สิทธิบัตร

สิทธิบัตร

ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – แนวปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตร

แนวปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตร คู่มือปฏิบัติงานมีเพื่อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายแก่เจ้าหน้าที่ตามระบบโครงสร้างใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา แนะแนวหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องการให้บริการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถสอนเจ้าหน้าที่ภายในสำนักเครื่องหมายการค้าในขณะปฏิบัติงานได้ จัดเตรียมกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานอื่นของรัฐ 1. การให้บริการของสำนักสิทธิบัตร ให้คำปรึกษา แนะนำ และบริการเกี่ยวกับการขอรับความคุ้มครองตามกฎหมายสิทธิบัตร และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินการตรวจรับคำขอรับสิทธิบัตรให้เป็นไปตามกฎหมายสิทธิบัตร ดำเนินการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรเบื้องต้น ดำเนินการจัดจำแนกประเภทหมวดหมู่ของสิทธิบัตรตามระบบสากล ( IPC หรือ IDC) ดำเนินการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร ดำเนินการสรุปสำนวนคำคัดค้าน คำโต้แย้ง พร้อมชี้ประเด็นที่จะต้องพิจารณา และพิจารณาให้คำวินิจฉัย กรณีคัดค้านโต้แย้ง ดำเนินการตรวจค้นสืบหาเอกสารที่เป็นงานปรากฏอยู่แล้ว ดำเนินการตรวจสอบความใหม่และขั้นตอนการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ดำเนินการให้บริการเกี่ยวกับการออกหนังสือรับรอง และจัดทำสำเนาเอกสารทางทะเบียน ให้ความรู้ คำปรึกษา และแนะแนวการปฏิบัติงานของข้าราชการและลูกจ้างที่อยู่ในลำดับชั้น ให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จัดสัมมนาหรือฝึกอบรมให้ความรู้ทางด้านสิทธิบัตรแก่ตัวแทนสิทธิบัตร 2. ผู้ใช้บริการ ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ ผู้ประดิษฐ์ มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและพัฒนา ความรู้ในด้านทรัพย์สินทางปัญญา การจัดเตรียมคำขอรับสิทธิบัตร ขั้นตอนการดำเนินการขอรับสิทธิบัตร แนวทางในการตรวจค้นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว สิทธิในการคุ้มครองและระยะเวลาให้ความคุ้มครอง การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิ พาณิชย์จังหวัด หนังสือประกาศโฆษณาสิทธิบัตร ระบบสิทธิบัตร สำนักงานพาณิชย์ต่างประเทศ สถานทูต สำนักงานสิทธิบัตรต่างประเทศ หนังสือประกาศโฆษณาสิทธิบัตร ผู้ส่งออก ความรู้เรื่องสิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ในเรื่องการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ต้องการทราบถึงสิ่งที่มีอยู่ในห้องสมุดเพื่อบริการประชาชน …

ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – แนวปฏิบัติงานด้านสิทธิบัตร Read More »

