ลิขสิทธิ

ลิขสิทธิ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ

ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ ถ้าผู้เขียนได้เขียนตำราวิชาการร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ แล้วได้นำบทใดบทหนึ่งจากตำราดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นบทที่มีชื่อผู้เขียนเพียงคนเดียว(หรือร่วมกับชาวต่างชาติ) มาเรียบเรียงเป็นภาษาไทย โดยที่เนื้อหานั้นแทบจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เพราะเนื้อหาเป็น fact จะถือว่าเราละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ตอบ ในกรณีที่มีการเขียนตำราร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศ และผลงานดังกล่าวเข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ประเภทงานวรรณกรรม ให้ถือว่าผลงานนั้นมีลิขสิทธิ์ร่วมกัน ถ้าผู้สร้างสรรค์คนใดคนหนึ่งต้องการนำบางส่วนจากตำราเล่มนั้นมาจัดทำเป็นภาษาไทย อาจแยกพิจารณาได้ 2 กรณี 1) ถ้าบทหรือบางส่วนที่นำมานั้นผู้เขียนเป็นผู้สร้างสรรค์เพียงผู้เดียว ก็ย่อมมีสิทธิที่จะนำงานส่วนนั้นมาทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ฯลฯ ตามมาตรา 15 พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฯ โดยไม่ต้องขออนุญาต จากผู้สร้างสรรค์ร่วมและไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 2) ถ้าบทหรือบางส่วนที่นำมานั้นผู้เขียนได้สร้างสรรค์ร่วมกับผู้อื่น การที่จะนำงานส่วนนั้นมาเรียบเรียงเป็นภาษาไทย ต้องได้รับอนุญาตจากผู้สร้างสรรค์ร่วมมิฉะนั้นจะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตามมาตรา 27 ผู้เขียนได้แต่งตำราเล่มหนึ่งขณะที่เป็นอาจารย์สอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ก. ต่อมาได้ย้ายไปสอนที่มหาวิทยาลัย ข หากผู้เขียนได้จัดพิมพ์ตำราเล่มดังกล่าวภายใต้ชื่อหน่วยงานที่สองจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ถ้าลิขสิทธิ์ครั้งแรกเป็นของมหาวิทยาลัย ก ตอบ – งานที่ผู้เขียนสร้างสรรค์ขึ้นในขณะที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยเอกชน ถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ผลงานนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 9 ดังนั้น ผู้เขียนสามารถนำผลงานดังกล่าว ไปจัดพิมพ์ซ้ำภายใต้ชื่อมหาวิทยาลัยอื่นได้ แต่ถ้ามีการทำสัญญาตกลงให้ผลงานดังกล่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ มหาวิทยาลัยเอกชนนั้น การที่ผู้เขียนย้ายไปสอนที่สถาบันอื่นแล้วนำผลงานนั้นไปจัดพิมพ์ภายใต้ชื่อสถาบันแห่งใหม่ โดยไม่ได้ขออนุญาตจากทางมหาวิทยาลัยฯ จะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ – กรณีผู้เขียนได้สร้างสรรค์ขณะสอนอยู่ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเป็นการกระทำตามคำสั่ง หรือในความควบคุมของมหาวิทยาลัย ผลงานนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของทางมหาวิทยาลัย ถ้าไม่ได้ทำการตกลง กันไว้เป็นอย่างอื่น …

ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ Read More »

Advice on Shrink Wrap License Contract

Advice on Shrink Wrap License Contract This Shrink Wrap License Contract is a model contract to be used as a format in making the contract for people who want to request permission to use copyrighted computer program or for the owner of copyright in the computer program. 2. This contract was made so that the …

