ลิขสิทธิ : ร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ : ร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

หมวด 9 บทกำหนดโทษ

หมวด 9 บทกำหนดโทษ มาตรา 38 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 5 และมาตรา 6 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือน ถึงสองปี หรือปรับหนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 39 ผู้ใดนำงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก เจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาท ถึง สองแสนบาทถ้วน ถ้าการกระทำความผิดตามวรรค 1 เป็นการกระทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4 ปี หรือปรับตั้งแต่ หนึ่งแสนบาท ถึง แปดแสนบาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 40 ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น และนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ หนึ่งหมื่นบาท ถึง หนึ่งแสนบาทถ้วน ถ้าการกระทำความผิดตามวรรค 1 เป็นการกระทำเพื่อการค้าต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ ห้าหมื่นบาท ถึง สี่แสนบาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 41 ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ยุติการเผยแพร่ต่อสาธารณชน ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ หนึ่งพันบาท ถึง ห้าพันบาทถ้วน ต่อวัน มาตรา 42 ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสารหรือหลักฐานใด ๆ ตามที่คณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ หรือนายทะเบียนสั่งตามมาตรา 11 หรือมาตรา 27 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 43 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวก หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หรือสั่งตามมาตรา 27 ต้องระวางโทษ จำ คุกไม่เกินสามเดือน …

หมวด 9 บทกำหนดโทษ Read More »

หมวด 8 กองทุนบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง

หมวด 8 กองทุนบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง มาตรา 35 ให้มีกองทุนบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง เพื่อจ่ายเงินค่าการสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิกและครอบครัวที่ต้องอันตรายแก่ตาย หรือเสียชีวิตเกี่ยวกับอาชีพ รวมทั้งเป็นค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ ตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด กรมทรัพย์สินทางปัญญา มีอำนาจจัดสรรเงินกองทุนไม่เกินร้อยละ 20 จากดอกผล ของกองทุน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง มาตรา 36 การรับเงิน การจ่ายเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด ในความเห็นชอบของกระทรวงพาณิชย์ มาตรา 37 ภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นปีปฏิทินให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา เสนอรายงานการจ่ายเงินกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว ต่อสำนักตรวจเงินแผ่นดิน เพื่อตรวจสอบรับรองและเสนอต่อคณะกรรมการ การรับจ่ายเงินดังกล่าวให้คณะกรรมการเสนอต่อรัฐมนตรี เพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

หมวด 7 การชำระบัญชี

หมวด 7 การชำระบัญชี มาตรา 34 การชำระบัญชีองค์กรจัดเก็บให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

หมวด 6 การเลิกองค์กรจัดเก็บ

หมวด 6 การเลิกองค์กรจัดเก็บ มาตรา 31 องค์กรจัดเก็บ ย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้ (1) ถ้าในข้อบังคับขององค์กรจัดเก็บมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อมีกรณีนั้น (2) เมื่อองค์กรจัดเก็บล้มละลาย (3) เมื่อคณะกรรมการมีคำสั่งเป็นหนังสือให้เลิกตามมาตรา 32 (4) ในกรณีที่องค์กรจัดเก็บมิได้ขอต่ออายุภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 15 มาตรา 32 คณะกรรมการมีอำนาจสั่งเลิกองค์กรจัดเก็บได้เมื่อปรากฎว่า (1) องค์กรจัดเก็บมิได้ดำเนินการภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียน หรือหยุดการติดต่อกันเป็นเวลาสองปี นับแต่วันที่หยุดกิจการ (2) องค์กรจัดเก็บไม่อาจดำเนินการตามคำสั่งของคณะกรรมการภายในกำหนดจนก่อให้เกิด ความเสียหายแก่องค์กรจัดเก็บ หรือประโยชน์ของสมาชิกตามมาตรา 30 ห้ามมิให้ผู้บริหารองค์กร ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนอื่นใดในองค์กรจัดเก็บ ซึ่งถูกสั่งเลิกไปตามบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ จะเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะดังกล่าวตามข้างต้นในองค์กรจัดเก็บอีกมิได้ เว้นแต่สมาชิกผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีฐานะดังกล่าว คำสั่งของคณะกรรมการตามวรรคแรกให้เป็นที่สุด มาตรา 33 เมื่อองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธินักแสดงใด เลิกไปด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดตามระบุไว้ในมาตรา 31 ให้จัดการชำระบัญชี ตามบทบัญญัติในหมวด 7 ว่าด้วยการชำระบัญชี