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – บทนำ

บทนำ คำว่า “สิทธิบัตร” อาจจะเป็นคำใหม่ที่หลายท่านไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจความหมาย และหลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า สิทธิบัตรอยู่ใกล้ๆ ตัวเรานี่เอง สิทธิบัตร เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของทุกๆ คนเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของหรือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน นับ ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนหรือแม้กระทั่งเวลานอนหลับบนที่นอน เรียกได้ว่าตลอด 24 ชั่วโมงเลยที่เดียว หรือแม้แต่เครื่องจักร เครื่องยนต์ใหญ่ๆ หรือเครื่องจักรที่มีความสลับซับซ้อนที่ใช้ในกิจการต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นผลที่ได้จากการประดิษฐ์คิดค้นทั้งสิ้น ถ้าจะสังเกตุให้ดี บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะที่ใช้บรรจุสินค้าจะเห็นคำว่า “สิทธิบัตรไทย หรือ สบท.” หรือคำที่เป็นภาษาอังกฤษคำว่า “PATENT หรือ PAT” สิทธิบัตร เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าต่างๆ ที่มีประโยชน์แก่มนุษย์มีความสะดวกสบาย และมีความปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้น เมื่อสินค้าที่มีประโยชน์และเป็นที่ต้องการของตลาด สิทธิบัตรที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้านั้นย่อมมีราคาถูก การประดิษฐ์คิดค้นบางอย่างมีมูลค่ามากมายมหาศาล เช่น ทีวี ตู้เย็น วิทยุ หรือแม้แต่ที่เรียกกันว่า “เทปขน”ที่ใช้ประกอบกับรองเท้า ผ้าอ้อมเด็กหรือเครื่องใช้อื่นๆ เป็นต้น ที่สามารถขายได้ทั่วโลกคิดเป็นมูลค่ามหาศาล เมื่อสิทธิบัตรเกี่ยวพันกับผลประโยชน์ในทางการค้า หลายประเทศจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น ได้พยายามที่จะเจรจาต่อรองให้ประเทศคู่ค้าของตนให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น หรืออาจพูดได้ง่ายๆ ว่า ไม่ต้องการให้มีสินค้าที่ลอกเลียนแบบสินค้าที่ได้รับสิทธิบัตรที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศคู้ค้านั้น ๆ ในการเจรจาทางการค้าเกี่ยวกับสิทธิพิเศษทางศุลกากร ที่เรียกกันว่า “แกตต์” ซึ่งเป็นการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศ ได้หยิบยกเรื่องการให้ความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรมาเป็นส่วนหนึ่งในการเจรจา ซึ่งได้มีการประชุมเจรจากันที่เรียกว่า “การเจรจารอบอุรุกวัย” ซึ่งมีผลให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต้องให้ความคุ้มครองด้านสิทธิบัตรอย่างเท่าเทียมกัน …

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – บทนำ Read More »

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – ความเป็นมา

ความเป็นมา ในต่างประเทศ ได้มีการให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นในรูปของสิทธิพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการพระราชทานโดยกษัตริย์ เป็นสิทธิบัตรที่ออกให้สำหรับเทคโนโลยีใหม่ในสมัยนั้น เช่น กังหันลม เครื่องจักรทอผ้า วิธีการต่อเรือและการทำเหมืองแร่ เป็นต้น กฎหมายสิทธิบัตรที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของโลก คือกฎหมายของสาธารณรัฐเวนิช ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2017 ในช่วงคริสตศวรรษที่ 13 – 16 กษัตริย์อังกฤษได้ทรงให้การส่งเสริมและสนับสนุนแก่ผู้ประกอบกิจการค้า รวมทั้งผู้ที่ได้ประดิษฐ์คิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ โดยพระราชทานสิทธิพิเศษแก่บุคคลเหล่านั้น แต่ผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษกลับใช้สิทธิจนเกินขอบเขต เช่น กำหนดราคาสินค้าสูงมากและผลิตสินค้าน้อยจนประชาชนเดือดร้อน ปี พ.ศ. 2166 รัฐสภาอังกฤษได้ผ่านกฎหมายว่าด้วยการผูกขาดซึ่งถือได้ว่าเป็นกฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรกของอังกฤษ โดยได้ยกเลิกสิทธิผูกขาดอื่นๆ ทั้งหมด ยกเว้นสิทธิพิเศษสำหรับผู้ประดิษฐ์คิดค้นสินค้าใหม่ในการที่จะผลิตสิ่งนั้นชั่วระยเวลาหนึ่ง สหรัฐอเมริกา ได้ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประดิษฐ์ตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ จนปี พ.ศ. 2333 สภาครองเกรสได้ออกกฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรก พร้อมทั้งจัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลเพื่อบริหารงานตามกฎหมายนี้ ญี่ปุ่น ได้มีการประกาศใช้กฎหมายสิทธิบัตรฉบับแรกเมื่อปี พ.ศ. 2414 การพัฒนาอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นได้อาศัยระบบสิทธิบัตรเป็นพื้นฐานมาโดยตลอด เช่น นายซาคาชิ โตโยดะ ผู้ก่อตั้งบริษัทโตโยต้า โดยอาศัยเงินทุนจากการขายสิทธิบัตรเกี่ยวกับหูกทอผ้าให้แก่บริษัทอังกฤษเป็นเงิน 100,000 ปอนด์ ญี่ปุ่นได้พัฒนาระบบสิทธิบัตรมาโดยตลอด จนถึงปัจจุบันนับได้ว่าระบบสิทธิบัตรของญี่ปุ่นเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในโลก โซเวียต เมื่อครั้งยังเป็นสหภาพโซเวียต ได้มีกฎหมายสิทธิบัตรปี พ.ศ. 2439 ต่อมาในช่วงสงครามปฏิวัติจะสิ้นสุดลง เลนินได้ลงนามในกฎหมายแห่งสภาประชาชน ว่าด้วยการประดิษฐ์ ซึ่งกำหนดให้รัฐมีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองและใช้ผลงานจากการประดิษฐ์ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวม กฎหมายสิทธิบัตรของสหภาพโซเวียตฉบับที่ประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2516 นับเป็นกฎหมายแม่แบบของประเทศสังคมนิยมอื่นๆ ประเทศไทย ได้มีความพยายามที่จะออกกฎหมายสิทธิบัตรมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 โดยคาดว่าได้มีการยกร่างกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “Law on …

