หมวด 1 เครื่องหมายการค้า
ส่วนที่ 1 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
มาตรา 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้ ต้องประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ และ
(3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่บุคคลอื่นได้จดทะเบียน ไว้แล้ว
[3] มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจาก สินค้าอื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นสาระสำคัญต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
(๑) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ และไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
(๒) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(๓) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ หรือตัวหนังสือ ตัวเลข หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น
(๔) ลายมือชื่อของผู้จดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว
(๕) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้นถ้ามี แล้ว
(๖) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือ
โฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
([3] มาตรา 7 วรรคสอง แก้ไขโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 )
[4] มาตรา 8 เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ห้ามมิให้รับจดทะเบียน
(๑) ตราแผ่นดิน พระราชลัญจกร ลัญจกรในราชการ ตราจักรี ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตราประจำตำแหน่ง ตราประจำกระทรวง ทบวง กรม หรือตราประจำจังหวัด
(๒) ธงชาติของประเทศไทย ธงพระอิสริยยศ หรือธงราชการ
(๓) พระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อ พระนามาภิไธยย่อ หรือนามพระราชวงศ์
(๔) พระบรมฉายาลักษณ์ หรือพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี หรือรัชทายาท
(๕) ชื่อ คำ ข้อความ หรือเครื่องหมายใด อันแสดงถึงพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือพระราชวงศ์
(๖) ธงชาติหรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ ธงหรือเครื่องหมายขององค์การระหว่างประเทศ ตราประจำประมุขของรัฐต่างประเทศ เครื่องหมายราชการและเครื่องหมายควบคุมและรับรองคุณภาพสินค้าของรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศหรือชื่อและชื่อย่อของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศนั้น
(๗) เครื่องหมายราชการ เครื่องหมายกาชาด นามกาชาด หรือกาเจนีวา
(๘) เครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรองประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายอื่นใดอันได้รับเป็นรางวัลในการแสดงหรือประกวดสินค้าที่รัฐบาลไทย ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐของประเทศไทย รัฐบาลต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศได้จัดให้มีขึ้น เว้นแต่ผู้ขอจดทะเบียนจะได้รับเหรียญ ใบสำคัญ หนังสือรับรอง ประกาศนียบัตร หรือเครื่องหมายเช่นว่านั้น เป็นรางวัลสำหรับสินค้านั้น และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้านั้น แต่ทั้งนี้ ต้องระบุปีปฏิทินที่ได้รับรางวัลด้วย
(๙) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือรัฐประศาสโนบาย
(๑๐) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือคล้ายกับเครื่องหมายดังกล่าว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ก็ตาม
(๑๑) เครื่องหมายที่คล้ายกับ (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) หรือ (๗)
(๑๒) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
(๑๓) เครื่องหมายอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด”
([4] มาตรา 8 แก้ไขโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 )
มาตรา 9 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าเฉพาะ
อย่างในจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันก็ได้ แต่ต้องระบุรายการสินค้าที่ประสงค์จะได้รับความ
คุ้มครองแต่ละอย่างโดยชัดแจ้ง
คำขอจดทะเบียนฉบับหนึ่ง จะขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าต่างจำพวกกันมิได้
การกำหนดจำพวกสินค้า ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา 10 เครื่องหมายการค้าอันพึงรับจดทะเบียนได้นั้น ผู้ขอจดทะเบียนเพื่อเป็นเจ้าของ
เครื่องหมายการค้านั้นหรือตัวแทน ต้องมีสำนักงานหรือสถานที่ที่นายทะเบียนสามารถติดต่อได้ตั้งอยู่
ในประเทศไทย
[5] มาตรา 11 การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้า หากคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นไปตามที่กำหนดในอนุสัญญา หรือความตกลงระหว่างประเทศดังกล่าว ให้ถือว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัตินี้
([5] มาตรา 11 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543)
มาตรา 12 ในการพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้นายทะเบียนมีอำนาจ
ดังต่อไปนี้
(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกผู้ขอจดทะเบียน มาให้ถ้อยคำ หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ
หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเกี่ยวกับการขอจดทะเบียน เพื่อตรวจสอบหรือเพื่อประกอบการ
พิจารณาได้
(2) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแปลเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับการขอจดทะเบียนที่
เป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ให้เสร็จและส่งภายในกำหนดเวลาที่เห็นสมควร
(3) เชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ หรือความเห็น
หากผู้ขอจดทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตาม (1) หรือ (2) โดยไม่มีเหตุ
อันสมควรให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
มาตรา 13 ภายใต้บังคับมาตรา 27 ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น
นายทะเบียนเห็นว่า
(1) เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียน
ไว้แล้ว หรือ
(2) เป็นเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียน
ไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของ
สินค้า
ถ้าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียว หรือต่างจำพวกกัน
ที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน ห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน
มาตรา 14 ในกรณีที่เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้น จะใช้สำหรับสินค้าจำพวก
เดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมาย
การค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หรือที่อยู่ในระหว่างการขอจดทะเบียนจาก
เจ้าของเดียวกัน ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเหมือนกันหรือคล้ายกันจนถึง
กับว่า ถ้าหากบุคคลอื่นจะเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว ก็อาจจะเป็นการทำ
ให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ให้
นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายชุด และมีหนังสือแจ้ง
คำสั่งให้ผู้จดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา 15 ถ้านายทะเบียนเห็นว่า
(1) ส่วนหนึ่งส่วนใดอันมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนรายใดไม่มี
ลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 หรือ
(2) การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายใดไม่ชอบด้วยมาตรา 9 หรือมาตรา 10
หรือไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา 11
ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูก
ต้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่
ชักช้า
มาตรา 16 ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนรายใดทั้งเครื่องหมาย
หรือส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน
ได้ตามมาตรา 6 ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้น และมีหนังสือแจ้ง
คำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า
มาตรา 17 ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียนรายใดหากพิจารณา
ทั้งเครื่องหมายแล้ว มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 แต่เครื่องหมายการค้ารายนั้น มีส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายส่วน เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือ บางจำพวกอันไม่ควรให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวก็ดี หรือมีลักษณะ ไม่บ่งเฉพาะก็ดี ให้นายทะเบียนมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธว่า ไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้
ส่วนดังกล่าวของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
(2) สั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแสดงปฏิเสธอย่างอื่น ตามที่นายทะเบียนเห็นว่าจำเป็นต่อการ
กำหนดสิทธิจากการจดทะเบียนของเจ้าของเครื่องหมายการค้ารายนั้น ทั้งนี้ ภายในเก้าสิบวันนับแต่
วันที่ได้รับคำสั่งนั้น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนมีอำนาจประกาศกำหนดสิ่งที่
นายทะเบียนเห็นว่า เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าบางอย่างหรือบางจำพวก
ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งตามวรรคหนึ่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอจดทะเบียนทราบ
โดยไม่ชักช้า
มาตรา 18 ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 14 มาตรา 15
มาตรา 16 และมาตรา 17 ต่อคณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งแล้วคำสั่ง
ของนายทะเบียน คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ถ้าคณะกรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 14 ถูกต้องแล้ว
ให้นายทะเบียนดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนรายนั้นต่อไป
ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 15 หรือมาตรา
17 ถูกต้องแล้ว ให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้ รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ
ถ้าคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 14 มาตรา 15
มาตรา 16 หรือมาตรา 17 ไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนรายนั้นต่อไป
มาตรา 19 ถ้าผู้ขอจดทะเบียนมิได้อุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมิได้ปฏิบัติตาม
คำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 15 หรือมาตรา 17 แล้วแต่กรณี หรือถ้าผู้ขอจดทะเบียนได้อุทธรณ์
ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่มิได้ปฏิบัติตามมาตรา 18 วรรคสาม ให้ถือว่าละทิ้งคำขอจดทะเบียน
มาตรา 20 ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 มาตรา 25
มาตรา 26 มาตรา 35 และมาตรา 41 ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนหลายรายต่างยื่นคำขอจดทะเบียน
เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียนเห็นว่าเหมือนกัน หรือที่นายทะเบียนเห็นว่าคล้ายกันจน
อาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ทั้งนี้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน
ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งยื่นคำขอไว้เป็นรายแรกย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับการจดทะเบียนเป็นเจ้าของ
เครื่องหมายการค้านั้น
มาตรา 21 ในบรรดาเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันตามมาตรา 20 นั้น ถ้า
นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นต่างก็เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะอันพึงรับ จดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นต่างก็ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรา 24
และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นทราบโดยไม่ชักช้า
ผู้ขอจดทะเบียนซึ่งเห็นว่าเครื่องหมายการค้าที่ตนขอจดทะเบียนนั้นมิได้เหมือนหรือคล้ายกับ
เครื่องหมายการค้ารายอื่นตามมาตรา 20 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อ
คณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียน ทั้งนี้ ให้นำมาตรา18 และมาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 22 ในบรรดาเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันตามมาตรา 20 นั้น ถ้า
นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าบางรายเข้าข่ายมาตรา 15 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 17 แต่
เครื่องหมายการค้าบางรายมีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 และคำขอจดทะเบียนก็
ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้ารายที่เข้าข่ายมาตรา 15 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 17 ปฏิบัติตามมาตรา 15 หรือมาตรา 17
แล้วแต่กรณีและให้รอการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายที่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้และ
คำขอจดทะเบียนที่ถูกต้องนั้นไว้ก่อน ทั้งนี้ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียน
เหล่านั้นทราบโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา 21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ถ้าปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายที่นายทะเบียนเห็นว่าเข้าข่ายมาตรา 15
(1) หรือ (2) หรือมาตรา 17 ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 15 แล้ว หรือได้อุทธรณ์ตาม มาตรา 18 วรรคหนึ่ง และคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียน มีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนรายนั้นและผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายที่นายทะเบียน ให้รอการจดทะเบียนได้ตามวรรคหนึ่ง ปฏิบัติตามมาตรา 24 และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอ จดทะเบียนเหล่านั้นทราบโดยไม่ชักช้า
ถ้าปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายที่นายทะเบียนเห็นว่าเข้าข่ายมาตรา 15 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 17 ได้ละทิ้งคำขอจดทะเบียนตามมาตรา 19 ทุกราย
(1) ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนรายที่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียน ไว้ตามวรรคหนึ่ง
หลายราย ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรา 24 และมีหนังสือแจ้ง
คำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นทราบโดยไม่ชักช้า
(2) ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนรายที่นายทะเบียนให้รอการจดทะเบียนไว้ตามวรรคหนึ่งเพียง
รายเดียว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นต่อไป
ตามมาตรา 29
มาตรา 23 ในบรรดาเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันตามมาตรา 20 นั้น ถ้า
นายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นทุกรายเข้าข่ายมาตรา 15 (1) หรือ (2) หรือมาตรา 17 ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรา 15 หรือ
มาตรา 17 แล้วแต่กรณี และรอการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหล่านั้นไว้ก่อน ทั้งนื้ ให้นายทะเบียน มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นทราบโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา 21 วรรคสองมาใช้บังคับ โดยอนุโลม
ถ้าปรากฏว่าผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเช่นว่านั้นหลายรายได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ
นายทะเบียนตามมาตรา 15 หรือมาตรา 17 แล้ว หรือได้อุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และคณะ
กรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งของนายทะเบียนไม่ถูกต้องให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ผู้ขอจด
ทะเบียนเหล่านั้นปฏิบัติตามมาตรา 24 และมีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้นทราบโดย
ไม่ชักช้า แต่ถ้าปรากฏว่ามีผู้ขอจดทะเบียนเช่นว่านั้นเพียงรายเดียวที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของ
นายทะเบียนตามมาตรา 15 หรือมาตรา 17 หรือได้อุทธรณ์ตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และ คณะกรรมการมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าคำสั่งของนายทะเบียนไม่ถูกต้อง ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศ
โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายนั้นต่อไปตามมาตรา 29
มาตรา 24 ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของนายทะเบียนตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง มาตรา 22 วรรคสองหรือวรรคสาม (1) หรือมาตรา 23 วรรคสอง ให้ผู้ขอจดทะเบียน ซึ่งได้รับ หนังสือแจ้งคำสั่งดังกล่าวตกลงกันว่าจะให้รายหนึ่งรายใดเป็นผู้ขอจดทะเบียนเป็นเจ้าของ
เครื่องหมายการค้านั้นแต่ผู้เดียว และให้ผู้ขอจดทะเบียนรายหนึ่งรายใดมีหนังสือแจ้งให้นายทะเบียน
ทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวว่าตกลงกันได้หรือไม่
มาตรา 25 ในกรณีที่นายทะเบียนได้รับแจ้งภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ว่า ผู้ขอจด
ทะเบียนตกลงกันได้แล้วว่าจะให้รายใดเป็นผู้ขอจดทะเบียน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณา
คำขอจดทะเบียนของผู้ขอจดทะเบียนรายนั้นต่อไปตามมาตรา 29
ในกรณีที่นายทะเบียนได้รับแจ้งภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 24 ว่า ผู้ขอจดทะเบียนตกลง
กันไม่ได้ หรือมิได้รับแจ้งภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายทะเบียนมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณาคำขอ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนซึ่งยื่นคำขอจดทะเบียนไว้เป็นรายแรก หรือเป็น
รายแรกในบรรดาผู้ขอจดทะเบียนซึ่งยังมิได้ละทิ้งคำขอจดทะเบียน แล้วแต่กรณี ต่อไปตามมาตรา 29
มาตรา 26 ในกรณีที่นายทะเบียนได้มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนปฏิบัติตาม
มาตรา 24 แล้ว ถ้ามีผู้ขอจดทะเบียนรายอื่นยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่นายทะเบียน
