คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม
- สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง(Model – Contract)เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา
2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน
3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม
4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้
ย่อหน้าแรก ถ้าผู้อนุญาต (เจ้าของลิขสิทธิ์) มีหลายคน ต้องระบุชื่อผู้อนุญาตทุกคนลงในสัญญาด้วย และผู้อนุญาตทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาทุกคน นอกจากนั้นคู่สัญญาอาจมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทนได้
สัญญาข้อ 1 ให้ระบุลักษณะของงานวรรณกรรมที่อนุญาต เช่น คือ นวนิยายเรื่อง / ชื่อ คู่กรรม เป็นต้น รวมทั้งระบุว่างานวรรณกรรมที่อนุญาตเป็นงานที่เคยจัดพิมพ์ครั้งที่เท่าไร เช่น ถ้างานนั้นเคยจัดพิมพ์เป็นหนังสือมาแล้ว 5 ครั้ง แต่คู่สัญญามีเจตนาจะจัดพิมพ์หนังสือที่เคยจัดพิมพ์มาแล้วในครั้งที่ 3 ก็ระบุในสัญญาว่า พิมพ์ครั้งที่ 3 เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าคู่สัญญาไม่ได้หมายถึงหนังสือที่เคยจัดพิมพ์ครั้งอื่น ๆ
สัญญาข้อ 2
ข้อ 2.1 ใน ช่องแรก ให้ระบุ เช่น คือ นวนิยาย
ข้อ 2.2 คู่สัญญาอาจเลือกกาเครื่องหมายในช่องใดช่องหนึ่งตามเจตนา ดังนี้
– ช่องแรก เป็นการอนุญาตโดยจำกัดระยะเวลา แต่ไม่จำกัดจำนวนสื่อที่ผลิต
– ช่องที่ 2 เป็นการอนุญาตโดยจำกัดจำนวนครั้งที่ผลิต และจำนวนสื่อที่ผลิตในแต่ละครั้ง
– ช่องที่ 3 เป็นการอนุญาตที่จำกัดทั้งระยะเวลา จำนวนครั้งที่ผลิตและจำนวนสื่อที่ผลิต รวมทั้งกำหนดราคาปกเพื่อนำไปคำนวณเรื่องค่าตอบแทนในข้อ 5 ด้วย
ข้อ 2.3 ใน ช่องแรก ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตผลิตและจำหน่ายสื่อที่ผลิตตามสัญญานี้ หมดก่อนที่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาจะสิ้นสุดลง และผู้รับอนุญาตไม่ประสงค์ที่จะผลิตสื่อตามสัญญานี้อีก คู่สัญญาอาจตกลงกันให้ผู้อนุญาตสามารถอนุญาตให้ผู้อื่นผลิตสื่อนั้นได้สัญญาข้อ 5 การจ่ายค่าตอบแทนมี 3 ลักษณะ (ข้อ 5.1 – ข้อ 5.3 ) ซึ่งคู่สัญญาอาจเลือกตามเจตนาและความเหมาะสม
ข้อ 5.1 เป็นลักษณะของการจ่ายค่าตอบแทนจำนวนเดียว (lump sum) ซึ่งคู่สัญญาอาจตกลงกันว่าให้จ่ายครั้งเดียว หรือจะแบ่งจ่ายหลายงวดก็ได้ แล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน
ข้อ 5.2 เป็นการจ่ายค่าตอบแทนแบบเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยกำหนดค่าตอบแทนจำนวนเดียว ซึ่งคู่สัญญาอาจตกลงกันว่าให้จ่ายครั้งเดียว หรือจะแบ่งจ่ายหลายงวดก็ได้ แล้วแต่คู่สัญญาจะตกลงกัน
ข้อ 5.3 เป็นการจ่ายค่าแทนโดยกำหนดค่าตอบแทนขั้นต่ำไว้ โดยผู้รับอนุญาตจะจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำให้แก่ผู้อนุญาตจำนวนหนึ่งก่อน และจะจ่ายเงินค่าตอบแทนอีกจำนวนหนึ่งซึ่งคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย คูณด้วยราคาปก โดยจะจ่ายให้ทุก ๆ 6 เดือน
ข้อ 5.4 ให้ระบุข้อ 5.1 หรือ 5.2 หรือ 5.3 ลงในช่องว่าง และระบุวิธีการจ่ายเงินตามที่คู่สัญญาตกลงกัน เช่น จ่ายโดยเงินสด เช็ค หรือส่งธนาณัติ ณ สถานที่ใดให้กำหนดสถานที่ที่จะจ่ายเงินไว้ เช่น จ่ายที่สำนักพิมพ์ของผู้รับอนุญาตหรือที่อยู่ของผู้อนุญาต เป็นต้น
