แนวปฏิบัติงานด้านลิขสิทธิ์

แนวปฏิบัติงานด้านลิขสิทธิ์

คู่มือปฏิบัติงานมีเพื่อ

  1. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายแก่เจ้าหน้าที่ตามระบบโครงสร้างใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
  2. แนะแนวหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องการให้บริการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถสอนเจ้าหน้าที่ภายในสำนักลิขสิทธิ์ในขณะปฏิบัติงานได้
  4. จัดเตรียมกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานอื่นของรัฐ

คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักลิขสิทธิ์

1. สำนักลิขสิทธิ์มีหน้าที่ให้บริการดังต่อไปนี้
ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

ตอบข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์

ให้บริการในการแจ้งและตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์

ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

พิจารณายกร่างสัญญาตัวอย่างเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์

ส่งเสริมพัฒนาและสนันสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในทุกด้าน

ประสานการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น

2. ผู้ใช้บริการ ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ
ผู้สร้างสรรค์ การให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์
เจ้าของลิขสิทธิ์ การให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

การป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์

นักแสดง การให้ความคุ้มครองสิทธินักแสดง
ผู้ขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิ์/ ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ การปฏิบัติที่ถูกต้องในการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ ขอทราบหน่วยงานที่มีอำนาจในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์

นักเรียน, นักศึกษามหาวิทยาลัย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

การให้ความคุ้มครองสิทธิ

ประชาชนทั่วไป ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

การให้ความคุ้มครองสิทธิ

ทนายความ/นักกฎหมาย ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง

ปัญหาความคาบเกี่ยวของกฎหมายลิขสิทธิ์กับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น

ศาล คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์

การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์

ตำรวจ การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์
เจ้าหน้าที่ศุลกากร การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์
หน่วยงานราชการและเอกชนอื่น ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

3. ส่วนต่างๆภายใต้สำนักลิขสิทธิ์
ส่วน หน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่
ฝ่ายบริหารงานธุรการ ปฏิบัติงานตามระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526

จัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการลา งานพัสดุและงานสวัสดิการ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน

งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์ ให้บริการปรึกษา แนะนำรับแจ้งและตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์

รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลผลงานลิขสิทธิ์ รวมทั้งจัดทำสถิติการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์รายเดือน

ประสานงานกับพาณิชย์จังหวัดในการให้บริการข้อมูล

ประสานงานกับแผนกตรวจสอบสภาพรถยนต์(งานควบคุมเทปและวัสดุโทรทัศน์)

ประสานงานกับหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา ในการจัดแสดงนิทรรศการของกรมฯ(ทุกๆ3เดือน)

ประสานงานกับศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ(กรณีมีหมายศาล)

ส่วนส่งเสริมงานลิขสิทธิ์ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรบริหารจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ รวมทั้งกำกับดูแล

วิเคราะห์ปัญหา เสนอความเห็นการกำหนดค่าตอบแทนต่ออธิบดี

ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อให้มีการพัฒนาการจัดเก็บ ตลอดจนส่งเสริมให้มีการเคารพสิทธิตามกฎหมาย

งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ส่วนคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ วิเคราะห์ปัญหากฎหมายข้อสัญญา เกี่ยวกับลิขสิทธิ์

จัดประชุมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ รวมทั้งเสนอความเห็นในคดีเปรียบเทียบ

จัดทำร่างสัญญาตัวอย่างเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ และจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในงานลิขสิทธิ์

งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

ศูนย์ประสานการป้องปราม การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบและประสานงานการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

ประชุมเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาละเมิด

เป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการละเมิดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

งานอื่นๆที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย

4 ก. การประสานงานภายในกรมทรัพย์สินทางปัญญา
กอง/ส่วน/สำนัก สิ่งที่ต้องประสานงาน
กองกฎหมายและอุทธรณ์

