สิทธิบัตร : พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522

สิทธิบัตร : พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.2522

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม* ๑. คำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ๒. คำขอรับสิทธิบัตรสำหรับแบบผลิตภัณฑ์อย่างเดียวกัน และยื่นขอในคราวเดียวกันตั้งแต่ ๑๐ คำขอขึ้นไป ๑๐,๐๐๐ บาท ๓. การประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตร ๕๐๐ บาท ๔. คำขอให้ตรวจสอบการประดิษฐ์ ฉบับละ ๕๐๐ บาท ๕. คำคัดค้านการขอรับสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ๖. สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ๗. ค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ปีที่ ๕ ปีที่ ๖ ปีที่ ๗ ปีที่ ๘ ปีที่ ๙ ปีที่ ๑๐ ปีที่ ๑๑ ปีที่ ๑๒ ปีที่ ๑๓ ปีที่ ๑๔ ปีที่ …

บัญชีอัตราค่าธรรมเนียม Read More »

หมวด 6 ความผิดและกำหนดโทษ

หมวดที่ ๖ ความผิดและกำหนดโทษ มาตรา ๘๑ เจ้าพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือ มาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๑ หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๒๑ หรือ มาตรา ๒๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๘๒ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๖๕ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒ หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๒๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๘๓ บุคคลใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคสอง หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบ ด้วยมาตรา ๒๓ …

หมวด 6 ความผิดและกำหนดโทษ Read More »

หมวด 5 เบ็ดเตล็ด

หมวด ๕ เบ็ดเตล็ด มาตรา ๗๕ ห้ามมิให้บุคคลใดซึ่งไม่มีสิทธิตามพระราชบัญญัตินี้ใช้คำว่า “สิทธิบัตรไทย” “อนุสิทธิบัตรไทย” หรืออักษร สบท. หรือ อสบท. หรืออักษร ต่างประเทศที่มีความหมายเช่นเดียวกัน หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกันให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือในการโฆษณาการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ใด ๆ มาตรา ๗๖ ห้ามมิให้บุคคลใดใช้คำว่า “รอรับสิทธิบัตร” หรือ “รอรับ อนุสิทธิบัตร” หรือคำอื่นใดที่มีความหมายเช่นเดียวกัน ให้ปรากฏที่ผลิตภัณฑ์ ภาชนะ บรรจุหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ หรือในการโฆษณาการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ใด ๆ เว้นแต่เป็นผู้ขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคำขอนั้น มาตรา ๗๗ ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรในกรรมวิธีการผลิต ผลิตภัณฑ์ ฟ้องผู้ฝ่าฝืนสิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรของตนเป็นคดีแพ่ง หากผู้ทรง สิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรพิสูจน์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่จำเลยผลิต มีลักษณะเช่นเดียวกันหรือคล้ายกันกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้กรรมวิธีของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้ใช้กรรมวิธีของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตร เว้นแต่จำเลยจะพิสูจน์ให้เห็นเป็นอย่างอื่น มาตรา ๗๗ ทวิ ในกรณีที่มีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่ามีผู้กระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตรหรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรตาม มาตรา ๓๖ หรือมาตรา ๖๓ หรือมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๓๖ ผู้ทรงสิทธิบัตร หรือผู้ทรงอนุสิทธิบัตรอาจขอให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าว นั้นได้ …

หมวด 5 เบ็ดเตล็ด Read More »

หมวด 4 คณะกรรมการสิทธิบัตร

หมวดที่ ๔ คณะกรรมการสิทธิบัตร มาตรา ๖๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการสิทธิบัตร” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรม การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เกษตรศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ อีกไม่เกินสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยในจำนวนนี้ให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนไม่น้อยกว่าหกคน คณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลใดเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ มาตรา ๖๗ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่ง หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรี แต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้ รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้ มาตรา ๖๘ กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก (๔) เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ มาตรา ๖๙ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานใน ที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด …

หมวด 4 คณะกรรมการสิทธิบัตร Read More »