Advice on Shrink Wrap License Contract Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง(Model – Contract)เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ ย่อหน้าแรก ถ้าผู้อนุญาต (เจ้าของลิขสิทธิ์) มีหลายคน ต้องระบุชื่อผู้อนุญาตทุกคนลงในสัญญาด้วย และผู้อนุญาตทุกคนจะต้องลงลายมือชื่อในสัญญาทุกคน นอกจากนั้นคู่สัญญาอาจมอบหมายอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทนได้ สัญญาข้อ 1 ให้ระบุลักษณะของงานวรรณกรรมที่อนุญาต เช่น คือ นวนิยายเรื่อง / ชื่อ คู่กรรม เป็นต้น รวมทั้งระบุว่างานวรรณกรรมที่อนุญาตเป็นงานที่เคยจัดพิมพ์ครั้งที่เท่าไร เช่น ถ้างานนั้นเคยจัดพิมพ์เป็นหนังสือมาแล้ว 5 ครั้ง แต่คู่สัญญามีเจตนาจะจัดพิมพ์หนังสือที่เคยจัดพิมพ์มาแล้วในครั้งที่ 3 ก็ระบุในสัญญาว่า พิมพ์ครั้งที่ 3 เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าคู่สัญญาไม่ได้หมายถึงหนังสือที่เคยจัดพิมพ์ครั้งอื่น ๆ สัญญาข้อ 2 ข้อ 2.1 ใน ช่องแรก ให้ระบุ เช่น คือ นวนิยาย …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์งานวรรณกรรม Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้องและทำนอง

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้องและทำนอง 1. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้องและทำนองนี้ มีลักษณะเป็นตัวอย่าง (Model – Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะอนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในคำร้องและทำนอง หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นต้น รวมที้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ สัญญาข้อ 2 ข้อ 2.1 ให้กาเครื่องหมายในช่อง ตามเจตนาของคู่สัญญาในการอนุญาต ให้ผลิตสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทุจริต เช่น มีการกาเครื่องหมายในช่อง เพิ่มเติมในภายหลัง ก็อาจตรวจสอบความถูกต้องได้ เนื่องจากการอนุญาตให้ผลิตสื่อตามข้อ 2.1 นี้ จะมีความสัมพันธ์กับการกำหนดค่าตอบแทนในสัญญาข้อ 4 ใน ช่องสุดท้ายที่กำหนดว่า “อื่น ๆ ระบุ” นั้น ให้ระบุสื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ ที้งนี้ สื่ออื่น ๆ ดังกล่าวนั้น กำหนดไว้เพื่อรองรับสื่ออื่น ๆ ที่อาจจะมีในอนาคตด้วย สัญญาข้อ 3 ข้อ 3.1 กำหนดเวลา 3 ปี …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้องและทำนอง Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ทำนอง

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ทำนอง สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ทำนองนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Mode Contr-act)เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในทำนอง หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ สัญญาข้อ 2 ข้อ 2.1 ให้กาเครื่องหมายในช่อง ตามเจตนาของคู่สัญญาในการอนุญาตให้ผลิตสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝายหนึ่งทุจริต เช่น มีการกาเครื่องหมายในช่อง เพิ่มเติมในภายหลัง ก็อาจตรวจสอบความถูกต้องได้ เนื่องจากการอนุญาตให้ผลิตสื่อตาม ข้อ 2.1 นี้จะมีความสัมพันธ์กับการกำหนดค่าตอบแทนในสัญญาข้อ 4 ใน ช่องสุดท้ายที่กำหนดว่า “อื่น ๆ ระบุ” นั้น ให้ระบุสื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ ทั้งนี้ สื่ออื่น ๆ ดังกล่าวนั้น กำหนดไว้เพื่อรองรับสื่ออื่น ๆ ที่อาจจะมีในอนาคตด้วย สัญญาข้อ 3 ข้อ 3.1 กำหนดเวลา 3 ปีนั้น เป็นการกำหนดระยะเวลาเบื้องต้นเท่านั้น คู่สัญญาอาจตกลงกันกำหนดระยะเวลาให้สิ้นหรือยาวกว่านั้นได้ตามเจตนาและความเหมาะสม …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ทำนอง Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้อง