กลุ่มงานกฎหมายและคดี

กลุ่มงานอุทธรณ์

ปรึกษาข้อกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

การอุทธรณ์คำสั่งอธิบดีตามกฎหมายลิขสิทธิ์

การส่งเสริมการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง

กองส่งเสริมและพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา

กลุ่มงานพัฒนาระบบฯ

กลุ่มงานพัฒนาความรู้

กลุ่มงานพัฒนาความร่วมมือ

กลุ่มงานพัฒนาคอมพิวเตอร์

การพัฒนาระบบการคุ้มครองลิขสิทธิ์

จัดสัมมนาและจัดฝึกอบรมเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง

จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์

ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

บริหารการพัฒนาระบบการจัดเก็บ/ตรวจค้นข้อมูล

สำนักงานเลขานุการกรม เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินการของสำนักลิขสิทธิ์

4 ข. การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก
หน่วยงานภายนอก สิ่งที่ต้องประสานงาน
  • กองบังคับการสืบสวนสอบสวน คดีเศรษฐกิจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • การจัดเตรียมข้อมูลการสำรวจสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
  • การติดตามการร้องทุกข์ของเจ้าของสิทธิ
  • การปราบปรามการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
  • ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลาง
  • การออกหมายค้น
  • การติดตามการดำเนินคดีลิขสิทธิ์
  • การให้การเป็นพยานสำหรับคดีลิขสิทธิ์บางคดี
  • สำนักงานอัยการฝ่ายคดีทรัพย์สินทางปัญญ าและการค้าระหว่างประเทศ
  • การดำเนินคดีลิขสิทธิ์
  • หารือและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินคดีลิขสิทธิ์
  • กรมศุลกากร
  • ระงับการตรวจปล่อยสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ณ จุดนำเข้า-ส่งออก
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • หารือเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
  • รับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ในส่วนภูมิภาค
  • สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ
  • ประสานความร่วมมือในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์ของประเทศต่าง ๆ
  • สมาคม/องค์การที่เกี่ยวข้อง
    กับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
  • ให้ความร่วมมือในการคุ้มครอง/ส่งเสริม และป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักลิขสิทธิ์

5.1 ขั้นตอนการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เลขที่ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หน่วยงานรับเรื่อง แบบฟอร์มและเอกสารประกอบ เอกสารอ้างอิงสำหรับเจ้าหน้าที่
1. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. ผู้แจ้งยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์จำนวน 3ชุด
  2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและตรวจสอบเบ้องต้นว่าม ีรายละเอียดและเอกสารประกอบครบถ้วน
  3. เจ้าหน้าที่ออกเลขและประทับหมายเลขลงบน คำขอและส่งสำเนาคำขอคืนให้แก่ผู้ขอ 1 ชุด
  4. เจ้าหน้าที่ให้สัญลักษณ์ตามประเภทของงาน ลิขสิทธิ์และดำเนินการจัดเก็บข้อมูลต่อไป (จัดเก็บแฟ้มข้อมูลและบันทึกข้อมูลลงใน คอมพิวเตอร์)
ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์(ต่างจังหวัดยื่นคำขอ กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด)
  • ลข .01 (คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์)
  • ผลงานหรือสำเนาผลงาน 1ชุด
  • กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นบุคคลธรรมดา ใช้สำเนาบัตรประชาชน (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  • กรณีเป็นนิติบุคคลใช้หนังสือรับรองนิติบุคคล (ต้นฉบับ)ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6เดือนนับแต่วันออกหนังสือรับรอง
  • กรณีตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นมา ยื่นคำขอใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งตัวแทนหรือ หนังสือมอบอำนาจ ติดอากรฯ 30บาท และสำเนาบัตรประชาชนของตัวแทน หรือผู้รับมอบอำนาจ
  • กรณียื่นคำขอโดยรัฐวิสาหกิจ หรือมูลนิธิ ต้องใช้สำเนาคำสั่งแต่งตั้งผู้บริหารของ หน่วยงานหรือ องค์กรนั้นๆ พร้อมรับรอง สำเนารัฐวิสาหกิจ ต้องมีสำเนาการจัดตั้ง ตามพ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจนั้นพร้อมรับรอง สำเนามูลนิธิต้อง มีสำเนาการจด ทะเบียนตั้งมูลนิธิ พร้อมรับรองสำเนา
  • แผ่นพับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
  • ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการแจ้งข้อมูล และขอรับบริการข้อมูลลิขสิทธิ์(ลงวันที่24พ.ย.2541)
  • ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วย การพิจารณาคำขอแจ้งข้อมูลการจัดเก็บและให้ บริการข้อมูลลิขสิทธิ์(ลงวันที่24พ.ย.2541)
  • คำสั่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ที่200/2541 เรื่อง มอบหมายให้ข้าราชการ (ลงวันที่24พ.ย.2541)
2. การขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. ผู้ขอยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลลิขสิทธิ์ จำนวน 1ชุด
  2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและตรวจสอบคำขอแก้ไข ข้อมูลลิขสิทธิ์ว่ามีรายละเอียดครบถ้วน
  3. เจ้าหน้าที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลลิขสิทธิ์ ทั้งในแฟ้มคำขอและในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์
ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์(ต่างจังหวัดยื่นคำขอ กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด)
  • ลข.02(คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม)
  • เอกสารแสดงเรื่องที่แก้ไข(ถ้ามี)
  • ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการแจ้งข้อมูลและขอรับบริการ ข้อมูลลิขสิทธ์(ลงวันที่24พ.ย.2541)
  • ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วยการ พิจารณาคำขอแจ้งข้อมูลการจัดเก็บ และให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์(ลงวันที่24พ.ย.2541)
3. การขอตรวจสอบลิขสิทธิ์