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – ความเป็นมา Read More »

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – สิทธิบัตรคืออะไร

สิทธิบัตรคืออะไร จากลักษณะของสิทธิบัตรดังกล่าวข้างต้น อาจให้คำนิยามของ “สิทธิบัตร” ได้เป็นสองความหมาย ดังนี้ สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครอง การประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด สิทธิบัตร หมายถึง สิทธิพิเศษที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าของสิทธิบัตรมีสิทธิเด็ดขาดหรือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการแสวงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น เช่น การผลิตและจำหน่าย เป็นต้น และสิทธิที่ว่านี้จะมีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาที่จำกัดช่วงหนึ่งเท่านั้น จากคำนิยามข้างต้น สิทธิบัตรจะเกี่ยวข้องกับ การประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะ องค์ประกอบ โครงสร้าง หรือกลไกของผลิภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้ดีขึ้นหรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิมการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่าง ลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ ที่แตกต่างไปจากเดิม

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช เนื่องจากเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เนื่องจากเป็นเพียงหลักเกณฑ์ทางธรรมชาติเท่านั้น การคิดค้นขึ้นมาได้ถือว่าเป็นการค้นพบเท่านั้น ซึ่งคนอื่นๆ อาจจะค้นพบสิ่งเดียวกันได้เช่นกัน เช่นทฤษฎีพลังงานนิวเคลียร์ของไอน์สไตน์ที่ว่า E = mc2 เป็นต้น ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ ซอฟท์แวร์ ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์อยู่แล้ว การประดิษฐ์ บำบัด หรือการรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ เนื่องจากถ้ามีการให้ความคุ้มครอง อาจจะมีผลกระทบต่อชีวิตของมนุษย์ หรือสัตว์ โดยตรง การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ 2 ประการ คือ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่ออุตสาหกรรมหรือหัตถกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ พ.ร.บ.สิทธิบัตร ไม่ได้ให้คำนิยามไว้โดยตรงว่ากาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่คืออะไร หรือมีลักษณะอย่างไร เพียงแต่ระบุถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ใหม่ไว้ 4 ประเภทดังนี้ แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้ว คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ มีการใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างแพร่หลายอยู่แล้วในประเทศก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ตัวอย่างเช่น ผู้ออกแบบได้นำผลิตภัณฑ์นั้นไปผลิตผลิตภัณฑ์และวางขายจำหน่าย ก่อนที่จะยื่นขอรับสิทธิบัตร ก็ถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดในเอกสาร หรือ สิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร ถือว่าไม่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเปิดเผยต่อสาธารณชนโดยวิธี ในลักษณะอื่น เช่น การนำแบบผลิตภัณฑ์ออกแสดงในนิทรรศการ หรือการประชุมการวิชาการ เป็นต้น แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการประกาศโฆษณามาก่อนวันขอรับสิทธิบัตร คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรในประเทศไทย และได้มีการพิมพ์ประกาศโฆษณาแล้วกฎหมายถือว่าไม่ใช่การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ประเภทที่ (1)- (3) มากจนเห็นได้ว่า เป็นการเลียนแบบ คือแบบผลิตภัณฑ์ที่แม้จะไม่เหมือนกับแบบผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ทุกกประการ แต่มีสาระสำคัญเหมือนหรือคล้ายกันมากให้ถือว่าไม่ใช่การออกแบบ ผลิตภัณฑ์ใหม่หลักเกณฑ์นี้คล้ายกับหลักเกณฑ์ในเรื่องขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นซึ่งเป็น ลักษณะหนึ่งของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ พ.ร.บ.สิทธิบัตร บัญญัติว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตัวอย่างเช่นแบบผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างลักษณะลามกอนาจาร หรือเป็นการแสดงความ ไม่เคารพ หรือล้อเลียนวัตถุที่ประชาชนทั่วไปนับถือ เช่น ใช้พระพุทธเป็นฐาน ของที่เขี่ยบุหรี่ เป็นต้น …