หมวด 3 ทวิ อนุสิทธิบัตร

หมวด ๓ ทวิ อนุสิทธิบัตร มาตรา ๖๕ ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะ ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ (๒) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม มาตรา ๖๕ ตรี บุคคลใดจะขอรับทั้งอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้ มาตรา ๖๕ จัตวา ผู้ขอรับอนุสิทธิบัตรหรือผู้ขอรับสิทธิบัตรมีสิทธิขอเปลี่ยนแปลงประเภทของสิทธิที่จะขอรับจากอนุสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตร หรือจากสิทธิบัตรเป็นอนุสิทธิบัตรได้ก่อนการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร หรือก่อนการประกาศโฆษณาคำขอรับสิทธิบัตรตามมาตรา ๒๘ แล้วแต่กรณี และผู้ขอมีสิทธิให้ถือเอาวันยื่นคำขอเดิมเป็นวัน ยื่นคำขอ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๖๕ เบญจ ในการจดทะเบียนการประดิษฐ์และออกอนุสิทธิบัตร ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามมาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วย มาตรา ๑๗ และตรวจสอบว่าการประดิษฐ์นั้นได้รับการคุ้มครองตามมาตรา ๖๕ ทศประกอบด้วยมาตรา ๙ หรือไม่ และทำรายงานการตรวจสอบเสนอต่ออธิบดี (๑) ถ้าอธิบดีพิจารณาเห็นว่า คำขอรับอนุสิทธิบัตรไม่ถูกต้องตาม มาตรา ๖๕ ทศ ประกอบด้วยมาตรา ๑๗ หรือการประดิษฐ์นั้นไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา …

หมวด 3 ทวิ อนุสิทธิบัตร Read More »

หมวด 3 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

หมวดที่ ๓ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ มาตรา ๕๖ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรตามพระราชบัญญัตินี้ ได้ต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรม มาตรา ๕๗ การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ ใหม่ (๑) แบบผลิตภัณฑ์ที่มีหรือใช้แพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (๒) แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ สาระสำคัญ หรือรายละเอียด ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้ว ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (๓) แบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตามมาตรา ๖๕ ประกอบ ด้วยมาตรา ๒๘ มาแล้วก่อนวันขอรับสิทธิบัตร (๔) แบบผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกับแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวใน (๑) (๒) หรือ (๓) จนเห็นได้ว่าเป็นการเลียนแบบ มาตรา ๕๘ การออกแบบผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ (๑) แบบผลิตภัณฑ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน (๒) แบบผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา มาตรา ๕๙ การขอรับสิทธิบัตร ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง คำขอรับสิทธิบัตรให้มีรายการดังต่อไปนี้ (๑) ภาพแสดงแบบผลิตภัณฑ์ (๒) ข้อความระบุผลิตภัณฑ์ที่จะใช้กับแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตร (๓) ข้อถือสิทธิโดยชัดแจ้ง (๔) รายการอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา …

หมวด 3 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ Read More »

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 5 การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร

ส่วนที่ ๕ การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร มาตรา ๔๕ ผู้ทรงสิทธิบัตรจะขอให้บันทึกคำยินยอมให้บุคคลอื่นใช้สิทธิตาม สิทธิบัตรของตนลงในทะเบียนสิทธิบัตรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงก็ได้ เมื่อได้บันทึกคำยินยอมลงในทะเบียนสิทธิบัตรแล้วและมีผู้มาขอใช้สิทธิบัตรนั้น ให้อธิบดีอนุญาตให้บุคคลซึ่งขอใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้นใช้สิทธิบัตรได้ ตามเงื่อนไขข้อจำกัดสิทธิและค่าตอบแทนในการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ที่ผู้ทรงสิทธิบัตรและผู้ขอใช้สิทธิตามสิทธิบัตรตกลงกัน หากทั้งสองฝ่ายตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลาที่อธิบดีกำหนดให้อธิบดีกำหนดเงื่อนไข ข้อจำกัดสิทธิและค่าตอบแทนตามที่อธิบดีพิจารณาเห็นสมควร คำวินิจฉัยของอธิบดีตามวรรคสอง คู่กรณีอาจอุทธรณ์ต่อคณะ กรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยนั้น คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด การขอใช้สิทธิและการอนุญาตตามวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อได้มีการบันทึกคำยินยอมตามวรรคหนึ่ง ให้ลดค่าธรรมเนียม รายปีสำหรับสิทธิบัตรนั้นลงตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมรายปี มาตรา ๔๖ เมื่อพ้นกำหนดสามปีนับแต่วันออกสิทธิบัตรหรือสี่ปีนับแต่วัน ยื่นขอรับสิทธิบัตร แล้วแต่ระยะเวลาใดจะสิ้นสุดลงทีหลัง บุคคลอื่นจะยื่นคำขอใช้สิทธิตามสิทธิบัตรนั้นต่ออธิบดีก็ได้ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำขอมีพฤติการณ์แสดงว่าผู้ทรงสิทธิบัตร ไม่ใช้สิทธิโดยชอบดังต่อไปนี้ (๑) ไม่มีการผลิตผลิตภัณฑ์หรือไม่มีการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรภายในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือ (๒) ไม่มีการขายผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตรหรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร หรือมีการขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในราคาสูงเกินควรหรือไม่พอสนองความ ต้องการของประชาชนภายในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีตาม (๑) หรือ (๒) ผู้ขอใช้สิทธิจะต้องแสดงว่า ผู้ขอได้พยายามขออนุญาตใช้สิทธิตามสิทธิบัตรจากผู้ทรงสิทธิบัตรโดยได้เสนอเงื่อนไขและ ค่าตอบแทนที่เพียงพอตามพฤติการณ์แห่งกรณีแล้ว แต่ไม่สามารถตกลงกันได้ภายในระยะเวลาอันสมควร การขอใช้สิทธิตามสิทธิบัตรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง มาตรา ๔๖ ทวิ ยกเลิกทั้งมาตรา มาตรา …

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 5 การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร Read More »

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 4 การชำระค่าธรรมเนียมรายปี

ส่วนที่ ๔ การชำระค่าธรรมเนียมรายปี มาตรา ๔๓ ผู้ทรงสิทธิบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เริ่มแต่ปีที่ห้าของอายุสิทธิบัตร และต้องชำระภายในหกสิบวันนับแต่วันเริ่มต้นระยะเวลาของ ปีที่ห้านั้นและของทุก ๆ ปีต่อไป ถ้าสิทธิบัตรออกภายหลังวันเริ่มต้นระยะเวลาของปีที่ห้าแห่งอายุสิทธิบัตร การชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับปีที่ห้าถึงปีที่ออกสิทธิบัตร ให้ชำระภายในหกสิบวันนับแต่วันออกสิทธิบัตร ถ้าผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มร้อยละสามสิบของเงินค่าธรรมเนียม รายปี โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีพร้อมทั้งค่าธรรมเนียมเพิ่มภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันสิ้นกำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมรายปีตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เมื่อครบกำหนดเวลาตามวรรคสามแล้ว ถ้าผู้ทรงสิทธิบัตรยังไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีและค่าธรรมเนียมเพิ่ม ให้อธิบดีทำรายงานต่อคณะกรรมการเพื่อสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรนั้น ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรร้องขอต่อคณะกรรมการภายในกำหนดหกสิบวัน นับแต่วันทราบคำสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรว่ามีเหตุจำเป็นไม่อาจชำระค่าธรรมเนียมรายปี และค่าธรรมเนียมเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคสามได้ คณะกรรมการอาจขยายกำหนดเวลาหรือเพิกถอนคำสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรนั้นตามที่เห็นสมควรก็ได้ มาตรา ๔๔ ผู้ทรงสิทธิบัตรจะขอชำระค่าธรรมเนียมรายปีล่วงหน้าโดยชำระ ทั้งหมดในคราวเดียวแทนการชำระค่าธรรมเนียมเป็นรายปีก็ได้ ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิบัตรได้ชำระค่าธรรมเนียมรายปีล่วงหน้าไปแล้ว แต่ได้มีการแก้ไขอัตราค่าธรรมเนียมรายปี หรือผู้ทรงสิทธิบัตรขอคืนสิทธิบัตร หรือมีการเพิกถอนสิทธิบัตรนั้น ผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีเพิ่มเติม หรือไม่มีสิทธิได้รับคืนค่าธรรมเนียมรายปีที่ได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้น  