  1. ผู้ขอยื่นคำขอตรวจสอบเอกสารจำนวน 1ชุด
  2. เจ้าหน้าที่ตรวจข้อมูลจากฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือเบิกแฟ้มคำขอแจ้งข้อมูลแล้วแต่กรณี
ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์(ต่างจังหวัดยื่นคำขอ กับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด) ลข.03 เอกสารเดียวกับข้อ2

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักลิขสิทธิ์

5.2 การพิจารณาคำขอให้อธิบดีกำหนดค่าตอบแทนในการนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน

เลขที่ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หน่วยงานรับเรื่อง แบบฟอร์มและเอกสารประกอบ เอกสารอ้างอิงสำหรับเจ้าหน้าที่
1.

2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

ผู้แทนของนักแสดงหรือผู้ใช้สิ่งบันทึกเสียง การแสดงยื่นคำขอ ต่อเจ้าหน้าที่(ต้นฉบับ 1ชุด สำเนา 1ชุด)

เมื่ออธิบดีได้รับคำขอแล้ว จะแจ้งเป็นหนังสือพร้อมสำเนา คำขอแก่คู่กรณีโดยไม่ชักช้า

อธิบดีพิจารณากำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงค่าตอบแทนปกติในธุรกิจประเภทนั้น

เมื่ออธิบดีมีคำสั่งกำหนดค่าตอบแทนแล้ว จะมีหนังสือ แจ้งคำสั่งให้คู่กรณีทราบโดยไม่ชักช้า

หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งอธิบดี อาจยื่น ขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการลิขสิทธ ิ์ภายใน 90วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง คำสั่งอธิบดี

เมื่ออธิบดีได้รับคำอุทธรณ์แล้ว จะส่งสำเนาคำขออุทธรณ์พร้อมทั้ง หลักฐานให้แก่คู่กรณีโดยไม่ชักช้า

อธิบดี เสนอคำอุทธรณ์ไปยังคณะกรรมการ ลิขสิทธิ์เพื่อวินิจฉัย

คณะกรรมการลิขสิทธิ์วินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว อธิบดีจะแจ้งผลการวินิจฉัยไปยังคู่กรณ ีโดยไม่ชักช้า

ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์
  • ลสน.1(คำขอให้อธิบดีกำหนดค่าตอบแท นเกี่ยวกับการใช้สิ่งบันทึกเสียง)
  • กรณีบุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประจำตัว ประชาชนพร้อมรับรองสำเนา ชาวต่างชาติที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ใช้ภาพถ่ายหนังสือเดินทางหรือภาพถ่าย หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว
  • กรณีนิติบุคคลใช้หนังสือรับรอง นิติบุคคล(ต้นฉบับ) ที่นายทะเบียน ออกให้ไม่เกิน 6เดือน นับแต่วัน ออกหนังสือรับรอง
  • กรณีนักแสดงเป็นผู้ยื่นคำขอ ให้แนบเอกสารดังนี้ -หลักฐานแสดงการติดต่อของคู่กรณี ซึ่งระบุุค่าตอบแทนและผลการเจรจา หรือตกลง
  • หลักฐานหรือหนังสือเกี่ยวกับการตกลง เรื่องค่าตอบแทนที่นักแสดงเคยได้รับ สำหรับการแสดงประเภทเดียวกัน หรือในทำนองเดียวกัน(ถ้ามี)
  • หลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง(ถ้ามี) กรณีผู้ใช้สิ่งบันทึกเสียงฯ เป็นผู้ยื่นขอให้แนบเอกสารดังนี้ 1.รายละเอียดเกี่ยวกับการ

ใช้สิ่งบันทึกเสียงการแสดงนั้น เช่นระยะเวลาการใช้ จำนวนครั้งและวัตถุประสงค์ของการใช้ ,หลักฐานการติดต่อของคู่กรณี,ซึ่งระบุ ค่าตอบแทนและผลการเจรจาหรือ ตกลง,หลักฐานหรือหนังสือ เกี่ยวกับการตกลงเรื่องค่าตอบแทน ที่ผู้ใช้ฯเคยจ่ายให้นักแสดงสำหรับ การใช้สิ่งบันทึกเสียงการแสดง ประเภทเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน(ถ้ามี)

  • พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537(มาตรา45)
  • ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญาฉบับที่2/2538 เรื่องหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอ ให้อธิบดีกำหนดค่า ตอบแทน ในกรณีที่มีการนำ สิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกเผยแพร่ต่อ สาธารณชน(ลงวันที่ 4พ.ย.2538)
  • ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญา ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ พิจารณาคำขอให้อธิบดีกำหนดค่า ตอบแทน ในการนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกแพร่เสียง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน(ลงวันที่ 4พ.ค.2538)

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานของสำนักลิขสิทธิ์

5.3 ขั้นตอนการพิจารณาคำขออนุญาตและยกเลิกใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ

เลขที่ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน หน่วยงานรับเรื่อง แบบฟอร์มและเอกสารประกอบ เอกสารอ้างอิงสำหรับเจ้าหน้าที่
1. การขออนุญาต

1. ผู้ขอยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบ 1ชุด

2. เจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือ พร้อมสำเนาคำขอที่เสนอจ่ายค่าตอบแทน และเงื่อนไขแก่เจ้าของลิขสิทธิ์

3. เจ้าของลิขสิทธิ์มีหนังสือแจ้งต่อ เจ้าหน้าที่ว่า เห็นด้วยกับค่าตอบแทน หรือไม่ภายใน 90วัน