หมวด 5 หลักปฏิบัติขององค์กรจัดเก็บ

หมวด 5 หลักปฏิบัติขององค์กรจัดเก็บ มาตรา 28 ให้องค์กรจัดเก็บจัดทำทะเบียนสมาชิก ซึ่งอย่างนัอยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ประเภทของงานอันมีลิขสิทธิ์ และที่ตั้งองค์กรจัดเก็บ (2) ชื่อ สัญชาติ และที่อยู่ของสมาชิก (3) วันที่เข้าเป็นสมาชิก (4) รายละเอียดผลงานของสมาชิก (5) หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดเกี่ยวกับสมาชิก ให้องค์กรจัดเก็บเก็บรักษาทะเบียนสมาชิกตามวรรคแรก ไว้ที่สำนักงานใหญ่ขององค์กรจัดเก็บ และให้ส่งสำเนาทะเบียนแก่กรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งองค์กรจัดเก็บนั้น การเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนสมาชิก ตามวรรคสอง ให้แจ้งการเปลี่ยนแปลง ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง มาตรา 29 ให้จัดทำรายงานประจำปีแสดงผลการดำเนินการจัดเก็บค่าตอบแทน โดยติดประกาศไว้ ณ สำนักงานใหญ่ไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันที่มีการจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิแก่สมาชิก และให้ส่งสำเนารายงานประจำปีต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการจ่ายส่วนแบ่งค่าสิทธิให้แก่สมาชิก ทั้งนี้ต้องไม่เกิน สิ้นเดือนมีนาคมของปีถัดไป ให้องค์กรจัดเก็บเก็บรักษารายงานประจำปีทะเบียนสมาชิก ข้อกำหนด และ ข้อบังคับ เพื่อให้สมาชิกตรวจสอบได้ มาตรา 30 หากผู้บริการองค์กรกระทำการไม่ถูกต้องในการดำเนินกิจการของตน จนทำให้เกิดความเสียหายหรือมีข้อบกพร่องเกี่ยวกับการเงินหรือการบัญชีแก่องค์กรจัดเก็บของสมาชิก ให้สมาชิกขององค์กรจัดเก็บไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าได้เข้าชื่อกันทำหนังสือถึงอธิบดี เพื่อ พิจารณาและสั่งให้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากผู้บริหารองค์กรมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนส่งรายงานการพิจารณาของอธิบดี ให้แก่คณะกรรมการออกคำสั่งให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) ให้ระงับการปฏิบัติบางส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดข้อบกพร่อง หรือความเสียหายต่อองค์กรจัดเก็บ หรือสมาชิก (2) ให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการแก้ไขข้อบกพร่องภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนด ให้คำสั่งของคณะกรรมการตามวรรคสองเป็นที่สุด

หมวด 4 คณะกรรมการกำกับดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง

หมวด 4 คณะกรรมการกำกับดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง มาตรา 23 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกำกับดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง” ประกอบด้วยปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกินสิบสองคน ในจำนวนนี้จะต้องแต่งตั้งจากผู้แทนขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ หรือสิทธินักแสดง และผู้แทนขององค์กรผู้ใช้งานลิขสิทธิ์หรือ สิทธินักแสดงเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหกคน เป็นกรรมการ คณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ มาตรา 24 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งได้อีก ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่กรรมการ ซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน หรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว มาตรา 25 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ (1) ตาย (2) ลาออก (3) คณะรัฐมนตรีให้ออก (4) เป็นบุคคลล้มละลาย (5) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ (6) ได้รับคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่โทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ มาตรา 26 การประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุม เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา 27 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (1) ให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาแก่รัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราช บัญญัตินี้ (2) วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของอธิบดีตามมาตรา 12 และ มาตรา 21 (3) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการขอต่ออายุหนังสืออนุญาต ตามมาตรา 15 (4) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับประเภทงานอันมีลิขสิทธิ์ อัตราค่าตอบแทน อัตราส่วนแบ่งค่าสิทธิ ตามมาตรา 18 …

หมวด 4 คณะกรรมการกำกับดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง Read More »

หมวด 3 สิทธิและหน้าที่องค์กรจัดเก็บ

หมวด 3 สิทธิและหน้าที่องค์กรจัดเก็บ มาตรา 16 ให้มีคณะผู้บริหารองค์กรดำเนินการองค์กรจัดเก็บ ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกผู้จัดตั้งองค์กรจัดเก็บเป็นผู้ดำเนินการ และเป็นผู้แทนในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก มาตรา 17 ภายใต้มาตรา 8 (3) การจัดสรรค่าสิทธิแก่สมาชิกเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง ให้จัดสรรตามข้อสัญญาเข้าเป็นสมาชิก ซึ่งคิดจากรายได้ภายหลังจากที่ได้หัก ค่าใช้จ่ายในการบริหารองค์กรจัดเก็บแล้ว ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงจำนวนครั้งที่ใช้งาน ความนิยมของผู้ใช้งาน ณ เวลานั้น ความเหมาะสม และความเป็นธรรม มาตรา 18 การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขในดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรม หรือกำหนดเงื่อนไขในข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมิได้ การอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิเผยแพร่ต่อสาธารณชน ต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อของผู้แทนผู้บริหารองค์กร และผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสำคัญ ประเภทงานและอัตราค่าตอบแทนการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง และหนังสืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิให้เป็นตามหลักเกณฑ์ และวิธีการของประกาศคณะกรรมการกำหนด มาตรา 19 นอกจากสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน องค์กรจัดเก็บจะดำเนินการ หรือกระทำการเกี่ยวข้องกับสิทธิอื่นใดของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงมิได้ มาตรา 20 ในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน จะจำกัดหรืออนุญาตเฉพาะรายหนึ่งรายใดมิได้ การไม่อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิผู้ขออนุญาตใช้สิทธิ ที่จะยื่นคำขออนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิต่ออธิบดี มาตรา 21 เมื่อได้รับคำขอตามมาตรา 20 ให้อธิบดีดำเนินการให้มีการตกลงกันระหว่างคู่กรณีในเรื่องเงื่อนไข การใช้ลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงและค่าตอบแทน ในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้ให้อธิบดีเป็นผู้วินิจฉัยมีคำสั่งอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมและอาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้ คำสั่งของอธิบดีตามวรรคหนึ่ง คู่กรณีอาจอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้ภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของอธิบดี คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา 22 องค์กรจัดเก็บจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเพื่อประโยชน์ของเจ้าของลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดงเท่านั้น

