ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – คำจำกัดความ

คำจำกัดความโดยทั่วไปของสิทธิบัตร

สิทธิบัตรพอให้ความจำกัดความได้ว่าเป็น พระราชบัญญัติของทรัพย์สินทางปัญญา

ที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ (สำนักงานสิทธิบัตร หรือ องค์กรของทรัพย์สินทางปัญญา) ซึ่งให้

เจ้าของมีสิทธิผูกขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการหาประโยชน์ในช่วงระยะเวลาจำกัดในอาณาเขตที่ให้ไว้

สิทธิทรัพย์สินทางปัญญานี้ยังได้รวมถึงสิทธิในการผลิต โอน ขาย หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้สิทธิ

ได้โดยการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (licensing)

สิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร

สิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์

 

ประเภทของสิทธิบัตร

พ.ร.บ. สิทธิบัตรได้แบ่งประเภทสิทธิบัตรออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์

สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การให้ความคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นที่

เกี่ยวกับ

ก. ผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบ ส่วนประกอบ สารประกอบ ระบบ อุปกรณ์

โครงสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ หรือกลไกของผลิตภัณฑ์

ข. กรรมวิธีในการผลิต หรือ การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น

เช่น กรรมวิธีทำให้เครื่องสูบน้ำได้ดีขึ้น เป็นต้น

ค. การใช้ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีดังกล่าวข้างต้น

2) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การให้ความคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ที่เกี่ยวกับ

ก. รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ คือ ลักษณะหรือรูปทรงของ

ผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นลักษณะ 3 มิติ คือความกว้าง ความยาวและความสูงของ

ผลิตภัณฑ์ที่มองเห็นได้จากภายนอก ตัวอย่างเช่นรูปทรงของขวดน้ำหอม

ซึ่งตัวขวดมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม นาฬิกาข้อมือซึ่งมีหน้าปัทม์เป็นรูป

สี่เหลี่ยม หรือ รูปร่างภาชนะต่างๆ ที่บรรจุสิ่งต่างๆไว้ข้างใน

ข. ลวดลายหรือสีของผลิตภัณฑ์ คือ ลวดลายหรือสีที่ทำให้เกิดขึ้นบนพื้นผิว

ภายนอกของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ลวดลายของพรมปูพื้น ลวดลายของ

ผ้ามัดหมี่ ลวดลายของแก้วน้ำ ลวดลายประตูโบสถ์ โดยการลงรักปิดทอง

เป็นต้น

Scroll to Top