  • ส่วนจัดการงานสำนักลิขสิทธิ์
  • สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
  • ลสป.1
  • บุคคลธรรมดาใช้สำเนาบัตรประชาชน
  • นิติบุคคลใช้หนังสือรับรองนิติบุคคล (ต้นฉบับ)ที่นายทะเบียนออกให้ ไม่เกิน 6เดือน นับแต่วันออกหนังสือรับรอง
  • กรณีมอบอำนาจให้แนบสำเนาหนังสือ มอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชน ของผู้รับมอบด้วย
  • หลักฐานที่ผู้ติดต่อขออนุญาตใช้สิทธิ จากเจ้าของลิขสิทธิ์(ระบุค่าตอบแทน และเงื่อนไข)รวมทั้งผลการติดต่อ
  • กรณีไม่สามารถหาเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ ให้ส่งหลักฐานที่แสดงว่าผู้ขอได้ติดต่อ ขออนุญาตจากสำนักพิมพ์ซึ่งเป็น ผู้จัดพิมพ์หนังสือนั้น(ระบุค่าตอบ แทนและเงื่อนไข)และหลักฐาน แสดงว่าผู้ขอได้แจ้งศูนย์ข้อมูล ในประเทศหรือระหว่างประเทศที่ ผู้ขอเชื่อว่าสำนักพิมพ์ดังกล่าวมี สำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในประเทศนั้น (ระบุค่าตอบแทนและเงื่อนไข) รวมทั้งผลการติดต่อด้วย ,หลักฐาน อื่นๆที่เกี่ยวข้อง , ลสป.3 (หนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ ในพฤติการณ์พิเศษ)
  • พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา54และ มาตรา55
  • ประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญาฉบับท ี่1/2538 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการขอใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์ พิเศษ (ลงวันที่ 18เม.ย.2538)
  • ระเบียบกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่าด้วย การปฏิบัติและพิจารณาคำขอใช้สิทธิใน พฤติการณ์ พิเศษ พ.ศ.2538(ลงวันที่ 18เม.ย.2538)
2.
  1. เมื่ออธิบดีมีคำสั่งแล้ว เจ้าหน้าที่ มีหนังสือแจ้งคำสั่งให้คู่กรณี ทราบโดยไม่ชักช้า พร้อมทั้งแนบ แบบฟอร์มคำขออุทธรณ์
  2. หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งอธิบดี ให้อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการ ลิขสิทธิ์ภายใน 90วัน นับแต่วัน ที่ได้รับหนังสือแจ้ง หากไม ่อุทธรณ์ภายในเวลา อธิบดี จะ ออกหนังสืออนุญาตแก่ผู้ขอ ภายใน 15วัน นับแต่วันครบ กำหนดอุทธรณ์
  3. ให้เจ้าหน้าที่ปิดประกาศ คำขอที่ได้รับ อนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ พร้อมค่าตอบแทน และเงื่อนไข ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • ลสป.3(หนังสืออนุญาตให้ใช ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ)
  • ลสป.2(คำขออุทธรณ์คำสั่ง กำหนดค่าตอบแทนฯ)
3. การขออนุญาตยกเลิกการใช้ลิขสิทธิ์ ในพฤติการณ์พิเศษ

1. เจ้าของงานลิขสิทธิ์ยื่นคำขอยกเลิกการ อนุญาตฯพร้อมเอกสารประกอบ

2. อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับ อนุญาตทราบ

3. อธิบดีพิจารณาเรื่องและหลักฐาน และแจ้งผลการพิจารณาโดยไม่ชักช้า

ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์
  • ลสป.4
  • บัตรประจำตัวผู้ขอ
  • บัตรประจำตัวผู้ขอ
  • หลักฐานแสดงความเป็ นเจ้าของลิขสิทธิ์
  • สำเนางานลิขสิทธิ์เดิม
  • สำเนางานที่เจ้าของลิขสิทธิ์ จัดแปลหรือจัดทำเป็นภาษาไทย
  • สำเนางานของผู้ได้รับอนุญาต
  • หลักฐานแสดงว่าสำเนางาน ของผู้ได้รับลิขสิทธิ์ได้วาง จำหน่ายในท้องตลาด
  • พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา54วรรคสอง(4)
4.

การขอระงับการออกหนังสืออนุญาต

1. เจ้าของงานลิขสิทธิ์ยื่นคำขอให้ ระงับฯ

2. อธิบดีมีหนังสือแจ้งไปยังผู้ขอ

3. อธิบดีพิจารณาเรื่อง และแจ้งผล การพิจารณาให้คู่กรณีทราบโดยไม่ชักช้า

ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์

  • หลักฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • ลสป.5
  • บัตรประจำตัวผู้ขอ
  • หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ ลิขสิทธิ์
  • หลักฐานแสดงว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ ได้เก็บผลงานนั้นออกจาก ท้องตลาดหมดแล้ว
  • ประกาศกรมฯฉบับที่1/2538 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการขอใช้ลิขสิทธิ์ใน พฤติการณ์พิเศษฯ
  • ระเบียบกรมฯว่าด้วยวิธีปฏิบัติ และพิจารณาคำขอใช้ลิขสิทธิ์ใน พฤติการณ์พิเศษฯ
5. การขอแก้ไขคำแปลงานลิขสิทธิ์ที่ คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องตรง กับงานลิขสิทธิ์เดิม

1. เจ้าของลิขสิทธิ์ยื่นคำขอในกรณี ที่เห็นว่าคำแปลงานลิขสิทธิ์มีเนื้อหา คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องตรงกับ งานลิขสิทธิ์เดิม

