการฟ้องคดีตาม (๒)
มาตรา ๙ ก่อนที่จะใช้สิทธิตามมาตรา ๘ ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูก หรือกำลังจะถูกละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งอาจตกลงกันเพื่อขอให้ คณะกรรมการทำการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับความลับทางการค้าได้ แต่ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ควบคุมความลับทางการค้านั้นและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งที่จะนำข้อพิพาทไปสู่ การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหรือนำคดีไปสู่ศาลหากการไกล่เกลี่ยหรือการประนีประนอม ข้อพิพาทดังกล่าวไม่อาจตกลงกันได้
การยื่นคำขอและวิธีพิจารณาในการไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทของ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๐ ห้ามมิให้ฟ้องคดีละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเมื่อพ้นกำหนด สามปีนับแต่วันที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ถูกละเมิดสิทธิรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้กระทำ ละเมิด แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่มีการละเมิด
หมวด ๒ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับความลับทางการค้า
มาตรา ๑๑ เมื่อผู้ควบคุมความลับทางการค้าฟ้องคดีขอให้ศาลพิจารณา ออกคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) หากศาลวินิจฉัยว่ามีการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า แต่มีพฤติการณ์พิเศษที่ไม่สมควรออกคำสั่งตามคำขอได้ ศาลอาจพิจารณากำหนดให้ผู้ละเมิดสิทธิ ในความลับทางการค้าเสียค่าตอบแทนในจำนวนที่เหมาะสมและกำหนดให้ผู้นั้น ใช้ความลับทางการค้านั้นต่อไปได้ตามกำหนดเวลาที่ศาลเห็นสมควรได้
ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) ห้ามมิให้มีการละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้านั้นต่อไปอีก ถ้าความลับทางการค้านั้นได้ถูกเปิดเผยเป็นการทั่วไปหรือได้สิ้นสภาพ การเป็นความลับทางการค้าในภายหลัง ให้ผู้ซึ่งถูกศาลสั่งห้ามมิให้ละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้ามีสิทธิยื่นคำขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งเช่นว่านั้นได้
ในคำขอให้ศาลมีคำสั่งตามมาตรา ๘ (๒) ผู้ควบคุมความลับทางการค้าจะขอให้ ศาลสั่งทำลายหรือริบสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้ใช้ในการละเมิด สิทธิในความลับทางการค้าด้วยก็ได้
ผลิตภัณฑ์ที่ได้ทำขึ้นจากการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าและยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ละเมิดให้ตกเป็นของแผ่นดินหรือของผู้ควบคุมความลับทางการค้าตามที่ศาลมีคำสั่ง หรือถ้าการมีผลิตภัณฑ์นั้นไว้เป็นความผิดตามกฎหมาย ศาลจะสั่งให้ทำลายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เสียก็ได้
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าที่ความลับทางการค้านั้นมีลักษณะเป็นกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ฟ้องผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าเป็นคดีแพ่ง ถ้าผู้ควบคุมความลับทางการค้าพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้ละเมิดผลิตมีความเหมือนกับผลิตภัณฑ์ ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการผลิตที่เป็นความลับทางการค้าของตน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ละเมิด ได้ใช้ความลับทางการค้านั้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เว้นแต่ผู้ละเมิดจะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น
มาตรา ๑๓ ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเมื่อมีการฟ้องคดีตามมาตรา ๘ (๒) ศาลมีอำนาจกำหนดตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) นอกจากกำหนดค่าสินไหมทดแทนเฉพาะในความเสียหายที่เกิดขึ้น อย่างแท้จริง ศาลอาจมีคำสั่งให้ผู้ละเมิดสิทธิในความลับทางการค้าคืนผลประโยชน์ที่ได้จาก หรือเนื่องจากการละเมิดโดยคิดรวมเข้าไปในค่าสินไหมทดแทนได้
(๒) ในกรณีที่ไม่อาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนตาม (๑) ได้ ให้ศาลกำหนด ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร
(๓) ในกรณีที่ปรากฏหลักฐานชัดแจ้งว่าการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า เป็นการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนากลั่นแกล้ง เป็นเหตุให้ความลับทางการค้าดังกล่าวสิ้นสภาพ การเป็นความลับทางการค้าให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ละเมิดจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ เพิ่มขึ้นจากจำนวนที่ศาลกำหนดตาม (๑) หรือ (๒) ได้ แต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหม ทดแทนตาม (๑) หรือ (๒)
มาตรา ๑๔ การใช้สิทธิทางศาลเพื่อคุ้มครองความลับทางการค้าและ การพิจารณาคดีเกี่ยวกับความลับทางการค้านอกจากที่ได้บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
หมวด ๓ การดูแลรักษาความลับทางการค้าโดยหน่วยงานของรัฐ
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือขายซึ่งยา หรือเคมีภัณฑ์ทางการเกษตรที่ใช้สารเคมีชนิดใหม่ ต้องเสนอข้อมูลประกอบ คำขออนุญาตต่อหน่วยงานของรัฐ หากข้อมูลนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นความลับ ทางการค้าซึ่งมีลักษณะเป็นผลการทดสอบหรือข้อมูลอื่นใดที่การจัดทำ ค้นพบ หรือสร้างสรรค์ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก และผู้ขออนุญาตได้ขอจดแจ้งให้หน่วยงานของรัฐดูแลรักษา ความลับทางการค้าดังกล่าวด้วย ให้หน่วยงานของรัฐดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลรักษาความลับ ทางการค้านั้นจากการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ที่ไม่เป็นธรรม ทั้งนี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด
ระเบียบตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้
(๑) เงื่อนไขในการขอจดแจ้งให้ดูแลรักษาความลับทางการค้าต่อ หน่วยงานของรัฐ
(๒) รายละเอียดของผลการทดสอบหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้านั้น
(๓) กำหนดเวลาในการดูแลรักษาความลับทางการค้า
(๔) วิธีการจัดเก็บความลับทางการค้าโดยคำนึงถึงประเภทของเทคโนโลยี และผลการทดสอบหรือข้อมูลที่เป็นความลับด้วย และ
(๕) หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดูแลรักษาความลับ ทางการค้า
หมวด ๔ คณะกรรมการความลับทางการค้า
มาตรา ๑๖ ให้มีคณะกรรมการความลับทางการค้า ประกอบด้วยประธาน กรรมการและกรรมการอื่นอีกไม่เกินสิบสามคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมี ความเชี่ยวชาญในสาขา วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ การค้าระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ หรือสาขาอื่นใด ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้โดยในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจาก ผู้ทรงคุณวุฒิในภาคเอกชนอย่างน้อยหกคน
ให้อธิบดีเป็นเลขานุการ
คณะกรรมการอาจแต่งตั้งข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาเป็น ผู้ช่วยเลขานุการได้ไม่เกินสองคน
มาตรา ๑๗ ประธานกรรมการและกรรมการต้องไม่ดำรงตำแหน่งใด หรือมีส่วนได้เสียอย่างใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจ
มาตรา ๑๘ ให้ประธานกรรมการและกรรมการตามมาตรา ๑๖ มีวาระ อยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณี ที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซี่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ ในตำแหน่ง ให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระ ที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้ง ต่อเนื่องอีกได้ไม่เกินหนึ่งวาระ
มาตรา ๑๙ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๘ ประธานกรรมการและกรรมการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก
(๔) บกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๕) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๖) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๗) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับ ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๘) กระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา ๑๗
มาตรา ๒๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการ ที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่ง ในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็น เสียงชี้ขาด ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียในเรื่องที่พิจารณา ห้ามมิให้
ประธานกรรมการหรือกรรมการดังกล่าวเข้าร่วมประชุมในเรื่องนั้น
มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอความเห็นเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการในการคุ้มครองความลับ ทางการค้าและนโยบายเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับความลับทางการค้า ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี
(๒) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงและ ระเบียบตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับความลับทางการค้าตามที่ คู่กรณีร้องขอ
(๔) ปฎิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา ๒๒ คณะกรรมการจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณา วินิจฉัย หรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายก็ได้
ให้นำมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๒๓ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีตาม มาตรา ๒๑ (๓) ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ หรือข้อมูล หรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ มาเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น
คำสั่งตามวรรคหนึ่ง ต้องระบุรายละเอียดให้ชัดแจ้งว่าคณะกรรมการประสงค์ จะให้บุคคลดังกล่าวมาให้ถ้อยคำหรือข้อมูล หรือส่งเอกสารหรือวัตถุเพื่อประกอบการพิจารณา เรื่องใด
มาตรา ๒๔ หนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด ที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำการของบุคคลนั้น หรือโดยวิธีการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งได้ หรือบุคคลนั้นออกไป นอกราชอาณาจักรให้ใช้วิธีปิดหนังสือดังกล่าวในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ ภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำการของบุคคลนั้น หรือที่บ้านที่บุคคลนั้นมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมาย ว่าด้วยการทะเบียนราษฎรครั้งสุดท้าย หรือจะโฆษณาข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่าย เป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้
เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้นได้รับหนังสือนั้นแล้ววิธีการส่งหนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด และสิทธิในการโต้แย้ง ของผู้มีส่วนได้เสีย ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๕ ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญามีอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยทั่วไปเกี่ยวกับความลับทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ และรับผิดชอบงานธุรการ งานประชุม การศึกษาหาข้อมูลและดำเนินกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานของคณะกรรมการ ตลอดจนดำเนินการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติงานอื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๒๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ประธานกรรมการ และกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๕ พนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา ๒๗ ในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับคดีอาญาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในอาคาร สถานที่ทำการ สถานที่ผลิต สถานที่เก็บสินค้า หรือยานพาหนะใดเพื่อตรวจค้น หรือตรวจสอบ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีสิ่งของที่ได้มา หรือได้ผลิตขึ้นโดยการกระทำความผิด หรือได้ใช้ในการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ เอกสาร หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน ทั้งนี้ ในเวลา ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น
(๒) ยึดหรืออายัดเอกสาร หรือสิ่งของที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดได้ ไม่เกินสามเดือนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดี ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๒๗ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้อง แสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
บัตรประจำตัวตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๖ บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๑ ผู้ใดขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๗ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๒ ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรา ๒๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๓ ผู้ใดเปิดเผยความลับทางการค้าของผู้อื่นให้เป็นที่ล่วงรู้โดยทั่วไป ในประการที่ทำให้ความลับทางการค้านั้นสิ้นสภาพการเป็นความลับทางการค้า โดยเจตนา กลั่นแกล้งให้ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้รับความเสียหายในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะ กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร การกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพ หรือการเปิดเผย ด้วยวิธีอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๔ ผู้ใดโดยเหตุที่ตนมีตำแหน่งหน้าที่ในการดูแลรักษาความลับ ทางการค้า ตามระเบียบที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง เปิดเผยหรือใช้ความลับนั้น เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๓๕ ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดเกี่ยวกับกิจการของผู้ควบคุมความลับ ทางการค้าอันเป็นข้อเท็จจริงที่ตามปกติวิสัยจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผย ซึ่งตนได้มาหรือล่วงรู้ เนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงเจ็ดปี หรือปรับ ตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการ หรือเพื่อประโยชน์ในการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี
ผู้ใดได้มาหรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงใดจากบุคคลตามวรรคหนึ่งเนื่องในการปฏิบัติ ราชการหรือการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี แล้วเปิดเผยข้อเท็จจริงนั้น ต้องระวางโทษ เช่นเดียวกัน
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิด ของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการ การกระทำ หรือไม่สั่งการหรือไม่กระทำการอันเป็น หน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซี่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของ นิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๓๗ ความผิดตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ เป็นความผิดอันยอมความได้
มาตรา ๓๘ ความผิดตามมาตรา ๓๓ และมาตรา ๓๗ คณะกรรมการ มีอำนาจเปรียบเทียบได้ และในการนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ อธิบดี พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการเปรียบเทียบได้ โดยจะกำหนด หลักเกณฑ์ในการเปรียบเทียบหรือเงื่อนไขประการใด ๆ ให้แก่ผู้รับมอบหมายตามที่เห็น สมควรด้วยก็ได้
ภายใต้บังคับวรรคหนึ่ง ในการสอบสวน ถ้าพนักงานสอบสวน พบว่าบุคคลใด กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบ ให้พนักงานสอบสวน ส่งเรื่องมายังคณะกรรมการหรือผู้ซึ่งคณะกรรมการมอบหมายให้เปรียบเทียบตามวรรคหนึ่ง ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้กระทำความผิดไม่ยินยอมตามที่เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ดำเนินคดีต่อไป
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๓๙ พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเปิดเผย เอาไป หรือใช้ซึ่ง ความลับทางการค้าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
สินค้าซึ่งผลิต นำเข้า หรือส่งออกก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเป็นสินค้าที่ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ ให้ผู้ครอบครองขายหรือส่งออกได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีนโยบายในการส่งเสริมการประกอบธุรกิจให้เป็นไปอย่างเสรีและป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ ประกอบกับกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของประเทศไทยยังไม่ครอบคลุมถึงความรับผิดในการละเมิดความลับทางการค้า จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้