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 3 สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร

ส่วนที่ ๓ สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร มาตรา ๓๕ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร ในกรณีที่มีการดำเนินคดีทางศาลตามมาตรา ๑๖ มาตรา ๗๔ หรือมาตรา ๗๗ ฉ มิให้นับระยะเวลาในระหว่างการดำเนินคดีดังกล่าวเป็นอายุของสิทธิบัตรนั้น มาตรา ๓๕ ทวิ การกระทำที่ขัดต่อมาตรา ๓๖ ก่อนวันออกสิทธิบัตร มิให้ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร เว้นแต่จะเป็นการกระทำต่อการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรและได้มีการประกาศโฆษณาคำขอดังกล่าวตามมาตรา ๒๘ แล้ว โดยบุคคลผู้กระทำ รู้ว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว หรือได้รับคำบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรว่าการประดิษฐ์นั้นได้มีการยื่นขอรับสิทธิบัตรไว้แล้ว ในกรณีเช่นนี้ ผู้ขอรับสิทธิบัตรมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากบุคคลผู้ฝ่าฝืนสิทธินั้น การเรียกค่าเสียหายดังกล่าว ให้ยื่นฟ้องต่อศาลหลังจากที่ได้มีการออกสิทธิบัตรให้แก่ผู้ขอรับสิทธิบัตรแล้ว มาตรา ๓๖ ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ สิทธิในการผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร (๒) ในกรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี สิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ผลิตใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขายหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้ กรรมวิธีตามสิทธิบัตร ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่ (๑) การกระทำใด ๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา …

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 3 สิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร Read More »

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 2 การออกสิทธิ

ส่วนที่ ๒ การออกสิทธิบัตร มาตรา ๒๔ ในการออกสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบ ดังนี้ (๑) ตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรให้ถูกต้องตามมาตรา ๑๗ (๒) ตรวจสอบการประดิษฐ์ว่าเป็นการประดิษฐ์ตามมาตรา ๕ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดย กฎกระทรวง มาตรา ๒๕ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาออกสิทธิบัตร อธิบดีอาจขอให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์การของรัฐ หรือสำนักงานหรือองค์การสิทธิบัตรของรัฐต่างประเทศ หรือระหว่างประเทศ ตรวจสอบการประดิษฐ์ตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ และมาตรา ๙ หรือรายละเอียดการประดิษฐ์ตามมาตรา ๑๗ (๓) ตามคำขอรับสิทธิบัตรได้ และอธิบดีอาจให้ถือว่าการปฏิบัติงานในการตรวจสอบนั้นเป็นการปฏิบัติงานของพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้ มาตรา ๒๖ ในการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตร ถ้าพนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าคำขอ รับสิทธิบัตรใดมีการประดิษฐ์หลายอย่างที่ไม่มีความเกี่ยวพันกันจนอาจถือได้ว่าเป็นการประดิษฐ์อย่างเดียวกัน ให้แจ้งให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรแยกคำขอสำหรับการประดิษฐ์แต่ละอย่าง ถ้าผู้ขอรับสิทธิบัตรได้ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้แยกตามวรรคหนึ่ง ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ให้ถือว่าได้ยื่นคำขอนั้นในวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรก การแยกคำขอให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดย กฎกระทรวง ในกรณีที่ผู้ขอรับสิทธิบัตรไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ …

หมวด 2 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ – ส่วนที่ 2 การออกสิทธิ Read More »

Scroll to Top