2. อธิบดีมีหนังสือแจ้งไปยังคู่กรณี ทั้งสองฝ่ายให้ตกลงกัน

3. หากตกลงกันไม่ได้ อธิบดีแจ้ง คู่กรณีทั้งสองฝ่ายมาตกลงกัน ต่อหน้าอธิบดี

4. อธิบดีสั่งแก้ไขคำแปลภายใน เวลาที่กำหนด หากเห็นว่าคำแปลนั้น คลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้องตรงกับ งานลิขสิทธิ์เดิม

ส่วนจัดการงานลิขสิทธิ์
  • ลสป.6
  • บัตรประจำตัวผู้ขอ
  • หลักฐานแสดงความเป็น เจ้าของลิขสิทธิ์
  • หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • ประกาศกรมฯฉบับที่1/2538 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติ เกี่ยวกับการขอลิขสิทธิ์ใน พฤติการณ์พิเศษฯ
  • ระเบียบกรมฯว่าด้วยวิธีปฏิบัติ และพิจารณาคำขอใช้ลิขสิทธิ์ ในพฤติการณ์พิเศษ

6.สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอันมีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ : ปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและวิธีการแก้ไข
ปัญหา วิธีการแก้ไข
ความคาบเกี่ยวในการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์กับทรัพย์สินทาง ปัญญา ประเภทอื่น 1. อธิบายความแตกต่างของทรัพย์สินทางปัญญา 3 ประเภท และชี้แนะรูปแบบความคุ้มครองที่เหมาะสม

2. ศึกษาและติดตามแนวคำพิพากษาของศาลไทยและศาลต่าง ประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบในการพิจารณา

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงตามนโยบาย ของกรมฯ ในการรับแจ้งข้อมูล ลิขสิทธิ์ ทำความเข้ากับผู้แจ้ง และผู้ใช้ผลงานว่าการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์เพื่อ การรวบรวมเป็นฐานข้อมูลในการติดต่อ ระหว่าง เจ้าของลิขสิทธิ์และผู้ขออนุญาต ใช้ผลงาน แต่มิใช่หลัก ฐานที่ใช้ยืนยันความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
การตีความกฎหมายลิขสิทธิ์
  • ศึกษาและติดตามแนวคำพิพากษาของศาล
  • หารือปัญหาข้อกฎหมายต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ปัญหาเกี่ยวกับการจัดเก็บค่า ลิขสิทธิ์
ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ประเภทดนตรี- กรรมและสิ่งบันทึกเสียงยังไม่ทราบว่าจะต้องเสีย ค่าตอบแทนจากการใช้งานลิขสิทธิ์แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ จากการเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานดังกล่าว
  • อธิบายสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฯ
  • ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับองค์กรบริหาร การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
ขอบเขตการดำเนินงานและความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ ค่าลิขสิทธิ์ขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในไทย ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แนะนำความจำเป็นและหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และแจ้งให้ทราบว่าปัจจุบันมีองค์กรจัดเก็บใดบ้างและ ดำเนินการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ประเภทใดบ้าง
กรณีมีผู้ประสงค์จะใช้ผลงานลิขสิทธิ์แต่ไม่สามารถ ติดต่อกับเจ้าของลิขสิทธิ์ได้จะต้องดำเนินการอย่างไร อาจทำหนังสือแสดงเจตนาต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาว่ายินดี จะจ่ายค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์แก่เจ้าของหากมีกรณี พิพาทเกิดขึ้น แต่ทั้งนี้อัตราค่าตอบแทนจากการใช้งานเจ้าของและผู้ใช้ ต้องตกลงกันเอง

7. ความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่สำนักลิขสิทธิ์ในการให้บริการ
  • หลักเกณฑ์การคุ้มครองลิขสิทธิ์
  • หลักเกณฑ์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น
  • หลักเกณฑ์การคุ้มครองลิขสิทธิ์ระหว่างประเทศ
  • บทบาทและหน้าที่ขององค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
  • รายชื่อองค์กรที่ทำหน้าที่จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในประเทศไทย / อัตราค่าตอบแทนจากการใช้ค่าลิขสิทธิ์
  • ขั้นตอนการแจ้งและตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์
  • วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาคำขอให้อธิบดีกำหนดค่าตอบแทนในการนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกแพร่เสียงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน
  • วิธีปฏิบัติและพิจารณาคำขอใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ
  • ขั้นตอนปฏิบัติในการดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
  • ศิลปะในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์
  • การใช้คอมพิวเตอร์