ข้อ 5.5 ถ้ามีผู้อนุญาต (เจ้าของลิขสิทธิ์) หลายคน ให้ระบุชื่อผู้อนุญาตและสัดส่วนหรืออัตราค่าตอบแทน ที่ผู้อนุญาตแต่ละคนจะได้รับตามที่คู่สัญญาได้ตกลงกัน ถ้าผู้อนุญาต มีคนเดียวก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดข้อ 5.5 นี้ไว้ในสัญญาสัญญาข้อ 7 ผู้อนุญาตจะแก้ไข ดัดแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอนงานวรรณกรรมของผู้อนุญาตไม่ได้ แต่อย่างไรก็ดี คู่สัญญาอาจทำข้อยกเว้นได้ โดยผู้อนุญาตจะอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ในทางปฏิบัติคู่สัญญาไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือลงชื่อคู่สัญญา แต่อาจเป็นการอนุญาตในลักษณะของการเขียนข้อความทำนองว่า ผู้อนุญาตอนุญาตให้แก้ไขงานวรรณกรรมนั้นได้ และมีลายมือชื่อกำกับ เป็นต้น
สัญญาข้อ 8 คู่สัญญาควรระบุรูปแบบของการระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ สัญลักษณ์แสดงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการให้ระบุไว้ในสัญญาด้วย เช่น ? ค.ศ. …. ชื่อผู้สร้างสรรค์ ………………. ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ………………………….. ชื่อผู้จัดพิมพ์ …………………………. เป็นต้น และควรกำหนดตำแหน่งที่จะทำให้ปรากฎข้อความต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น ถ้าเป็นการอนุญาตให้จัดพิมพ์หนังสือ ก็อาจจะระบุไว้ในสัญญาว่า ให้ระบุข้อความหรือสัญลักษณ์นั้นในหน้าใดของหนังสือ เป็นต้น นอกจากนั้นคู่สัญญาอาจกำหนดไห้ระบุคำเตือน เกี่ยวกับการกระทำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์งานที่ได้นับอนุญาตนั้นด้วย เช่น การทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่งานดังกล่าว โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น
หากในส่วนใดส่วนหนึ่งของงานวรรณกรรมที่อนุญาต ต้องการระบุสงวนสิทธิ์แต่เพียงบางส่วน คู่สัญญาควรระบุว่าจะสงวนลิขสิทธิ์ในส่วนใดบ้าง
สัญญาข้อ 10 คู้สัญญาอาจระบุไว้ในสัญญาว่า สัญญาข้อใดบ้างที่คู่สัญญาถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากคู่สัญญาฝ่ายใดจงใจปฏิบัติตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิก สัญญาได้
——————————————–
สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม
ทำที่……………………………………………
วันที่………เดือน…………………พ.ศ……….
สัญญานี้ทำขึ้นระหว่าง …………………………………… อยู่เลขที่ …………………………………………………………………………………… ซึ่งต่อไปในสัญญานี้ จะเรียกว่า “ผู้อนุญาต” ฝ่ายหนึ่ง กับ ……………………………………………………………..… อยู่เลขที่ ……………………….………………………………………………………………………………ซึ่งต่อไปในสัญญานี้ จะเรียกว่า “ผู้รับอนุญาต” อีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญากันดังมีข้อความต่อไปนี้
1. งานของผู้อนุญาต
ผู้อนุญาตเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม คือ ……………………………………. เรื่อง/ชื่อ …………………………………….. พิมพ์ครั้งที่ ……………. ชื่อผู้สร้างสรรค์ …………………………………………… นามปากกา (ถ้ามี) …………………………………………………………………..
2. เงื่อนไขการอนุญาต
2.1 ผู้อนุญาตตกลงอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ตามที่ระบุใช้ ข้อ 1 เพื่อวัตถุประสงค์ในการผลิตและจำหน่ายสื่อ ดังต่อไปนี้
หนังสือ / สิ่งพิมพ์ คือ ………………………………………………………..….
