ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – บุคคลผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร

บุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร

บุคคลที่มีสิทธิของรับสิทธิบัตร ได้แก่บุคคลที่อยู่ในประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบหรือทายาทของบุคคลดังกล่าว ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของความคิด และได้ดำเนินการทำให้เกิดการประดิษฐ์หรือการผลิตภัณฑ์ขึ้น จึงเป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบที่จะมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรจะต้องมิใช่ลูกจ้าง หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างที่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบ ซึ่งสัญญาจ้างมิได้ระบุให้ลูกจ้าง หรือผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างที่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบ ซึ่งสัญญาจ้างมิได้ระบุให้ลูกจ้างหรือผู้รับจ้างเป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร และจะต้องมิใช่ข้าราชการหรือพนักงานองค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ทำการประดิษฐ์หรือออกแบบเพราะในกรณีดังกล่าว นายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร

ในกรณีที่บุคคลหลายคนทำการประดิษฐ์หรือออกแบบร่วมกัน (joint inventors or joint

creators) บุคคลเหล่านั้นมีสิทธิขอรับสิทธิบัตรร่วมกัน ดังนั้นจึงต้องยื่นขอรับสิทธิบัตร

ร่วมกันทุกคน เว้นแต่ผู้ประดิษฐ์ร่วมหรือผู้ออกแบบร่วมบางคนจะไม่ยอมร่วมขอรับ

สิทธิบัตร หรือติดต่อไม่ได้ หรือไม่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร เนื่องจากสิทธิขอรับสิทธิบัตร

เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งถ้าผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบตาย สิทธิดังกล่าวย่อมเป็นมรดก

ตกทอดไปสู่ทายาทของบุคคลดังกล่าว

นายจ้างหรือผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ

สิทธิขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์เพื่อการออกแบบ ซึ่งลูกจ้างได้ประดิษฐ์

หรือออกแบบขึ้นโดยการทำงานตามสัญญาจ้างหรือโดยสัญญาจ้างที่มีวัตถุประสงค์ให้ทำ

การประดิษฐ์หรือออกแบบย่อมตกได้แก่นายจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างจะระบุไว้เป็นอย่าง

อื่นและในกรณีที่แม้สัญญาจ้างจะไม่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์แต่ลูกจ้างได้ทำการ

ประดิษฐ์สิ่งหนึ่งสิ่งใดด้วยการใช้วิธีการ สถิติ หรือรายงานซึ่งลูกจ้างสามารถใช้หรือ

ล่วงรู้ได้เพราะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างนั้น สิทธิขอรับสิทธิบัตรก็ย่อมตกเป็นของ

นายจ้างด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามในกรณีต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ

บำเหน็จพิเศษจากนายจ้าง สิทธิที่จะได้รับบำเหน็จพิเศษนี้เป็นสิทธิเด็ดขาด นายจ้าง

จะเขียนสัญญาตัดสิทธิดังกล่าวของลูกจ้างไม่ได้ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญามี

สิทธิกำหนดจำนวนบำเหน็จพิเศษ ในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบเป็นข้าราชการ

พนักงานขององค์การของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และข้าราชการหรือพนักงานดังกล่าวมีหน้าที่ที่

จะต้องทำการประดิษฐ์ หรือออกแบบสิทธิขอรับสิทธิบัตรย่อมตกได้แก่หน่วยราชการ

องค์การของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจนั้น โดยข้าราชการ หรือพนักงานซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์

หรือผู้ออกแบบนั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษ เว้นแต่จะมีระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น

ผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตรจากบุคคลอื่น

สิทธิขอรับสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินซึ่งอาจโอนให้แก่กันได้ ดังนั้น ผู้ที่มีสิทธิขอรับ

สิทธิบัตรเช่นผู้ประดิษฐ์ หรือผู้ออกแบบ หรือทายาทของผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ

หรือนายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง จึงอาจโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่นได้ การโอนสิทธิขอ

รับสิทธิบัตรต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีที่ผู้ประดิษฐ์

ร่วมหลายคนเป็นผู้โอน ผู้ประดิษฐ์ร่วมทุกคนต้องลงลายมือชื่อร่วมกัน หากไม่ทำตาม

แบบที่กฎหมายกำหนดไว้ดังกล่าว การโอนย่อมตกเป็นโมฆะ

บุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตรทั้ง 3 ประเภทดังกล่าวข้างต้น จะต้องเป็นบุคคล

สัญชาติไทย หรือมีสัญชาติของประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยขอรับสิทธิบัตร

ในประเทศนั้นได้

Scroll to Top