เครื่องหมายการค้า : พระราชบัญญัติ

เครื่องหมายการค้า : พระราชบัญญัติ

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – บทเฉพาะกาล

บทเฉพาะกาล มาตรา 117 เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พุทธศักราช 2474 และยังคงจดทะเบียนอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ถือว่าเป็น เครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 118 ให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะได้มีคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา 119 บรรดาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำขอจดทะเบียน คำขอจดทะเบียนการเปลี่ยนแปลงข้อความที่ได้จดทะเบียนแล้ว คำขอจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า และคำขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้แล้วตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ถ้าก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (1) นายทะเบียนยังมิได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวให้ถือว่าเป็นคำขอ ที่ได้ยื่นตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ดำเนินการเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวตามพระราชบัญญัตินี้ (2) นายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอดังกล่าวแล้ว การดำเนินการ เกี่ยวกับคำขอดังกล่าวให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด มาตรา 120 การขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ซึ่งเจ้าของได้ขอจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกใดจำพวก หนึ่งทั้งจำพวก ให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าระบุรายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความคุ้มครองแต่ละ อย่างโดยชัดแจ้ง ในกรณีดังกล่าวนี้ให้นำมาตรา 9 มาใช้บังคับโดยอนุโลม มาตรา 121 การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียน และการคัดค้านการจดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ที่ค้างพิจารณาอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ ใช้บังคับให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 จนกว่าจะถึงที่สุด มาตรา 122 กำหนดเวลาในการอุทธรณ์ กำหนดเวลาในการคัดค้านการจดทะเบียน กำหนดเวลาให้ผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำโต้แย้งที่อาศัยเป็นหลักในการขอจดทะเบียน และกำหนดเวลา การแจ้งให้นายทะเบียนทราบว่าผู้ขอจดทะเบียนได้ตกลงกันแล้วหรือได้นำคดีไปสู่ศาลแล้วตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ถ้ายังมิได้สิ้นสุดลงก่อนวันที่พระราชบัญญัติ นี้ใช้บังคับ ให้เริ่มนับกำหนดเวลาดังกล่าวใหม่ตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นต้นไป มาตรา 123 บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พุทธศักราช 2474 ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ อานันท์ ปันยารชุน …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – บทเฉพาะกาล Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 6 บทลงโทษ

หมวด 6 บทกำหนดโทษ มาตรา 107 บุคคลใดยื่นคำขอ คำคัดค้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการขอจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียน การต่ออายุการจดทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม หรือการอนุญาตให้ ใช้เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการ โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่นายทะเบียนหรือ คณะกรรมการ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 108 บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 109 บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่า เป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 110 บุคคลใด (1) นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียน เครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 หรือ (2) ให้บริการหรือเสนอให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือ เครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา 108 หรือที่เลียนเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองหรือ เครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นตามมาตรา 109 ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ มาตรา 111 บุคคลใด …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 6 บทลงโทษ Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 5 เบ็ดเตล็ด

หมวด 5 เบ็ดเตล็ด มาตรา 103 ในระหว่างเวลาทำการ บุคคลใด ๆ มีสิทธิมาตรวจดูทะเบียนเครื่องหมาย การค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองและเครื่องหมายร่วม สารบบเครื่องหมายดังกล่าว ขอคัดสำเนาหรือขอให้รับรองสำเนาเอกสาร หรือขอคำรับรองจากทะเบียนเกี่ยวกับรายการจดทะเบียน โดยเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 104 หนังสือเรียก หนังสือแจ้ง หรือหนังสืออื่นใด ที่มีถึงผู้ขอจดทะเบียน ผู้คัดค้าน เจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม ที่ได้จดทะเบียนแล้ว ผู้ได้รับอนุญาตหรือบุคคลอื่นใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่ง โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ สำนักงานหรือสถานที่ที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนหรือที่ได้ จดทะเบียนไว้แล้วแต่กรณี ถ้าไม่สามารถส่งตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งได้ จะให้เจ้าพนักงานนำหนังสือนั้นไปส่งหรือจะ ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอีกครั้งหนึ่งก็ได้ ในกรณีที่ให้เจ้าพนักงานนำหนังสือนั้นไปส่ง ถ้าไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในสำนักงานหรือสถานที่ ดังกล่าวหรือจะปิดหนังสือนั้นไว้ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงานหรือสถานที่ดังกล่าวของผู้รับนั้นก็ได้ เมื่อได้ส่งตามวิธีการดังกล่าวในวรรคสองและเวลาได้ล่วงพ้นไปเจ็ดวันแล้ว ให้ถือว่าบุคคลนั้น ได้รับหนังสือนั้นแล้ว มาตรา 105 เพื่อประโยชน์ในการฟ้องร้องและดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมตามพระราชบัญญัตินี้ ถ้าผู้ขอจดทะเบียน หรือเจ้าของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วม มิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ให้ถือว่าสำนักงานหรือสถานที่ของบุคคลดังกล่าวหรือตัวแทน ตามที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียนหรือที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นภูมิลำเนาของบุคคลดังกล่าว …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 5 เบ็ดเตล็ด Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 4 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