8. เอกสารอ้างอิงสำหรับใช้ในการบริหารและปฏิบัติงาน
เอกสารอ้างอิง เหตุผลที่ใช้เอกสารอ้างอิง
พระราชบัญญัติ/อนุสัญญา/สนธิสัญญาฯลฯ

1. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

2. อนุสัญญากรุงเบอร์น

3. อนุสัญญากรุงโรม

4. สนธิสัญญาด้านลิขสิทธิ์ และสนธิสัญญาคุ้มครองสิทธินักแสดง และสิ่งบันทึกเสียงขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก(WIPO)

5. ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้า (TRIPS)

  • เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
  • เป็นมาตรฐานการให้ความคุ้มครองสิทธิในระดับสากล
  • เป็นมาตรฐานการให้ความคุ้มครองสิทธิข้างเคียงในระดับสากล
  • เป็นมาตรฐานใหม่ในการให้ความคุ้มครองลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียงในระดับสากล
  • เป็นมาตรฐานความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก(WTO)
ประกาศกระทรวงฯ

ประกาศกระทรวงพาณิชย์เรื่องการกำหนดรายชื่อประเทศภาคี แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญา ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดง

เพื่อคุ้มครองลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดงระหว่างประเทศ
ประกาศกรมฯ

1. ประกาศกรมฯฉบับที่1(พ.ศ.2538)เรื่องหลักเกณฑ์และ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ (ลงวันที่18 เม.ย.2538)

2. ประกาศกรมฯ ฉบับที่2 (พ.ศ.2538)เรื่องหลักเกณฑ์และ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขอให้อธิบดีกำหนดค่าตอบแทน ในกรณีที่มีการนำสิ่งบันทึกเสียงการแสดงออกแพร่เสียง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน (ลงวันที่ 4 พ.ค.2538)

3. ประกาศกรมฯ เรื่องการแจ้งข้อมูลและขอรับบริการข้อมูล ลิขสิทธิ์(ลงวันที่ 24 พ.ย.2541)

4. ระเบียบกรมฯว่าด้วยการกำหนดขั้นตอน และระยะเวลาการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชน (ลงวันที่ 16 ก.พ.2541)

กำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติและระยะเวลาในการดำเนินการ

กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ในการบริการประชาชนในเรื่องต่างๆ

คำสั่งกรมฯ

คำสั่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่200/2541 เรื่องมอบหมายให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ราชการ

กำหนดตัวบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศและระเบียบเกี่ยวกับการแจ้งและให้บริการข้อมูลลิขสิทธิ์
แบบฟอร์มต่างๆ

    • ลข.01
    • ลข.02
    • ลข.03
    • ลสน.1
    • ลสน.2
    • ลสป.1
    • ลสป.2
    • ลสป.3
    • ลสป.4
    • ลสป.5
    • ลสป.6
  • คำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
  • คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมข้อมูลลิขสิทธิ์
  • คำขอตรวจสอบข้อมูลลิขสิทธิ์
  • คำขอให้อธิบดีกำหนดค่าตอบแทนเกี่ยวกับการใช้สิ่งบันทึกเสียงการแสดง
  • คำขออุทธรณ์คำสั่งอธิบดีในการกำหนดค่าตอบแทนเกี่ยวกับการใช้สิ่งบันทึกเสียงการแสดง
  • คำขอใช้สิทธิในพฤติการณ์พิเศษ
  • คำขออุทธรณ์คำสั่งกำหนดค่าตอบแทน หรือเงื่อนไขของอธิบดี
  • หนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ
  • คำขอให้ยกเลิกหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ
  • คำขอให้ระงับการออกหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ในพฤติการณ์พิเศษ
  • คำขอแก้ไขคำแปลงานลิขสิทธิ์ที่คลาดเคลื่อน หรือไม่ถูกต้องตรงกับงานลิขสิทธิ์เดิม