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ Read More »

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ * แบบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ * แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน * แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา (ยังไม่มีการกำหนด) * แบบผลิตภัณฑ์ที่เหมือนหรือคล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ตามข้อข้างต้น

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – ผู้ที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร

ผู้ที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร * ผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์คิดค้น * ผู้รับโอนสิทธิจากผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ * นายจ้างของผู้ประดิษฐ์ / ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์  

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร -ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตร

ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตร โดยทั่วๆไป สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่มีผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งก็คือสิทธิบัตรนั่นเอง นอกจากจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่อำนวยความสะดวกต่างๆ แล้วยังก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นด้วย เช่น ยารักษาโรคต่างๆ เป็นต้น ดังจะเห็นได้จาก เครื่องกลเติมอากาศหรือกังหันน้ำชัยพัฒนา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์คิดค้น เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียและใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพของบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อสุขภาพและอนามัยของประชาชนให้ดีขึ้น การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จะทำให้ประชาชนได้รับแต่สิ่งที่ดี มีคุณภาพสูงขึ้นมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและให้ความปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้นนอกจากนี้สิทธิบัตรยังเป็นแหล่งข้อมูล ที่เป็นความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงการผลิต ปรับปรุงคุณภาพของสินค้า ลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาทางเทคโนโลยีให้สูงขึ้นลดการนำเข้า หรือพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ดังนั้น ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตรสามารถสรุปได้ดังนี้ * ด้านสังคม ประชาชนมีสิ่งของเครื่องใช้ที่มีประโยชน์มีความสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น * ผู้ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จะได้รับผลตอบแทนจากสังคมคือ การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตร สามารถที่จะนำการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรนั้นไปผลิต จำหน่าย นำเข้ามาในราชอาณาจักร หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้น โดยได้รับค่าตอบแทนเนื่องจากผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบได้ใช้สติปัญญาและความพยายามของตน รวมทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่จะมีประโยชน์แก่มนุษย์ นับเป็นสิทธิตามธรรมชาติของผู้ประดิษฐ์คิดค้น อันเป็นการจูงใจ และกระตุ้นให้นักประดิษฐ์คิดค้นมีกำลังใจและมีความมั่นใจในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั้น * สามารถนำข้อมูลจากสิทธิบัตรที่กำหนดให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้น ต้องเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้น ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้า วิจัยและพัฒนาต่อไปได้ส่งผลให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้สูงขึ้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการผลิตสินค้า ลดต้นทุนการผลิตสินค้า …

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร -ประโยชน์ที่จะได้รับจากสิทธิบัตร Read More »

ความรู้ทัวไปเรื่องสิทธิบัตร – อายุสิทธิบัตร

อายุสิทธิบัตร * สิทธิบัตรการประดิษฐ์ มีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร * สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันขอรับสิทธิบัตร

Scroll to Top