หมวด 4 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า [15] มาตรา 95 ให้มีคณะกรรมการเรียกว่า “คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า” ประกอบด้วยอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน อัยการสูงสุดหรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความสามารถด้านกฎหมายหรือการพาณิชย์ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาหรือเครื่องหมายการค้าไม่น้อยแปดคน แต่ไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เป็นกรรมการ การแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องแต่ตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสาม ของจำนวนกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง คณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ ([15] มาตรา 95 แก้ไขโดยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ) [16] มาตรา 96 6 คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ (2) พิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม หรือสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการตามพระราชบัญญัตินี้ ([16] มาตรา 96 (2) แก้ไขโดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 (3) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตาม พระราชบัญญัตินี้ (4) พิจารณาเรื่องอื่น ๆ ตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา 97 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสี่ปี ในกรณีที่มีการแต่งตั้งกรรมการในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งเพิ่มขึ้นหรือแต่งตั้งซ่อม ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือ อยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วนั้น กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ มาตรา 98 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 97 กรรมการซึ่งคณะ รัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก (4) เป็นบุคคลล้มละลาย (5) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ [17] มาตรา 99 การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ จำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อยู่ในที่ประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการ …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 4 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 3 เครื่องหมายร่วม

หมวด 3 เครื่องหมายร่วม มาตรา 94 ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายร่วม โดยอนุโลม เว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 1 ส่วนที่ 5

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 2 เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายรับรอง

หมวด 2 เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายรับรอง มาตรา 80 ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายบริการ โดยอนุโลม และให้คำว่า “สินค้า” ในบทบัญญัติดังกล่าวหมายความถึง “บริการ” มาตรา 81 เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในหมวดนี้ ให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับ เครื่องหมายการค้ามาใช้บังคับแก่เครื่องหมายรับรองโดยอนุโลม มาตรา 82 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้น นอกจากจะต้องเป็นไปตาม บทบัญญัติว่าด้วยการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนจะต้อง (1) ยื่นข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นพร้อมกับคำขอจดทะเบียนด้วย และ (2) แสดงได้ว่าตนมีความสามารถเพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับตาม (1) ข้อบังคับตาม (1) ต้องระบุถึงแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพ หรือ คุณลักษณะอื่นใดของสินค้าหรือบริการที่จะรับรอง ตลอดจนหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ในการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองนั้น มาตรา 83 นายทะเบียนอาจมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองตามที่นายทะเบียนเห็นสมควรภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนื้ให้นำมาตรา 18 และมาตรา 19 มาใช้บังคับแก่การอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนโดย อนุโลม มาตรา 84 ถ้านายทะเบียนเห็นว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองไม่มีความสามารถ เพียงพอที่จะรับรองคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมาย รับรองนั้น หรือเห็นว่าการรับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ให้ นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายรับรองนั้นและมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 18 และมาตรา 19 มาใช้บังคับแก่การอุทธรณ์ คำสั่งของนายทะเบียนโดยอนุโลม มาตรา 85 ในการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายรับรอง ให้นายทะเบียน ระบุถึงสาระสำคัญของข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นด้วย มาตรา 86 เจ้าของเครื่องหมายรับรองที่ได้จดทะเบียนแล้วจะขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ ว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองนั้นก็ได้ แต่จะต้องไม่เป็นการกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ของ สาธารณชน การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 – หมวดที่ 2 เครื่องหมายบริการและเครื่องหมายรับรอง Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 5 การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แก้ไข