9. คำถามที่มักถามโดยผู้ใช้บริการของสำนักลิขสิทธิ์
คำถาม ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่ควรคำนึงถึงเวลาตอบคำถาม
1. ลิขสิทธิ์คืออะไร ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
2. งานลิขสิทธิ์ที่ได้รับความคุ้มครอง ตามกฎหมายมีกี่ประเภท อะไรบ้าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 6 และความรู้เบื้องต้น ด้านทรัพย์สินทางปัญญา
3. ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
4. เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิอะไรบ้าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15-18
5. อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์มีกำหนด ไว้เป็นระยะเวลาเท่าใด พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 19-26 และความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
6. การละเมิดลิขสิทธิ์ได้แก่การกระทำ อะไรบ้าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27-31
7. ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้แก่ อะไรบ้าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32-43
8. กฎหมายกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำ การละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ อย่างไร พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69-70
9. เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นจะต้องม ีการดำเนินการทางกฎหมาย อย่างไร แผ่นพับการดำเนินคดีลิขสิทธิ์
10. อะไรคือข้อแตกต่างระหว่าง ลิขสิทธิ์กับทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอื่น ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา
11. นักแสดงมีสิทธิอะไรบ้าง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 44-45
12. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต้องดำเนินการอย่างไร แผ่นพับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
13. องค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์คืออะไร และมีวิธีการดำเนินการอย่างไร หนังสือสถาปนาครบรอบ 4 ปี กรมทรัพย์สินทางปัญญา

10. สิ่งตีพิมพ์และอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ
ประเภท ชื่อ ปีที่พิมพ์ เนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย
กฎหมาย พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ.2537 2542
  • กฎหมายลิขสิทธิ์ที่มีผลใช้บังคับในปัจจุบัน
  • คำแปลภาษาอังกฤษ
  • เจ้าหน้าที่กรมฯ
  • ประชาชนทั่วไป
กฎระเบียบฯ กฎระเบียบและคู่มือสำหรับ การป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ 2541
  • กฎระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ.2536
  • กฎระเบียบกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์
  • เจ้าหน้าที่กรมฯ
  • ประชาชนทั่วไป
หนังสือ 1. หนังสือความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา

2. หนังสือหมู่บ้านเจ้าปัญญา

2541

2538

  • ความรู้พื้นฐานเรื่องเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา และขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตร
  • ความรู้ทรัพ์สินทางปัญญาเบื้องต้นในเรื่องเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5-6
  • ผู้ยื่นคำขอ
  • ประชาชนทั่วไป
  • เยาวชน
หนังสือ หนังสืองานสร้างสรรค์ของฉัน 2539
  • ความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้นเรื่องเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และลิขสิทธิ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • เยาวชน
เอกสาร 1. เอกสารประกอบการบรรยายโครงการ

จุดประกายทรัพย์สินทางปัญญา

2. เค้าโครงการบรรยายลิขสิทธิ์

2542

2542

  • คำอธิบายกฎหมายลิขสิทธิ์
  • สื่อภาษไทยแสดงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์/ชุดแผ่นใส
  • นักเรียน
  • นิสิตนักศึกษา
  • นักเรียน
  • นิสิตนักศึกษา
แผ่นพับ
  • แผ่นพับการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
  • แผ่นพับการดำเนินคดีลิขสิทธิ์
  • แผ่นพับการดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า
  • แผ่นพับการดำเนินคดีสิทธิบัตร
2539 2541 2541 2541
  • ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์และวิธีในการดำเนิน การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
  • ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินคดีลิขสิทธิ์
  • ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า
  • ข้อควรปฏิบัติในการดำเนินคดีสิทธิบัตร
  • ผู้ยื่นคำขอ
  • ประชาชนทั่วไป
  • ผู้เสียหาย
  • ประชาชนทั่วไป
  • ผู้เสียหาย
  • ประชาชนทั่วไป
  • ผู้เสียหาย
  • ประชาชนทั่วไป
Scroll to Top