เทปคาสเซ็ท
ซีดี – รอม
ไมโครฟิล์ม
อื่น ๆ ระบุ ………………………………………………………………………
(ให้กาเครื่องหมายในช่อง และเซ็นต์ชื่อกำกับ ตามเจตนาของคู่สัญญา)
2.2 ผู้อนุญาตอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม เพื่อผลิตสื่อตามที่ระบุในข้อ 2.1
กำหนดระยะเวลา ……………ปี
จำนวน ………… ครั้ง ครั้ง …………………. เล่ม
จำนวน ………… ครั้ง กำหนดระยะเวลา ………… ปี จำนวนสื่อที่อนุญาตให้ผลิต ……………… เล่ม / ตลับ / แผ่น / ม้วน เพื่อจำหน่ายในนามของสำนักพิมพ์ ……………………………………………….. โดยกำหนดราคาปกในประเทศ ……………… บาท (…………………………)
2.3 การอนุญาตตามข้อ 2.1 และ 2.2
ผู้อนุญาตมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ลิขสิทธิ์ตามสัญญานี้ ผู้อนุญาตจะไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมที่อนุญาตตามสัญญานี้ เพื่อผลิตสื่อประเภทเดียวกับที่ระบุในข้อ 2.1 จนกว่าระยะเวลาตามสัญญานี้จะสิ้นสุดลง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเป็นลายลักษณ์อักษร
ผู้อนุญาตอาจอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้ลิขสิทธิ์ตามสัญญานี้
ผู้อนุญาตมีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ลิขสิทธิ์ตามสัญญานี้ ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของผู้อนุญาตที่จะใช้ลิขสิทธิ์ด้วยตนเอง
2.4 ผู้รับอนุญาตมีสิทธิ์ที่จะผลิตสื่อที่ได้ รับอนุญาตตามจำนวนที่กำหนดภายในอายุแห่งสัญญา และมีสิทธิที่จะจำหน่ายสื่อดังกล่าวต่อไปได้แม้ว่าอายุสัญญาได้สิ้นสุดลง แต่ผู้รับอนุญาตไม่มีสิทธิที่จะผลิตสื่อใด ๆ อีก ภายหลังจากผู้รับอนุญาตได้ผลิตสื่อครบจำนวนตามสัญญาแล้ว หรือภายหลังวันที่อายุแห่งสัญญาสิ้นสุดลง
ผู้รับอนุญาตมีสิทธิจะจำหน่ายสื่อที่ผลิตตามสัญญานี้
ในประเทศไทย
ในต่างประเทศ คือ ……………………………..
2.5 ผู้รับอนุญาตจะมอบสื่อที่ผลิตตามสัญญานี้จำนวนทั้งสิ้น ………………………….. เล่ม/ตลับ/แผ่น/ม้วน ให้แก่ผู้อนุญาตในแต่ละครั้งที่มีการผลิตสื่อ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อนุญาต โดยผู้รับอนุญาตจะไม่คิดมูลค่าแต่อย่างใด
2.6 ถ้าผู้อนุญาตต้องการสื่อที่ผลิตเพิ่มเติมตามสัญญานี้ จำนวน………………………. เล่ม /ตลับ / แผ่น / ม้วน ผู้รับอนุญาตจะจำหน่ายให้แก่ผู้อนุญาตโดยมีส่วนลด …………% จาก ราคาปก
3. ระยะเวลาการอนุญาต
3.1 ผู้อนุญาตอนุญาตให้ผู้รับอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ตามที่ระบุในสัญญานี้มีกำหนดเวลา …………..ปี (……………..) นับแต่วันที่คู่สัญญาลงนามในสัญญาฉบับนี้ (โดยเริ่มต้นวันที่ …… เดือน ……………พ.ศ. ………) และสิ้นสุดในวันที่ ………เดื่อน………….