หมวด 2 การขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง

หมวด 2 การขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง มาตรา 7 องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายใด การจดทะเบียนนิติบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง เมื่อได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล ต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้น หรือสมาชิกขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง มาตรา 8 ให้องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง มีวัตถุประสงค์กระทำการดังต่อไปนี้ได้ จัดให้ได้มา รับโอนสิทธิ หรือ ด้วยวิธีอื่นใด ซึ่งสิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชนแก่งานลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง ในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพื่อประโยชน์ของสมาชิก โดยไม่เลือกปฏิบัติ ดำเนินการแบ่งค่าตอบแทนที่จัดเก็บได้ ให้แก่มวลสมาชิกตามที่คณะกรรมการกำหนด ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกทางด้านคดีความที่ฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาลอันเนื่องมาจากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง ดำเนินกิจการอย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง ในการดำเนินงาน องค์กรจัดเก็บจะกำหนดข้อบังคับอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ก็ได้ ให้การสงเคราะห์ตามสมควรแก่สมาชิก ที่ต้องอันตรายแก่กายหรือเสียชีวิตเกี่ยวกับอาชีพ มาตรา 9 ผู้มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง มีดังนี้ นิติบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย นิติบุคคลซึ่งมิได้มีสัญชาติไทย แต่เป็นประเทศภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรืออนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธินักแสดง ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย และมีภูมิลำเนาหรือสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่นที่เป็นนิติบุคคล มาตรา 10 การขอขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง และอัตราค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 11 เมื่อได้รับคำขอขึ้นทะเบียน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 และทำรายงานการตรวจสอบเสนอความเห็นต่ออธิบดี ในการตรวจสอบคำขอตามวรรคหนึ่ง หากมีข้อสงสัยให้นายทะเบียนเรียกผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำชี้แจงหรือแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน มาตรา 12 ในกรณีที่คำขอขึ้นทะเบียนไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 7 มาตรา 8 และมาตรา 9 ให้อธิบดีมีคำสั่งยกคำขอขึ้นทะเบียนและให้มีหนังสือแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ขอขึ้นทะเบียนทราบโดยไม่ชักช้า ผู้ขอขึ้นทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของอธิบดีต่อคณะกรรมการได้ภายในเก้าสิบวันแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งนั้น การอุทธรณ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อคณะกรรมการมีคำวินิจฉัยแล้ว ถ้าผู้ขอขึ้นทะเบียนไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ …

หมวด 2 การขึ้นทะเบียนองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง Read More »

หมวด 1 บททั่วไป

หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้ “องค์กรจัดเก็บ” หมายความว่า องค์กรที่ได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบการจัดเก็บค่าตอบแทน จากการใช้งานลิขสิทธิ์ หรือสิทธินักแสดงตามพระราชบัญญัตินี้ “สมาชิก” หมายความว่า ผู้เป็นเจ้าของผลงานลิขสิทธิ์หรือนักแสดง “ผู้บริหารองค์กร” หมายความว่า ผู้บริหารองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง “หนังสืออนุญาต” หมายความว่า หนังสืออนุญาตให้ประกอบการจัดเก็บค่าตอบแทน จากการใช้งานลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกำกับดูแลการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อกำหนดหรือข้อบังคับขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง “ค่าตอบแทน” หมายความว่า เงินและ/หรือทรัพย์สินที่ได้จากการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และสิทธินักแสดง “ค่าสิทธิ” หมายความว่า รายได้จากสิทธิประโยชน์ที่ได้แบ่งปันแก่เจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง “นายทะเบียน” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรม ทรัพย์สินทางปัญญาแต่งตั้ง “อธิบดี” หมายความว่า อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา และให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอธิบดี กรมทรัพย์สินทางปัญญามอบหมายด้วย” “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 4 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งแต่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ กับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ลดหรือยกเลิกค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่น เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา 5 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงที่ขอขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น ใช้คำว่า “องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และ/หรือสิทธินักแสดง” เป็นชื่อหรือเป็นส่วนหนึ่งแห่งชื่อในธุรกิจ มาตรา 6 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดง จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์หรือสิทธินักแสดงในสิทธิอย่างเดียวกันอันมีลักษณะซ้ำซ้อนกันมิได้

ร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง พ.ศ. …..

ร่าง พระราชบัญญัติ การจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง พ.ศ. … ………………………………. ……………………………….. …………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………….. โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง “พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 35 มาตรา 48 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย” …………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………….. มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และสิทธิ นักแสดง พ.ศ. ……” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

Scroll to Top