ความรู้เรื่องสิทธิบัตร – การขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิ์บัตร

ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เรื่อง การขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร

ด้วยกฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ข้อ 13 ข้อ 14 และข้อ 23 และข้อ 24 ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการมอบอำนาจ ให้บุคคลอื่นกระทำการแทนผู้ขอรับสิทธิบัตร ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ผู้ขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ของอนุสิทธิบัตร ผู้คัดค้าน ผู้โต้แย้ง หรือผู้อุทธรณ์ไว้ว่าจะต้องเป็นการมอบอำนาจให้แก่ตัวแทนซึ่งได้ ขึ้นทะเบียนไว้กับอธิบดีเท่านั้น ฉะนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ขอรับสิทธิบัตรผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ผู้คัดค้าน ผู้โต้แย้ง หรือผู้อุทธรณ์ และเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทน สิทธิบัตรหรือตัวแทนอนุสิทธิบัตรดังกล่าว ให้ตัวแทนสิทธิบัตรมีความรู้ความสามารถ และยกระดับ มาตรฐานการเป็นตัวแทนสิทธิบัตรให้มีมาตรฐานเทียบเคียงกับตัวแทนสิทธิบัตรของนานาประเทศ ที่มีการกำหนดคุณสมบัติ เพื่อให้กระทำการได้อย่างมีประสิทธิภาพ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1. ให้ยกเลิกระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร พ.ศ. 2541 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2541

ข้อ 2. ให้รองอธิบดีผู้รับผิดชอบและมีอำนาจในการสั่งและปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติ สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แทนอธิบดีเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้

ข้อ 3. ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรต้อง

(1)เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ กฎหมาย หรือปริญญาตรีอื่นที่ต้องเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

(2) ผ่านการฝึกอบรมความรู้และวิธีปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิบัตรตามที่กรมทรัพย์สิน ทางปัญญากำหนด

ข้อ 4. ในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร ให้ผู้ยื่นขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วยรูปถ่านครึ่งตัวหน้าตรง ท่าปกติ ไม่สวมหมวก ซึ่งถ่ายไว้แล้วไม่เกินหกเดือน ขนาด 4 x 5 เซ็นติเมตร จำนวน 2 รูป

คำขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร ให้ใช้แบบ สป/สผ/อสป/101-ก และหนังสือสำคัญ แสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรให้ใช้แบบ สป/สผ/อสป/102-ก

ข้อ 5. ให้ตัวแทนสิทธิบัตรประเภท ก ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2525) เป็นตัวแทนสิทธิบัตรได้ต่อไปตามประกาศนี้

ข้อ 6. ตัวแทนสิทธิบัตรประเภท ข ตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2535) ให้เป็นตัวแทนสิทธิบัตรตามประกาศนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ตัวแทนสิทธิบัตร ตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ผ่านการฝึกอบรมความรู้และวิธีปฏิบัติตามกฎหมายสิทธิบัตร ตามที่กรม ทรัพย์สินทางปัญญากำหนดก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2543 ให้เป็นตัวแทนสิทธิบัตรตามประกาศนี้

ข้อ 7. เมื่อปรากฎว่าตัวแทนสิทธิบัตรกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดจนเป็นเหตุให้ผู้ขอ รับสิทธิบัตร ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ผู้ขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ของอนุสิทธิบัตร ผู้คัดค้าน ผู้โต้แย้ง หรือผู้อุทธรณ์เสียหายอธิบดีอาจสั่งพักหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรเป็นระยะ เวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรได้

ในกรณีที่ตัวแทนสิทธิบัตรเคยถูกสั่งพักหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร มาแล้วสองครั้ง อธิบดีอาจสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรได้หากตัวแทน สิทธิบัตรนั้นได้กระทำการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้ผู้ขอรับสิทธิบัตร ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตร ผู้ขอให้ ตรวจสอบการประดิษฐ์ของอนุสิทธิบัตร ผู้คัดค้าน ผู้โต้แย้ง หรือผู้อุทธรณ์เสียหายอีก

การสั่งพักหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร ตามวรรคหนึ่งให้ถือว่า ตัวแทนสิทธิบัตรนั้นหมดอำนาจกระทำการแทนในช่วงเวลาที่ถูกสั่งพัก และไม่สามารถขอขึ้นทะเบียน เป็นตัวแทนสิทธิบัตรได้อีกในช่วงเวลาที่ถูกสั่งพักดังกล่าว

การสั่งเพิกถอนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าตัวแทนสิทธิบัตรนั้นหมดอำนาจกระทำการแทนตั้งแต่วันที่ถูกเพิกถอน และไม่สามารถขอ ขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรได้อีกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

ข้อ 8. ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเรียกพยานหลักฐานจาก ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร หรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาได้เท่าที่จำเป็น

ข้อ 9. ในกรณีที่หนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตรสุญหายหรือชำรุดใน สาระสำคัญ ให้ผู้ขอยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

คำขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นตัวแทนสิทธิบัตร ให้ใช้แบบ สป/สผ/อสป/103-ข

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2542

(ลงชื่อ) พิพรรธน์ อินทรศัพท์

(นายพิพรรธน์ อินทรศัพท์)

อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา

Scroll to Top