ส่วนที่ 5 การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า มาตรา 68 เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนจะทำสัญญาอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่างก็ได้ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน การขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตดังกล่าวตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่คำขอจดทะเบียนนั้นอย่างน้อยต้องแสดงรายการดังต่อไปนี้ (1) เงื่อนไขหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น และผู้ขอจดทะเบียนเป็น ผู้ได้รับอนุญาต ที่จะทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นสามารถควบคุมคุณภาพของสินค้าของผู้ขอ จดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตได้อย่างแท้จริง (2) สินค้าที่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น มาตรา 69 ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 68 จะไม่เป็นการทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย ให้นายทะเบียนมีคำสั่งรับจดทะเบียน สัญญาอนุญาตดังกล่าวโดยจะมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดใดเพื่อประโยชน์ดังกล่าวก็ได้ แต่ถ้านายทะเบียน เห็นว่าสัญญาอนุญาตดังกล่าวจะเป็นการทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด หรือเป็นการขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย ให้นายทะเบียนมี คำสั่งไม่รับจดทะเบียนสัญญาอนุญาตดังกล่าว เมื่อนายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ เจ้าของเครื่องหมายการค้าและผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า ในกรณที่นาย ทะเบียนได้มีคำสั่งรับจดทะเบียนโดยมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดหรือมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียน ให้แจ้ง เหตุผลให้บุคคลดังกล่าวทราบด้วย เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของ นายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของ นายทะเบียน ถ้าไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าคำสั่งของนายทะเบียนเป็นที่สุด คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการตามวรรคสามให้เป็นที่สุด มาตรา 70 การใช้เครื่องหมายการค้าโดยผู้ได้รับอนุญาตสำหรับสินค้าในการประกอบ ธุรกิจของตนตามที่ได้รับอนุญาตไว้ ให้ถือว่าเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าโดยเจ้าของเครื่องหมาย การค้านั้น มาตรา 71 เจ้าของเครื่องหมายการค้าและผู้ได้รับอนุญาตอาจร่วมกันร้องขอต่อนาย ทะเบียน ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า ในส่วน ที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น หรือในส่วนที่เกี่ยวกับเงื่อนไขหรือข้อ จำกัดที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้กำหนดไว้ในสัญญาอนุญาตดังกล่าวได้ …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 5 การอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้า แก้ไข Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 4 การต่ออายุและการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ส่วนที่ 4 การต่ออายุและการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มาตรา 53 การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้มีอายุสิบปีนับแต่วันที่จดทะเบียนตาม มาตรา 42 และอาจต่ออายุได้ตามมาตรา 54 อายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างการ ดำเนินคดีทางศาลตามมาตรา 38 ด้วย มาตรา 54 เจ้าของเครื่องหมายการค้าใดประสงค์จะต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้าของตน ให้ยื่นคำขอต่ออายุต่อนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอ ต่ออายุภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นยังคงจดทะเบียนอยู่จนกว่า นายทะเบียนจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น การขอต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฏกระทรวง มาตรา 55 ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง และนายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 54 วรรคสอง ให้นายทะเบียนต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้านั้นอีกสิบปีนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนเดิมหรือนับแต่วันสิ้นอายุการจดทะเบียนที่ได้ต่อไว้ ครั้งสุดท้าย แล้วแต่กรณี ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 54 วรรคหนึ่งแต่นายทะเบียนเห็นว่าการขอต่ออายุไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดใน กฎกระทรวงตามมาตรา 54 วรรคสองให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้นและมีหนังสือแจ้งคำสั่ง ให้เจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นทราบโดยไม่ชักช้า ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นมิได้ ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามีเหตุจำเป็น จนไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในกำหนดเวลาตามวรรคสองได้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งขยายกำหนดเวลาดังกล่าวออกไปได้ตามความจำเป็นแก่กรณี มาตรา 56 ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายการค้ามิได้ยื่นคำขอต่ออายุภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเครื่องหมายการค้านั้นได้ถูกเพิกถอนการจดทะเบียนแล้ว มาตรา 57 เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอาจร้องขอต่อนายทะเบียนให้ สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนเองได้ แต่ในกรณีที่มีการจดทะเบียนสัญญา อนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้น การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นต้องได้รับ ความยินยอมจากผู้ได้รับอนุญาตด้วย เว้นแต่สัญญาอนุญาตดังกล่าวจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น การขอเพิกถอนการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง มาตรา 58 ในกรณีที่ปรากฏต่อนายทะเบียนว่า เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียน แล้วฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอื่นที่นายทะเบียนกำหนดในการรับจดทะเบียน เครื่องหมายการค้านั้น …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 4 การต่ออายุและการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Read More »

