บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม*

๑. คำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
๒. คำขอรับสิทธิบัตรสำหรับแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน และยื่นขอในคราวเดียวกันตั้งแต่ ๑๐ คำขอขึ้นไป ๑๐,๐๐๐ บาท
๓. การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร ๕๐๐ บาท
๔. คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
๕. คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
๖. สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
๗. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์

ปีที่ ๕

ปีที่ ๖

ปีที่ ๗

ปีที่ ๘

ปีที่ ๙

ปีที่ ๑๐

ปีที่ ๑๑

ปีที่ ๑๒

ปีที่ ๑๓

ปีที่ ๑๔

ปีที่ ๑๕

ปีที่ ๑๖

ปีที่ ๑๗

ปีที่ ๑๘

ปีที่ ๑๙

ปีที่ ๒๐

๒,๐๐๐ บาท

๔,๐๐๐ บาท

๖,๐๐๐ บาท

๘,๐๐๐ บาท

๑๐,๐๐๐ บาท

๑๒,๐๐๐ บาท

๑๔,๐๐๐ บาท

๑๖,๐๐๐ บาท

๑๘,๐๐๐ บาท

๒๐,๐๐๐ บาท

๓๐,๐๐๐ บาท

๔๐,๐๐๐ บาท

๕๐,๐๐๐ บาท

๖๐,๐๐๐ บาท

๗๐,๐๐๐ บาท

๘๐,๐๐๐ บาท

หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว ๔๐๐,๐๐๐ บาท
๘. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
ปีที่ ๕

ปีที่ ๖

ปีที่ ๗

ปีที่ ๘

ปีที่ ๙

ปีที่ ๑๐

หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว

๑,๐๐๐ บาท

๒,๐๐๐ บาท

๓,๐๐๐ บาท

๔,๐๐๐ บาท

๕,๐๐๐ บาท

๖,๐๐๐ บาท

๒๐,๐๐๐ บาท

๙. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับอนุสิทธิบัตร

ปีที่ 5

ปีที่ 6

หรือชำระทั้งหมดในคราวเดียว

๒,๐๐๐ บาท

๔,๐๐๐ บาท

๖,๐๐๐ บาท

๑๐. ค่าธรรมเนียมการต่ออายุอนุสิทธิบัตร

ครั้งที่ ๑

ครั้งที่ ๒

๑๔,๐๐๐ บาท

๒๒,๐๐๐ บาท

๑๑. คำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๕๐๐ บาท
๑๒. คำขอจดทะเบียนรับโอนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๕๐๐ บาท
๑๓. คำขอเปลี่ยนแปลงคำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๕๐๐ บาท
๑๔. ใบอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๕. ใบแทนสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรหรือใบแทนใบอนุญาตให้ใช้สิทธิ ฉบับละ ๑๐๐ บาท
๑๖. คำอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดี ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
๑๗. การคัดสำเนาเอกสาร หน้าละ ๑๐ บาท
๑๘. การรับรองสำเนาเอกสารเอกสารเกิน ๑๐ หน้า ฉบับละ ๑๐๐ บาท
เอกสารไม่เกิน ๑๐ หน้า หน้าละ ๑๐ บาท
๑๙. คำขออื่น ๆ ฉบับละ ๑๐๐ บาท

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียมนี้แก้ไขใหม่โดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๔๒ ดังข้อความที่ปรากฏนี้แล้ว

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยและประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์หรือกรรมวิธีใดขึ้นใหม่ และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์และเป็นการก้าวหน้าทางเทคนิคในเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในประเทศ และเพื่อให้ผู้ประดิษฐ์และผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รับการคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยห้ามมิให้บุคคลอื่นลอกเลียนหรือเลียนการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์นี้โดยมิได้ค่าตอบแทน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ขึ้น

พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๓๕ ลงวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๒๒

ฉบับที่สอง พ.ศ. ๒๕๓๕ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๓๔ ลงวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๓๕และ

ฉบับที่สาม พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๒ ก ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๒

หมายเหตุ :-

เนื่องจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยผลของมาตรา ๒ ของพระราชบัญญัตินี้ จะทำให้บทบัญญัติต่าง ๆ มีผลใช้บังคับเมื่อ พ้นกำหนดหนึ่งร้อย แปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ประกาศในวันที่ ๓๑ มีนาค พ.ศ. ๒๕๔๒) นั้น เป็นพระราชบัญญัติที่ออกมาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยแก้ไขเพียงบางมาตรา และมิได้ยกเลิกทั้งฉบับ ดังนั้น ข้อความใดที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือยกเลิก หรือเพิ่มเติมขึ้นใหม่ โดยเพิ่มเข้าไปในมาตราเดิม หรือเพิ่มเป็นมาตราใหม่ ได้นำข้อความดังกล่าวมาใส่ไว้แทนข้อความเดิมในมาตราต่าง ๆ โดยได้ทำหมายเหตุ (footnote) กำกับไว้เพื่อให้เป็นที่สะดวกแก่ผู้ใช้ไว้เรียบร้อยแล้ว ส่วนข้อความในบางมาตรา ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก หรือเพิ่มเติมขึ้นใหม่โดยเพิ่มเข้าไปในมาตราเดิม หรือเพิ่มเป็นมาตราใหม่ แต่เป็นบทบัญญัติเฉพาะกาลสำหรับพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้นำมาตราดังกล่าวมาแสดงต่อท้ายหมายเหตุนี้ด้วยแล้ว

มาตรา ๔๓ สิทธิบัตรที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ หรือที่ออกให้ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้ถือว่าเป็นสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ แต่ให้สิทธิบัตรมีอายุต่อไปได้เพียงเท่าที่มีเหลืออยู่ตามสิทธิบัตรนั้น

มาตรา ๔๔ คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ และอธิบดียังไม่มีคำสั่งตามมาตรา ๓๓ หรือมาตรา ๓๔ ผู้ขอมีสิทธิเปลี่ยนแปลงเป็นคำขอรับอนุสิทธบัตรได้ภายในหกสิบวันนับแตวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

มาตรา ๔๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

Scroll to Top