3.2 ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดลง หากคู่สัญญาฝ่ายใดมีความประสงค์ที่จะให้สัญญานี้ มีผลบังคับแก่คู่สัญญาต่อไปอีก ให้คู่สัญญาฝ่ายนั้นติดต่อคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อตกลงกัน
4. การจัดพิมพ์
4.1 ผู้รับอนุญาตจะต้องผลิตสื่อตามสัญญานี้ให้แล้วเสร็จ และวางจำหน่ายภายในเวลา ……………. เดือน นับแต่วันที่ได้รับต้นฉบับที่สมบูรณ์และครบถ้วน
4.2 ผู้อนุญาตจะต้องส่งต้นฉบับที่สมบูรณ์และครบถ้วน ให้แก่ผู้รับอนุญาตภายใน ……..………………. เดือน นับแต่วันที่คู่สัญญาลงนามในสัญญาฉบับนี้
5. ค่าตอบแทน
5.1 ผู้อนุญาตตกลงจะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้อนุญาตเป็นเงินจำนวน ………………………………………. บาท (………………………………….) โดยจะชำระภายใน…………….….วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้
5.2 ผู้รับอนุญาตตกลงจะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้อนุญาต ในอัตราร้อยละ ………… ของจำนวนสื่อที่ได้รับอนุญาตให้ผลิต คูณด้วยราคาปกที่ระบุในข้อ 2.2 เป็นเงินจำนวน …………….บาท (……………………………………..)
โดยผู้รับอนุญาตจะจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว
ทั้งหมดภายใน …………วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้
แบ่งชำระเป็น 2 งวด โดย
งวดที่ 1 ผู้รับอนุญาตจะจ่ายค่าตอบแทนจำนวน ………………………………..บาท (………………………………) ภายใน ………… วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้
งวดที่ 2 ผู้รับอนุญาตจะชำระเงินส่วนที่เหลือ จำนวน …………………………..บาท (………………………………) ภายใน ………… วัน นับแต่วันผลิตสื่อเสร็จเรียบร้อย
5.3 ผู้รับอนุญาตตกลงจะจ่ายค่าตอบแทนขั้นต่ำ ให้แก่ผู้รับอนุญาตเป็นเงินจำนวน ………………………… บาท (……………………………….) และผู้รับอนุญาตจะจ่ายค่าตอบแทนอีกในอัตราร้อยละ ………….. ของจำนวนสื่อที่จำหน่ายได้คูณราคาปกที่ระบุในข้อ 2.2 โดยจะจ่ายค่าตอบแทนดังนี้
งวดที่ 1 ผู้รับอนุญาตจะจ่ายเงินค่าตอบแทนขั้นต่ำจำนวน ……………………… บาท (…………………….) ภานใน ………. วัน นับแต่วันทำสัญญาฉบับนี้
งวดที่ 2 ผู้รับอนุญาตจะจ่ายเงินค่าตอบแทน ที่คำนวณจากยอดจำหน่ายในอัตราร้อยละ ……….. ดังกล่าวข้างต้นภายใน …….. วัน ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันผลิตสื่อเสร็จเรียนร้อย (วันที่ …….. เดือน ……………. พ.ศ. ……….. )
5.4 การจ่ายค่าตอบแทนตามข้อ …….. ข้างต้น ผู้รับอนุญาตจะจ่ายโดยวิธี ………………………………………………………. ณ …………………………………………….………………..
ในกรณีที่ผู้อนุญาตมีความประสงค์เปลี่ยนแปลงสถานที่จ่ายเงิน ผู้อนุญาตจะแจ้งให้ผู้รับอนุญาตทราบล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลาจ่ายเงิน
5.5 ในกรณีที่มีผู้อนุญาตหลายคน ผู้รับอนุญาตจะจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้รับอนุญาตแต่ละคนดังนี้
1. ……………………………………………………………………………………….
2. ……………………………………………………………………………………….
3. ……………………………………………………………………………………….