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ส่วนที่ 3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มาตรา 48 สิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้แล้ว ย่อมโอน หรือรับ มรดกกันได้ ในกรณีที่มีการโอนสิทธิในคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้โอนหรือผู้รับโอนแจ้งให้ นายทะเบียนทราบก่อนการจดทะเบียน ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนตาย ให้ทายาทคนหนึ่งคนใดหรือผู้จัดการมรดกแจ้งให้นายทะเบียน ทราบก่อนการจดทะเบียน เพื่อดำเนินการรับมรดกสิทธิในคำขอจดทะเบียนนั้นต่อไป การโอนหรือการรับมรดกสิทธิในคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 49 สิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วย่อมโอนหรือรับมรดกกันได้ ทั้งนี้จะเป็นการโอนหรือรับมรดกพร้อมกับกิจการที่เกี่ยวกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ได้ มาตรา 50 เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นเครื่องหมายชุดนั้น จะโอนหรือรับ มรดกกันได้ ต่อเมื่อเป็นการโอนหรือรับมรดกกันทั้งชุด มาตรา 51 การโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วต้อง จดทะเบียนต่อนายทะเบียน การขอจดทะเบียนการโอนหรือการรับมรดกสิทธิในเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง ให้เป็น ไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 52 เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วอาจขอให้นายทะเบียนแก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนได้เฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) ยกเลิกรายการสินค้าบางอย่างที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว (2) ชื่อ สัญชาติ ที่อยู่ และอาชีพของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นและของตัวแทน ถ้ามี (3) สำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้ (4) รายการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 2 การรับจดทะเบียนและผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

ส่วนที่ 2 การรับจดทะเบียนและผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า [8] มาตรา 29 เมื่อนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใด ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น การประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียน ให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ([8] มาตรา 29 แก้ไขโดยมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 ) มาตรา 30 เมื่อนายทะเบียนได้มีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้ารายใดตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง แล้ว หากปรากฏแก่นายทะเบียนในภายหลังว่า เครื่องหมาย การค้ารายนั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 ก็ดีหรือการขอจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้ารายนั้นไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ อันจำเป็นจะต้องเพิกถอนคำสั่งให้ ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นก็ดี ถ้ายังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมาย การค้ารายนั้น ให้นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอ จดทะเบียนทราบพร้อมด้วยเหตุผลโดยไม่ชักช้า ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนตามวรรคหนึ่งหลังจากที่ได้มีการประกาศโฆษณา คำขอจดทะเบียนตามมาตรา 29 แล้ว ให้ประกาศโฆษณาคำสั่งเพิกถอนนั้นด้วยตามวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง [9] มาตรา 31 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียนตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนมิได้อุทธรณ์คำสั่งตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนได้อุทธรณ์คำสั่งตามวรรคหนึ่งแล้ว และคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งของนายทะเบียนถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียนดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนดังกล่าวต่อไปได้ ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียน (๑) ดำเนินการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นต่อไป ในกรณีที่นายทะเบียนได้มีคำสั่งเพิกถอนตามมาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง ก่อนที่จะมีการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา ๒๙ (๒) ดำเนินการประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นใหม่ ในกรณีที่ได้มีการประกาศโฆษณาคำสั่งเพิกถอนของนายทะเบียนตามมาตรา ๓๐ วรรคสองแล้ว คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการตามวรรคสองหรือวรรคสามให้เป็นที่สุด” ([9] มาตรา 31 แก้ไขโดยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543) มาตรา 32 ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนตามมาตรา 30 หลังจากที่ได้มีการคัดค้าน ตามมาตรา 35 แล้วให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งเพิกถอนนั้นให้ผู้คัดค้านทราบโดยไม่ชักช้า [10] มาตรา 33 ในกรณีตามมาตรา ๓๒ ถ้านายทะเบียนยังมิได้มีคำวินิจฉัยคำคัดค้านนั้น ให้รอการวินิจฉัยไว้ก่อน …

กฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 : หมวดที่ 1 เครื่องหมายการค้า – ส่วนที่ 2 การรับจดทะเบียนและผลแห่งการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Read More »

Scroll to Top