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้อง สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้องนี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model – Contract)เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในคำร้อง หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าว ใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ สัญญาข้อ 2 ข้อ 2.1 ให้กาเครื่องหมายในช่อง ตามเจตนาของคู่สัญญาในการอนุญาตให้ผลิตสื่อต่าง ๆ ซึ่งถ้าหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทุจริต เช่น มีการกาเครื่องหมายในช่อง จ เพิ่มเติม ในภายหลังก็อาจตรวจสอบความถูกต้องได้ เนื่องจากการอนุญาตให้ผลิตสื่อตาม ข้อ 2.1 นี้จะมีความสัมพันธ์กับการกำหนดค่าตอบแทนในสัญญาข้อ 4 ใน ช่องสุดท้ายที่กำหนดว่า “อื่น ๆ ระบุ” นั้น ให้ระบุสื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ ทั้งนี้ สื่ออื่น ๆ ดังกล่าวนั้น กำหนดไว้เพื่อรองรับสื่ออื่น ๆ …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์คำร้อง Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์(โดยคู่สัญญาลงนามทั้งสองฝ่าย)

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (โดยคู่สัญญาลงนามทั้งสองฝ่าย) สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์(โดยคู่สัญญาลงนามทั้งสองฝ่าย) นี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและภาคเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ สัญญาข้อ 1 คู่สัญญาอาจกำหนดคำนิยามเพื่อให้คำที่ใช้ในสัญญามีความชัดเจนขึ้น หรือมีความหมายตรงกับความเข้าใจของคู่สัญญา หรือเป็นคำที่คู่สัญญากำหนดไว้ เนื่องจากคู่สัญญาต้องการให้มีความหมายพิเศษ ข้อ 1.2 คู่สัญญาอาจระบุหมายเลขเครื่องใน ช่องใดช่องหนึ่ง เพื่อระบุว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่อนุญาตจะใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดบ้าง แต่มีข้อสังเกตว่าการระบุเลขเครื่องนั้น อาจทำให้สัญญาไม่มีความยืดหยุ่น เช่น ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ระบุหมายเลขเครื่องไว้นั้นเกิดเสียหาย หรือขัดข้อง หากจำเป็นจะต้องนำคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาใช้งานแทนก็อาจเกิดปัญหาได้ เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจมีเลขเครื่องไม่ตรงกัน นอกจากนั้น คู่สัญญาอาจเลือกกาเครื่องหมายใน ช่องใดช่องหนึ่งหรือหลายช่องได้ ตามเจตนาของคู่สัญญา สัญญาข้อ 3 ข้อ 3.1 คู่สัญญาอาจตกลงเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าตอบแทนตามความเหมาะสม โดยจำนวนของค่าตอบแทนจะขึ้นอยู่กับมูลค่าของโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น ๆ สัญญาข้อ 10 ข้อ 10.2 เป็นหลักทั่วไปที่คู่สัญญาควรจะกำหนดเรื่องการฝึกอบรม เกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้การใช้เครื่องเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าโดยลักษณะของการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้น …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์(โดยคู่สัญญาลงนามทั้งสองฝ่าย) Read More »

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Shrink Wrap License)

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Shrink Wrap License) สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Shrink Wrap License)นี้ มีลักษณะเป็นสัญญาตัวอย่าง (Model Contract) เพื่อให้ผู้ที่ประสงค์จะขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวใช้เป็นแบบในการทำสัญญา 2. สัญญาอนุญาตนี้ได้จัดทำขึ้น เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถปฎิบัติให้สอดคล้อง กับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น รวมทั้งแนวปฏิบัติในทางธุรกิจการค้าในปัจจุบัน 3. สัญญาอนุญาตนี้ เป็นผลงานของคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ จึงเป็นสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้รับอนุญาต และสังคมโดยส่วนรวม 4. เพื่อประโยชน์ในการใช้สัญญาตัวอย่างดังกล่าว ควรอ่านคำแนะนำข้างล่างนี้ คำเตือน ผู้อนุญาตควรพิมพ์คำเตือนไว้บนกล่องหรือซองบรรจุผลิตภัณฑ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จำหน่าย เพื่อให้ผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ซื้อควรอ่านสัญญาให้เข้าใจก่อนเปิดซองบรรจุแผ่นดิสก์ เพราะถ้าเปิดซองบรรจุแผ่นดิสก์แล้ว จะถือว่าเข้าผูกพันตามสัญญาทันที สัญญาข้อ 2 ข้อ 2.3 ในกรณีที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นมีราคาแพง คู่สัญญาอาจกำหนดเงื่อนไขการโอนไว้เป็นพิเศษให้เหมาะสมกับโปรแกรมนั้นได้ —————————————- สัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Shrink Wrap License) บริษัท……………………………จำกัด ซึ่งเป็นผู้อนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามสัญญาฉบับนี้ ขอเดือนให้ท่านอ่านข้อความในสัญญาฉบับนี้โดยตลอด ก่อนที่ท่านจะเข้าผูกพันธ์ตามสัญญาโดยการเปิดซองบรรจุแผ่นดิสก์ เมื่อท่านอ่านข้อความในสัญญาฉบับนี้แล้ว หากไม่ตกลงตามสัญญา …

คำแนะนำเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Shrink Wrap License) Read More »

แนวปฏิบัติงานด้านลิขสิทธิ์

แนวปฏิบัติงานด้านลิขสิทธิ์ คู่มือปฏิบัติงานมีเพื่อ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่รับผิดชอบ และงานที่ได้รับมอบหมายแก่เจ้าหน้าที่ตามระบบโครงสร้างใหม่ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา แนะแนวหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาในเรื่องการให้บริการที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุนการใช้สิทธิทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ ฝึกเจ้าหน้าที่ให้สามารถสอนเจ้าหน้าที่ภายในสำนักลิขสิทธิ์ในขณะปฏิบัติงานได้ จัดเตรียมกิจกรรมฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา และหน่วยงานอื่นของรัฐ คู่มือการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักลิขสิทธิ์ 1. สำนักลิขสิทธิ์มีหน้าที่ให้บริการดังต่อไปนี้ ให้คำปรึกษา แนะนำ เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ ตอบข้อหารือเกี่ยวกับปัญหาลิขสิทธิ์ ให้บริการในการแจ้งและตรวจค้นข้อมูลลิขสิทธิ์ ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทเบื้องต้นเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ พิจารณายกร่างสัญญาตัวอย่างเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ ส่งเสริมพัฒนาและสนันสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในทุกด้าน ประสานการป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร และทรัพย์สินทางปัญญาอื่น 2. ผู้ใช้บริการ ความสนใจและความต้องการในการใช้บริการ ผู้สร้างสรรค์ การให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์ เจ้าของลิขสิทธิ์ การให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของลิขสิทธิ์ การป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ นักแสดง การให้ความคุ้มครองสิทธินักแสดง ผู้ขออนุญาตใช้งานลิขสิทธิ์/ ผู้ใช้งานลิขสิทธิ์ การปฏิบัติที่ถูกต้องในการขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ ขอทราบหน่วยงานที่มีอำนาจในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนการใช้งานลิขสิทธิ์ นักเรียน, นักศึกษามหาวิทยาลัย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง การให้ความคุ้มครองสิทธิ ประชาชนทั่วไป ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธิข้างเคียง การให้ความคุ้มครองสิทธิ ทนายความ/นักกฎหมาย ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับลิขสิทธิ์และสิทธินักแสดง ปัญหาความคาบเกี่ยวของกฎหมายลิขสิทธิ์กับทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น ศาล คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ ตำรวจ การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ศุลกากร การบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ หน่วยงานราชการและเอกชนอื่น …

แนวปฏิบัติงานด้านลิขสิทธิ์ Read More »

สถิติการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2545

สถิติการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ประเภท/งาน/จำนวนราย การรับคำขอ/จำนวนงาน ต่างประเทศ รวมราย หมายเหตุ ในประเทศ กทม. ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคใต้ วรรณกรรม 27 2 14 1 7 15/22 ภาคกลาง ได้แก่ จ.ปทุมธานี, บุรีรัมย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.มหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จ.เชียงใหม่ ภาคใต้ ได้แก่ จ.ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี นาฎกรรม ศิลปกรรม 99 83 10 192/17 ภาคกลาง ได้แก่ จ.ปทุมธานี, สมุทรปราการ ภาคเหนือ ได้แก่ จ.น่าน, เชียงใหม่ ดนตรีกรรม 45 79 120 57 12 313/24 ภาคกลาง ได้แก่ …

สถิติการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2545 Read More »

Scroll to Top