เห็นว่าเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของผู้ขอจดทะเบียนเหล่านั้น หรือที่นายทะเบียนเห็นว่าคล้ายกับ
เครื่องหมายการค้าเช่นว่านั้น จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า
หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า ทั้งนี้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันหรือต่างจำพวกกันที่นายทะเบียน เห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น และมีหนังสือแจ้งคำสั่งนั้นให้ผู้ขอจดทะเบียนนั้นทราบโดยไม่ชักช้า และให้นำมาตรา 21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 27 ในกรณีที่มีผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับ
เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตามมาตรา 13 หรือในกรณีที่มี ผู้ขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันตามมาตรา 20 ทั้งนี้ สำหรับสินค้าจำพวก เดียวกันหรือ ต่างจำพวกกันที่นายทะเบียนเห็นว่ามีลักษณะอย่างเดียวกัน ถ้านายทะเบียนเห็นว่าเป็นเครื่องหมายการค้า ซึ่งต่างเจ้าของต่างได้ใช้มาแล้วด้วยกันโดยสุจริตหรือมีพฤติการณ์พิเศษที่นายทะเบียน เห็นสมควรรับ จดทะเบียนนายทะเบียนจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันดังกล่าว ให้แก่เจ้าของ หลายคนก็ได้ โดยจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดเกี่ยวกับวิธีการใช้และเขตแห่งการใช้ เครื่องหมายการค้านั้น หรือเงื่อนไขและ ข้อจำกัดอื่นตามที่นายทะเบียนเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผล ให้ผู้ขอจดทะเบียนและเจ้าของเครื่องหมายการค้า ที่ได้จดทะเบียนแล้วทราบโดยไม่ชักช้า
ผู้ขอจดทะเบียนหรือเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนแล้วมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของ
นายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อคณะกรรมการภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของ
นายทะเบียน
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการตามวรรคสองให้เป็นที่สุด
[6] มาตรา 28 บุคคลใดได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้นอกราชอาณาจักร ถ้ายื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในราชอาณาจักรภายในหกเดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านอกราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก บุคคลนั้นจะขอให้ถือว่าวันที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านอกราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก เป็นวันที่ได้ยื่นคำขอในราชอาณาจักรก็ได้ หากบุคคลนั้นมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(๒) มีสัญชาติของประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือ
(๓) มีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้สิทธิในทำนองเดียวกันแก่บุคคลสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
(๔) มีภูมิลำเนา หรือประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอย่างจริงจังในประเทศไทย หรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย
ในกรณีที่คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นเป็นครั้งแรกนอกราชอาณาจักรถูกปฏิเสธ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนถอนคืนหรือละทิ้งคำขอ บุคคลดังกล่าวจะขอใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งไม่ได้
ในกรณีที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ถูกปฏิเสธ หรือคำขอที่ผู้ยื่นคำขอจะทะเบียนถอนคืน หรือละทิ้งตามวรรคสองนอกราชอาณาจักรซ้ำอีกภายในระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันที่ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านอกราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก บุคคลซึ่งยื่นคำขอดังกล่าวจะขอใช้สิทธิตามวรรคหนึ่งได้ เมื่อ
(๑) คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคสามยังมิได้มีการขอใช้สิทธิ ในการระบุวันยื่นคำขอจดทะเบียนตามวรรคหนึ่ง และ
(๒) คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคสามไม่อาจดำเนินการใดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า ในประเทศที่มีการยื่นคำขอจดทะเบียนไว้ต่อไป และ
(๓) การถูกปฏิเสธ ถอนคืน หรือถูกละทิ้งในครั้งแรกมิได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณชน”
([6] มาตรา 28 แก้ไขโดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543 )
[7] มาตรา 28 ทวิิ ในกรณีที่มีการนำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าใดออกแสดงในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศที่จัดขึ้นในประเทศไทย หรือในประเทศที่เป็ภาคีแห่งอนุสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการคุ้มครองเครื่องหมายการค้าซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย โดยส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐของประเทศไทยหรือประเทศที่เป็นภาคีดังกล่าวจัดขึ้น หรือรัฐบาลไทยรับรองการจัดงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศนั้น เจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจขอใช้สิทธิตามมาตรา ๒๘ วรรคหนึ่งได้ ถ้าเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าที่นำออกแสดงในงานแสดงสินค้าดังกล่าวในราชอาณาจักรภายในหกเดือน นับแต่วันที่ได้นำสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกแสดง หรือวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าครั้งแรกนอกราชอาณาจักรแล้วแต่วันใดจะเกิดขึ้นก่อน แต่ทั้งนี้ การยื่นคำขอดังกล่าวต้องไม่เป็นการขยายระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๘
การจัดงานแสดงสินค้าที่จะถือเป็นงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ และการขอใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง”
([7] มาตรา 28 ทวิ เพิ่มเติมโดยมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2543)