5.6 ผู้อนุญาตมีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ โดยผู้อนุญาตจะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราที่ระบุในประมวลรัษฎากรจากค่าตอบแทนที่จ่ายทุกครั้ง และผู้รับอนุญาตจะออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายดังกล่าวให้แก่ผู้อนุญาตทุกครั้ง
6. การโอนสิทธิ
การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ตามสัญญานี้ ผู้รับอนุญาตจะอนุญาตช่วงให้บุคคลอื่นหรือโอนสิทธิตามสัญญานี้ ให้บุคคลอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้อนุญาต
7. การแก้ไขดัดแปลง
ผู้รับอนุญาตรับรองว่าจะไม่แก้ไข ดัดแปลง เพิ่มเติม หรือตัดทอน งานวรรณกรรมของผู้อนุญาตตามสัญญานี้แต่อย่างใดทั้งสิ้น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้อนุญาต
8. การระบุชื่อผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ และข้อมูลอื่น ๆ
ผู้รับอนุญาตจะระบุชื่อผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรมชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้ผลิตข้อความว่าได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ ข้อความที่แสดงว่างานนั้นมีลิขสิทธิ์ วันเดือนปีที่โฆษณางานครั้งแรก ให้ปรากฎในส่วนที่สังเกตเห็นได้ชัดเจนในสื่อที่ผลิตทุกเล่ม/ตลับ/แผ่น/ม้วน หรือให้ปรากฎบนสิ่งใดที่ผู้รับอนุญาตได้จัดทำออกเผยแพร่ หรือจำนวนเพื่อประโยชน์ของผู้รับอนุญาตดังนี้ ? ค.ศ. ….. หรือ สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. ….. ( ชื่อผู้สร้างสรรค์ ) ……………..โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
9. การต่อสู้คดี
9.1 ในกรณีที่มีบุคคลอื่นฟ้องร้องเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ ในงานวรรณกรรมภายใต้สัญญานี้ ผู้อนุญาตจะเข้าร่วมกับผู้รับอนุญาตในการต่อสู้คดี และผู้อนุญาตจะให้ความช่วยเหลือในการให้ข้อมูลหรือเอกสารอันเป็นประโยชน์ หรือเป็นพยานในการต่อสู้คดีดังกล่าว
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจายผลของคดีละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ภายใต้สัญญานี้ ผู้รับอนุญาตและผู้อนุญาตตกลงจะรับผิดชอบฝ่ายละครึ่งหนึ่ง
หากงานวรรณกรรมที่อนุญาตให้ผลิตตามสัญญานี้ ล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลนั้น และหรือผู้รับอนุญาตผู้อนุญาตจะเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวทั้งสิ้น
9.2 ในกรณีที่มีบุคคลอื่นละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมภายใต้สัญญานั้น ผู้อนุญาตตกลงมอบอำนาจในการร้องทุกข์ ฟ้องร้อง และดำเนินคดี ให้แก่ผู้รับอนุญาตเพื่อดำเนินการแทนภายในอายุแห่งสัญญานี้
10. การบอกเลิกสัญญา
หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขแห่งสัญญาใน ส่วนอันเป็นสาระสำคัญ ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง แจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายที่จงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไข แห่งสัญญาดังกล่าวทราบ พร้อมทั้งแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก้ไขให้เป็นไปตามสัญญาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อครบกำหนดเวลา 15 วันแล้ว หากคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับแจ้งไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอกเลิกสัญญา หรือฟ้องร้องบังคับให้เป็นไปตามสัญญาได้
11. การระงับข้อพิพาท
ในกรณีที่มีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใด ๆ เกิดขึ้นจากสัญญานี้ หรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้ รวมทั้งปัญหาการผิดสัญญา การเลิกสัญญา หรือความสมบูรณ์แห่งสัญญานี้ ให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายดำเนินการเจรจาตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทภายใน 30 วัน นับแต่ที่คู่สัญญาฝ่ายที่กล่าวอ้างว่ามีข้อพิพาทเกิดขึ้น ได้แจ้งให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษร หากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจตกลงกันได้ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ย หากมิอาจดำเนินการไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ภายใน 60 วัน ให้มอบข้อพิพาทดังกล่าวแก่อนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาด ตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการเสนอข้อพิพาทเพื่อการอนุญาโตตุลาการ และให้อยู่ภายใต้การจัดการของสถาบันดังกล่าว หรือนำคดีไปสู่ศาลเพื่อวินิจฉัยชี้ขาด
12. สัญญาเป็นโมฆะบางส่วน
ในกรณีที่ปรากฎในภายหลังว่าข้อสัญญาส่วนใดส่วนหนึ่งของสัญญานี้เป็นโมฆะ ให้ถือว่าข้อสัญญาส่วนที่เป็นโมฆะไม่มีผลบังคับในสัญญานี้ และข้อสัญญาดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาในส่วนอื่น ๆ
สัญญานี้ทำขึ้นเป็นสองฉบับมีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่าน และเข้าใจ ข้อความในสัญญาโดยตลอดดีแล้ว จึงลงลายมือชื่อพร้อมทั้งประทับตรา (ถ้ามี) ไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน และเก็บไว้ฝ่ายละหนึ่งฉบับ
ลงชื่อ …………………………………….ผู้อนุญาต
(……………………………………)
ลงชื่อ …………………………………… ผู้รับอนุญาต
(……………………………………)
ลงชื่อ …………………………………….พยาน
(……………………………………)
ลงชื่อ ……………………………………พยาน
(……………………………………)